ข้อมูลการออกอากาศ ของ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์_ซีซันที่_4

ตอนที่ 1-3 : รอบคัดเลือก

ออกอากาศ 21 กุมภาพันธ์ 2564, 28 กุมภาพันธ์ 2564, และ 7 มีนาคม 2564

ผู้เช้าแข่งขันจะถูกแบ่งออกเป็นกลุ่มตามความถนัดของแต่ละคน โดยโจทย์รอบนี้จะเปลี่ยนไปตามความถนัดของผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน

โจทย์วัตถุดิบหลักเวลาที่ได้รายชื่อผู้เข้าแข่งขัน
ตอนที่ 1
เอเชียนทวิสต์กุ้งมังกร60 นาทีวิวพลซินโนนีม
ขนมหวานมะเฟือง60 นาทีเซฟลี่แก้มยุ้ย
ยกระดับอาหารไทยงูเห่า60 นาทีอิ๊บธันวาหมอบีม
ตอนที่ 2
อาหารฝรั่งเศสนกพิราบ60 นาทีเพลงแนทเหลียน
ไทยทวิสต์ปลาสวาย45 นาทีบอลภูหมอจ๋ากอล์ฟบิลลี่
อาหารตะวันตกหางวัว45 นาทีจิมมี่สัญเตอร์
ตอนที่ 3
ยกระดับอาหารดั้งเดิมพาสตาเส้นสด45 นาทีนันเนยฟ้าโบว์
     ผู้ที่ผ่านเข้ารอบในรอบคัดเลือก

รอบแก้ตัว: เนื่องจากมีผู้เข้าแข่งขันเพียง 13 คนที่ผ่านเข้ารอบจากที่ต้องการจำนวน 16 คน จึงมีการแข่งขันนัดพิเศษเพื่อให้ผู้เข้าแข่งขันบางคนที่ถูกคัดออกได้กลับเข้าสู่รายการอีกครั้ง โดยกรรมการได้เลือกผู้เข้าแข่ง 6 คน ได้แก่ กอล์ฟ ลี่ เพลง หมอบีม อิ๊บ และโบว์ เข้ามาแข่งขันในรอบพิเศษนี้ โดยโจทย์รอบนี้คือ การสร้างสรรค์อาหารจากวัตถุดิบที่อยู่ในตู้เย็นของทุกบ้าน ซึ่งผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบในตู้เย็นเท่านั้น มีเวลา 60 นาทีในการแข่งขัน และผู้ที่ผ่านเข้ารอบคือ ลี่ หมอบีม และอิ๊บ

  • ผู้ที่ผ่านเข้ารอบ: ลี่ หมอบีม และอิ๊บ

ตอนที่ 4 : Duo Team Battle ครั้งแรก

ออกอากาศ 14 มีนาคม 2564
  • บททดสอบภารกิจแบบคู่: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นแปดคู่
สีของทีมสมาชิก
สีครีมจิมมี่และเหลียน
สีแดงเซฟและหมอบีม
สีเหลืองนันและอิ๊บ
สีส้มฟ้าและบิลลี่
สีเขียววิวและลี่
สีฟ้าแก้มยุ้ยและภู
สีน้ำเงินสัญและธันวา
สีม่วงแนทและเตอร์
  • สถานที่ : ชายป่าดงพญาเย็น ติดกับเทือกเขาพนมดงรัก ต. หมูสี อ. ปากช่อง จ.นครราชสีมา
  • วัตถุดิบ : วัวทั้งตัว ต้องแล่เอาเอง
  • โจทย์ : รังสรรอาหาร fine dining หนึ่งเมนู ที่มีอย่างน้อย 5 องค์ประกอบ ภายในเวลา 60 นาที ต้องจุดไฟด้วยเอง หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคู่ มีอยู่ 3 คู่ที่ผลงานมีความผิดพลาดมากที่สุด ไดแก่ จิมมี่และเหลียน, ฟ้าและบิลลี่, และ สัญและธันวา โดยทั้ง 3 คู่จะต้องไปแข่งขันกันต่อในบททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ
  • บททดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ผู้เข้าแข่งขัน 3 คู่ที่ทำผลงานได้ผิดพลาดมากที่สุดจะต้องแข่งขันในรอบความละเอียดและความแม่นยำ ซึ่งโจทย์ในครั้งนี้คือ ข้าวหมูกรอบ ภายในเวลา 45 นาที โดยเกณฑ์การตัดสินคือ ข้าวไม่แฉะ, น้ำราดหมูกรอบข้นพอดี, ไข่ต้มยางมะตูมไม่สุกเกินไปและไม่ไหลเยิ้ม และ หมูกรอบ หนังกรอบ เนื้อไม่กระด้าง และชั้นของหมูกรอบไม่แยกจากกัน ในรอบนี้มี 1 จานที่ผิดพลาดมากที่สุด เนื่องจากไม่สามารถจัดจานได้ทันเวลา
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เหลียน

ตอนที่ 5 : Signature dish ของเซเลบริตีเชฟ

ออกอากาศ 21 มีนาคม 2564
  • การแข่งกล่องปริศนา :ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาครั้งแรกของพวกเขาทั้ง 15 คน ด้วยวัตถุดิบจากนานาประเทศ ประกอบด้วย หัวผักกาด Rutabaga จากประเทศสวีเดน , ตับปลาอากิโมะ จากประเทศญี่ปุ่น , ซองยาโคซู จากประเทศเกาหลีใต้ , ไข่ข้าว จากประเทศฟิลิปปินส์ , หล่อฮังก๊วย จากประเทศจีน , ถั่ว จากประเทศบราซิล และเนื้อกระจอกเทศ มีเวลา 60 นาทีเท่ากันในการสร้างสรรค์เมนูจากวัตถุดิบที่พวกเขาไม่คุ้นเคยให้ออกมาเป็นจานที่ดีที่สุด กับผลการตัดสิน สามจานที่ดีที่สุดตกเป็นของแก้มยุ้ย, เซฟ และเตอร์ โดยเตอร์เป็นผู้ชนะในรอบนี้
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: เตอร์
  • รอบคัดออก :จากการที่เตอร์เป็นผู้ชนะในรอบที่แล้ว เขาจึงได้ผ่านเข้ารอบไปโดยไม่ต้องทำการแข่งขันในรอบนี้ และมีสิทธิ์เลือกโจทย์ให้กับเพื่อนคนไหนก็ได้ โดยโจทย์การแข่งขันในครั้งนี้มาจาก 3 เซเลบริตี้เชฟแถวหน้าของประเทศไทย ก็คือ เชฟพฤกษ์ สัมพันธวรบุตร เชฟอ๊อฟ ณัฐวุฒิ ธรรมพันธ์ และเชฟเอียน พงษ์ธวัช เฉลิมกิตติชัย กับโจทย์ Signature Dish "เมนูมังสวิรัติ โดยเมนู "ราวีโยลีถั่วลูกไก่ไส้ฟองเต้าหู้ผัดซอสหมูแดง" ซึ่งเป็นเมนูผสมระหว่างอาหารจีนและอิตาเลียน ข้อควรระวังคือสัดส่วนของถั่วลูกไก่ที่ผสมในแป้งราวีโยลีต้องพอเหมาะพอดี โดย อิ๊บ หมอบีม วิว นัน และภู คือกลุ่มที่เตอร์ เลือก ให้ทำเมนูจากเชฟพฤกษ์ ส่วนบิลลี่ แนท จิมมี่ ลี่ และแก้มยุ้ย คือกลุ่มที่เตอร์ เลือกให้ทำเมนูจากเชฟอ๊อฟ ในโจทย์ "ซาโมซาหรือกะหรี่ปั๊บอินเดียไส้แกงคั่วถั่วลูกไก่" ซึ่งเป็นเมนูผสมระหว่างอาหารไทยและอินเดีย จุดที่ยากที่สุดคือแป้งซาโมซาต้องมีความหนาไม่เกิน 3 มิลลิเมตร และพับให้ได้รูปกรวยสามเหลี่ยมสวยงาม ส่วนสัญ ธันวา ฟ้าและเซฟ คือกลุ่มที่เตอร์เลือกให้ผ่านเข้ารอบต่อไปทันที โดยไม่ต้องแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 10 คน มีเวลาในการทำ Signature Dish ที่เตอร์เป็นผู้เลือกให้ออกมาสมบูรณ์แบบเหมือนต้นฉบับบมากที่สุดในทุกองค์ประกอบ 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ แนท และบิลลี่ เป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดี คือ นัน, วิว และหมอบีม คนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ วิว
  • ผู้ชนะ: บิลลี่
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: นัน, วิว และหมอบีม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: วิว

ตอนที่ 6 : MasterChef EDM Party แบบ Drive-in

ออกอากาศ 28 มีนาคม 2564
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ แนท และ บิลลี่ ได้สิทธิ์ในการเป็นหัวหน้าทีมและเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีมสมาชิก
แนทสัญ, เตอร์, ลี่, นัน, อิ๊บ และธันวา
บิลลี่เซฟ, แก้มยุ้ย, ภู, จิมมี่, หมอบีม และฟ้า

ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีม ทั้งสองทีมต้องทำ พาย หรือ พัฟ โดยเสิร์ฟแบบ “Drive-Thru” ให้กับผู้มาร่วมงาน "MasterChef EDM Party" แบบ Drive-in ซึ่งจะไม่มีใครลงจากรถ อันเนื่องจาก สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 โดยใน 1 กล่อง (2 ชิ้น) ต้องมีของคาว 1 ชิ้น ของหวาน 1 ชิ้น รวมทั้งหมด 402 ชิ้น (201 กล่อง) ทั้งหมดจำนวน 201 คน ในรถยนต์ 100 คัน

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำครั้งนี้เป็น สเต็กโทมาฮอว์ค (Tomahawk Steak) บิสกิต และซอสเกรวี่ โดยสเต็กโทมาฮอว์คต้องมีความสุกระดับ มีเดียม-แรร์ (Medium-Rare) ข้างนอกเกรียม ข้างในนุ่ม มีเวลาในการทำอาหาร 45 นาที และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ อิ๊บ, ธันวา และแนท โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ แนท
  • ผู้ชนะ: เตอร์
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: อิ๊บ, ธันวา และแนท
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: แนท

ตอนที่ 7 : Skill Test แล่ปลาแซลมอนทั้งตัว

ออกอากาศ 4 เมษายน 2564
  • การแข่งกล่องปริศนา :ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาครั้งที่ 2 ของพวกเขาทั้ง 13 คน ด้วยวัตถุดิบคุณภาพดีในโจทย์ของหวานสุดสร้างสรรค์ ประกอบด้วย รังนก น้ำผึ้ง มันม่วง แปะก๊วย พุทราจีนแห้ง แมคคาเดเมีย ถั่วแดงกวน ชีส สาคู มะพร้าวอ่อน อบเชย ขิงและพริกขี้หนู มีเวลา 60 นาทีเท่ากัน กับผลการตัดสิน สามจานที่ดีที่สุดตกเป็นของเซฟ, สัญ และจิมมี่ โดยเซฟเป็นผู้ชนะในรอบนี้
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: เซฟ
  • บททดสอบทักษะการทำอาหาร : การแข่งขันบททดสอบทักษะการทำอาหารในครั้งนี้ คือ "แล่ปลาแซลมอนทั้งตัว" ให้ออกมาสมบูรณ์ทั้ง 5 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 หัว ก้างและหางต้องติดกัน , ส่วนที่ 2 แล่เป็นชิ้นสเต๊กขนาดต่างๆ (Fillet Steak) , ส่วนที่ 3 แล่เป็นซาชิมิ (Sashimi) , ส่วนที่ 4 แล่ส่วนท้อง และส่วนสุดท้าย แล่ส่วนของครีบปลา มีเวลา 30 นาทีกับการแล่ปลาแซลมอนทั้งตัวให้ออกมาสมบูรณ์แบบตามโจทย์กำหนด และผู้เข้าแข่งขันจะได้ปลาคนละ 1 ตัวเท่านั้น หลังจากคณะกรรมการได้ตรวจสอบปลาแซลมอนของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ อิ๊บ และแก้มยุ้ยเป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ เตอร์ และ สัญ โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ สัญ
  • ผู้ชนะ: อิ๊บ
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับผลงานแย่ที่สุด: เตอร์ และ สัญ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: สัญ

ตอนที่ 8 : การยกระดับต้มยำทะเลให้เป็นอาหารระดับ Fine Dining

ออกอากาศ 11 เมษายน 2564
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ อิ๊บ และ แก้มยุ้ย ได้สิทธิ์ในการเป็นหัวหน้าทีมและเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีมสมาชิก
อิ๊บภู, บิลลี่, หมอบีม, เตอร์ และฟ้า
แก้มยุ้ยเซฟ, ธันวา, จิมมี่, ลี่ และนัน

ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีม ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยผู้เข้าแข่งขันต้องทำอาหารให้นักกีฬาไคท์เซิร์ฟชาวไทยและต่างประเทศ ทั้งหมดจำนวน 101 คน เนื่องจากนักกีฬาต้องใช้พละกำลังในการฝึกซ้อม อาหารที่จะต้องเสิร์ฟต้องเป็นอาหารที่พลังงานเพียงพอ และโจทย์ในการทำอาหารวันนี้คือ ”การยกระดับต้มยำทะเล” จะต้องทำยกระดับต้มยำทะเลให้กลายเป็นจานหรูระดับ Fine Dining ประกอบด้วยส่วนที่เป็นโปรตีน คาร์โบไฮเดรต และผัก อยู่ครบถ้วนใน 1 จาน และเมื่อถึงเวลาเสิร์ฟต้องเสิร์ฟทันที เพื่อไม้ให้อุณหภูมิของอาหารเย็นชึ้ด มีเวลาในการทำอาหารจำนวน 120 นาที และมีเวลาในการเสิร์ฟอาหารให้เสร็จภายในเวลา 60 นาที โดยเมนูของทีมสีน้ำเงินคือ “ปาเอยาทะเลเดือด โปรตีนของจานนี้เป็นรวมอาหารทะเล เสิร์ฟพร้อมกับข้าวปาเอย่าที่ผัดกับข่า ตะไคร้ และหญ้าฝรั่นแซฟฟรอน เครื่องเคียงเป็นเห็ดดอง” เมนูของทีมสีแดงคือ “ต้มยำสามสหายแห่งมหาสมุทร ประกอบด้วยมันบด พาเมซานชีส โปรตีนหลักเป็นซีฟู้ด เสิร์ฟพร้อมกับซอสต้มยำทะเล มะเขือเทศกงฟีและเห็ดผัดเนยมะนาว” โดยผลจากคณะกรรมการได้ลงคะแนน เป็นฝ่ายทีมสีแดงที่ชนะไปด้วย 75 คะแนน ส่วนสีน้ำเงินได้ไป 26 คะแนน

  • ทีมที่ชนะ: สีแดง
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีน้ำเงินที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำครั้งนี้คือ ช็อกโกแลตลาวา เสิร์ฟพร้อมไอศกรีมชาเขียวและอัลมอนด์ครัมเบิล โดยช็อกโกแลตลาวา ต้องมีเส้นผ่านศูนย์กลางขนาด 3.5 นิ้ว เนื้อเค้กด้านนอกต้องนุ่ม ละมุน เมื่อผ่าออกไส้ช็อกโกแลตต้องนุ่มเหนียว และไหลออกมาเป็นลาวา ไอศกรีมชาเขียว เนื้อสัมผัสและรสชาติต้องเหมือนตามต้นฉบับ และอัลมอนด์ครัมเบิลต้องกรอบ สีเหลืองสวย ไม่จับตัวกันเป็นก้อน มีเวลาในการทำอาหาร 40 นาที และสองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ จิมมี่และนัน โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ นัน
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารแย่ที่สุด: จิมมี่ และ นัน
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: นัน

ตอนที่ 9 : การสร้างสรรวัตถุดิบที่อยู่ในกล่องให้เข้ากัน

ออกอากาศ 18 เมษายน 2564
  • การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ แมลงดานา ร่วมกับวัตถุดิบเสริมในห้องอุปกรณ์อย่างจำกัด โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 11 คน จะต้องรังสรรค์เมนูให้กลายเป็นจานที่ไม่ธรรมดาออกมา มีเวลาในการทำอาหาร 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ หมอบีม , ธันวา และ บิลลี่ โดยบิลลี่ก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: บิลลี่
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ บิลลี่ ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ การทำอาหารแต่ละกล่องที่มีจำนวนวัตถุดิบไม่เท่ากัน ความยากคือต้องชูรสชาตืวัตถุดิบทุกชนิดที่อยู่ในกล่องออกมาให้ได้ในเมนูเดียว วัตถุดิบกล่องแรกคือ ซี่โครงแกะ กล่องที่ 2 คือ ซี่โครงแกะ กล้วยหอมและปลาร้า และกล่องสุดท้ายได้แก่ ซี่โครงแกะ กล้วยหอม ปลาร้า มะยงชิด ปลาทู ไข่ปลาริวกิว และช็อกโกแลต โดยบิลลี่มีสิทธิพิเศษในการเลือกวัตถุดิบในการทำอาหารแต่ละกล่องที่มีจำนวนวัตถุดิบไม่เท่ากันให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน โดยบิลลี่ได้เลือกกล่องที่ 1 ให้แก้มยุ้ย, ลี่ และฟ้า เลือกกล่องที่ 2 ให้ภู, เตอร์ และหมอบีม และเลือกกล่องสุดท้ายให้ธันวา, อิ๊บ, เซฟ และจิมมี่ โดยมีเวลาในการทำจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ จิมมี่ และลี่เป็นรองชนะเลิศ โดยทั้งสองคนจะต้องเป็นหัวหน้าทีมในการแข่งขันรอบต่อไป และสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ ธันวา อิ๊บ และ เซฟ โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ อิ๊บ
  • ผู้ชนะ: จิมมี่
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: ธันวา อิ๊บ และ เซฟ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: อิ๊บ

ตอนที่ 10 : Team Challenge โต๊ะจีนงานแต่ง เสิร์ฟ 4 เมนู ให้กับแขก 180 คน

ออกอากาศ 25 เมษายน 2564
  • บททดสอบภารกิจแบบทีม: โดยสัปดาห์นี้ได้แบ่งทีมเป็นสองทีม โดยผู้ที่ชนะจากรอบที่แล้ว คือ ลี่ และ จิมมี่ ได้สิทธิ์ในการเป็นหัวหน้าทีมและเลือกลูกทีมทั้งหมด
หัวหน้าทีมสมาชิก
จิมมี่เซฟ, ฟ้า, เตอร์ และ ธันวา
ลี่หมอบีม, แก้มยุ้ย, บิลลี่ และภู

ในการแข่งขันบททดสอบภารกิจแบบทีมครั้งนี้ ได้นำผู้เข้าแข่งขันมาที่โรงแรมบันยันทรี ย่านสาทร กรุงเทพมหานคร โดยบททดสอบในครั้งนี้คือ ทำอาหาร 4 อย่างในรูปแบบ "โต๊ะจีน" ได้แก่ อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizer) หรือสลัด ด้วยวัตถุดิบ "หอยเชลล์โฮตาเตะ" , เมนูซุป ด้วยวัตถุดิบ "ล็อบเตอร์ (กุ้งมังกรเลน)" , อาหารจานหลัก (Main Dish) ด้วยวัตถุดิบ "ปลาเต๋าเต้ย" และเมนูของหวาน ด้วยวัตถุดิบ "นมข้นหวานและผลไม้มงคลของจีน (ประกอบด้วย แก้วมังกร, สาลี่, ลูกพลับ, ส้ม และ ทับทิม)" เพื่อเลี้ยงแขกในงานพิธีมงคลสมรส บอล มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3 จำนวน 180 คน (แบ่งกันนั่งโต๊ะละ 8 คน จำนวน 22 ชุดครึ่ง: โดยโต๊ะที่ 23 จะนั่งได้ครึ่งนึงคือ 4 คน) ทั้ง 2 ทีม มีเวลาในการทำอาหารทั้งหมด 3 ชั่วโมง และมีเวลาในการเสิร์ฟแต่ละเมนูเพียง 15 นาทีเท่านั้นและต้องเสิร์ฟให้เสร็จก่อนที่คู่บ่าวสาวจะเริ่มพิธีตัดเค้ก หากทีมใดเสิร์ฟล่าช้าหลังจากช่วงพิธีบ่าวสาวเริ่มตัดเค้ก จะถูกหักคะแนนตามจำนวนจานที่เสิร์ฟ จากผลการตัดสินทำให้ทีมสีน้ำเงินเป็นทีมที่ชนะ ด้วยคะแนน 94 ต่อ 86 คะแนน

  • ทีมที่ชนะ: สีน้ำเงิน
  • รอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ: ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำทีมสีแดงที่เป็นทีมแพ้ในรอบภารกิจแบบทีม ต้องมาเผชิญกับการแข่งขันทดสอบความละเอียดและความแม่นยำ โดยโจทย์ในรอบทดสอบความละเอียดและความแม่นยำคือ เอกส์ เบนิดิกต์ ซึ่งเป็นอาหารเช้าที่มีต้นกำเนิดมาจากมหานครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่มีองค์ประกอบดังนี้ ชั้นล่างสุดที่เป็นขนมปังมัฟฟิน วางด้วยเบคอน ตามด้วยไข่ดาวน้ำ หรือโพชเอ้ก ปิดท้ายด้วยการราดฮอลแลนเดซซอสที่ด้านบนสุด สิ่งสำคัญในการทำอาหารจานนี้คือ ในการทำเมนู "เอกส์ เบนิดิกต์" จำนวน 2 ที่กับไข่ไก่ ที่มีให้เพียงจำนวน 5 ฟองเท่านั้น โดยที่โพชเอ้ก หรือไข่ดาวน้ำ ภายนอกต้องมีผิวเรียบลื่น สัมผัสนุ่มลิ้น เมื่อตัดออกมาไข่แดงด้านในต้องไหลเยิ้มเป็นลาวา และฮอลแลนเดซซอส ต้องข้นไม่เหลวเกินไป ไม่แตกตัว ไม่จับตัวเป็นลิ่ม และรสชาติต้องเหมือนกับต้นฉบับ มีเวลา 25 นาที ในการทำอาหาร หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของทุกคน สามอันดับอาหารที่แย่ที่สุดคือ ฟ้า, ธันวา และ เซฟ และคนที่ถูกคัดออกจากการแข่งขัน คือ เซฟ
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารแย่ที่สุด: ฟ้า, ธันวา และ เซฟ
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: เซฟ

ตอนที่ 11 : วัตถุดิบที่ปรารถนา

ออกอากาศ 16 พฤษภาคม 2564
  • การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาในกล่องนั้น มีวัตถุดิบหลักคือ วัตถุดิบพรีเมี่ยม ได้แก่ โอโทโร่ เนื้อวากิว ฟัวกรา ขาปูทาราบะ เห็ดทรัฟเฟิล ต้นหอมญี่ปุ่น หน่อไม้ฝรั่ง สตรอว์เบอรี่ ข้าวโพด คาเวียร์ และทองคำเปลว โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 9 คน จะต้องรังสรรค์เมนูให้กลายเป็นเมนูหรูระดับ MasterChef มีเวลาในการทำอาหาร 30 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ ลี่ , จิมมี่ และ แก้มยุ้ย โดยลี่ก็คือผู้ชนะในรอบกล่องปริศนา
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: ลี่
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : จากการที่ลี่ชนะในรอบกล่องปริศนา จึงได้รับสิทธิ์ผ่านเข้ารอบต่อไปโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์ ในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก เชฟสมศักดิ์ รารองคำ นายกสมาคมเชฟแห่งป้ระเทศไทยและกรรมการผู้ตัดสินการแข่งขันทำอาหารเวทีโลก (World Association of Chefs Societies) มาร่วมเป็นกรรมการตัดสินอาหารของผู้เข้าแข่งขันทั้ง 8 คน โจทย์ในการแข่งขันในรอบนี้คือ โปรตีนราคาถูก ความยากคือต้องสร้างสรรค์ให้กลายเป็นเมนูหรูระดับ MasterChef วัตถุดิบกล่องแรกคือ ตับหมู ราคากิโลกรัมประมาณ 90 บาท กล่องที่ 2 คือ กระเพาะหมู ราคากิโลกรัมประมาณ 70 บาท และกล่องสุดท้ายได้แก่ ปอดหมู ราคากิโลกรัมประมาณ 25 บาท โดยลี่มีสิทธิพิเศษในการเลือกวัตถุดิบให้ผู้เข้าแข่งขันแต่ละคน โดยลี่ได้เลือกกล่องที่ 1 ให้แก้มยุ้ยและฟ้า เลือกกล่องที่ 2 ให้ภู, บิลลี่ และหมอบีม และเลือกกล่องสุดท้ายให้ธันวา, เตอร์ และจิมมี่ โดยมีเวลาในการทำจำนวน 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมของผู้เข้าแข่งขันทุกคน ผู้ที่ชนะในรอบบททดสอบความคิดสร้างสรรค์คือ ภูและสามคนที่ตกเป็นสามจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ จิมมี่, ฟ้า และธันวา โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ ฟ้า และธันวา
  • ผู้ชนะ: ภู
  • ผู้ที่ตกเป็นสามอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: จิมมี่, ฟ้า , ธันวา
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ฟ้า , ธันวา

ตอนที่ 12: การยกระดับหอยทอดให้เป็นเมนูระดับมาสเตอร์เชฟ

ออกอากาศ 23 พฤษภาคม 2564

ในครั้งนี้เนื่องจากเชฟเอียนติดภารกิจสำคัญทำให้ไม่สามารถมาร่วมตัดสินได้ จึงได้มีการเชิญเชฟอ๊อฟ ณัฐวุฒิ ธรรมพันธุ์ เชฟกระทะเหล็กประเทศไทย มาเป็นกรรมการตัดสินแทนเชฟเอียน

  • การแข่งกล่องปริศนา : ในการแข่งขันรอบกล่องปริศนาครั้งนี้มีถึง 2 กล่องด้วยกัน แบ่งออกเป็นกล่องอาหารประเภทคาวและหวาน ซึ่งในวัตถุดิบในกล่องอาหารคาวนั้นประกอบไปด้วยพอร์คชอป, ชีส, เห็ดพอตเทอเบโล่, มะเขือเทศเชอรี่, ข้าวรีซอตโต้, โรสแมรี่, หอมใหญ่, เบบี้แครอท, พาร์สลีย์, ถั่วหวาน, ไวน์แดง และนมถั่วเหลือง และวัตถุดิบในกล่องของหวานประกอบไปด้วยช็อกโกแลต, เบอร์รี่รวม, มะม่วงสุก, ลูกพีช, แมคคาเดเมีย, น้ำผึ้ง, ครีมชีส, วอลนัท, ฝักวานิลลา, แป้งพัฟเพสทรี และนมถั่วเหลือง และคนที่มีสิทธิ์เลือกประเภทอาหารให้กับผู้เข้าแข่งขันทุกคนก็คือผู้ชนะจากสัปดาห์ที่แล้ว ซึ่งนั่นก็คือภู โดยภูได้เลือกกล่องของหวานให้กับลี่และแก้มยุ้ย แปลว่า จิมมี่ เตอร์ บิลลี่ หมอบีม และภู ได้ทำวัตถุดิบจากกล่องอาคารคาว โดยผู้เข้าแข่งขันทั้ง 7 คน มีเวลา 60 นาที ในการรังสรรค์เมนูจากวัตถุดิบที่ได้รับ แต่เมื่อเวลาผ่านไปจนเหลือ 30 นาทีสุดท้าย ทุกคนยกเว้นภูจะต้องสลับกล่องและเริ่มต้นทำใหม่ทั้งหมด หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคน โดยอาหาร 3 จานที่ดีทีสุดในรอบนี้คือ ลี่, ภู และหมอบีม
  • ผู้ชนะกล่องปริศนา: ลี่
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : ในการแข่งขันครั้งนี้ได้รับเกียรติจากร้าน "แดงราชาหอยทอด" มาเป็นผู้สาธิตในการทำหอยทอด และโจทย์การแข่งขันในรอบนี้ผู้เข้าแข่งขันจะต้องยกระดับหอยทอดให้เป็นเมนูระดับมาสเตอร์เชฟ โดยใช้วัตถุดิบ "หอยนางรมขนาดจัมโบ้" ภายใน 60 นาที ส่วน ลี่ ผู้ชนะจากรอบที่แล้ว จะได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ เมื่อกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว มีเพียง 1 จานที่ไม่สามารถทำได้ตามโจทย์ โดยในรอบนี้ ผู้ที่ถูกคัดออกคือ ภู
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: ภู

ตอนที่ 13: ศึกดวลของสองเชฟ

ออกอากาศ 13 มิถุนายน 2564
  • การแข่งกล่องปริศนา : กล่องปริศนาในรอบนี้ ภายในมีใบหน้าของเชฟป้อมและเชฟเอียน คนละ 3 กล่อง ผู้เข้าแข่งขันที่ได้ใบหน้าของใครจะต้องทำอาหารตามที่เชฟทั้งสองสาธิตให้ดูในเวลา 30 นาที และผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดจะต้องจดสูตรเอง เมนูของเชฟป้อมคือ "ยำทวาย" และเมนูของเชฟเอียนคือ "Maguro & Ocean Trout Mosaic" ผู้เข้าแข่งขันที่จะต้องทำเมนูของเชฟป้อมคือ ลี่, จิมมี่ และ แก้มยุ้ย และผู้เข้าแข่งขันที่จะต้องทำเมนูของเชฟเอียนคือ เตอร์, บิลลี่, และหมอบีม ทุกคนมีเวลา 60 นาทีในการทำเมนูดังกล่าว และผู้ที่ทำได้ดีที่สุดในแต่ละเมนูจะเป็นผู้ชนะ
  • ผู้ชนะ: แก้มยุ้ยและเตอร์
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : ในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ แก้มยุ้ยและเตอร์ ผู้ชนะจากรอบที่แล้ว จะได้ผ่านเข้ารอบโดยไม่ต้องแข่งขันในรอบนี้ ส่วนผู้เข้าแข่งขันคนอื่นจะต้องแข่งขันในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์โดยใช้อุปกรณ์ให้ความร้อน คือ เตาไมโครเวฟ โดยจะใช้อุปกรณ์ให้ความร้อนอื่นไม่ได้ ในเวลา 60 นาที เมื่อกรรมการชิมอาหารของทุกคนแล้ว สองคนที่ตกเป็นสองจานที่ทำอาหารได้ไม่ดีคือ บิลลี่และหมอบีม โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ หมอบีม
  • ผู้ที่ตกเป็นสองอันดับอาหารไม่สร้างสรรค์: บิลลี่และหมอบีม
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: หมอบีม

ตอนที่ 14: การทำอาหารปิ่นโตเดลิเวอรี

ออกอากาศ 20 มิถุนายน 2564

ตั้งแต่ตอนที่ 14 เป็นต้นไป ได้ถ่ายทำรายการโดยมีมาตรการการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยการแยกผู้เข้าแข่งขันและกรรมการให้อยู่คนละสตูดิโอ ลดจำนวนทีมงานในแต่ละสตูดิโอ และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา

  • การแข่งกล่องปริศนา : ในสัปดาห์นี้ ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 5 คน จะต้องแข่งขันนอกสถานที่ ภายในครัวของบ้านห้าหลังในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง โดยกรรมการจะไม่อยู่กับผู้เข้าแข่งขัน แต่จะมีการใช้ระบบ Live Streaming สื่อสารกับผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดได้ ในรอบแรกเป็นบททดสอบกล่องปริศนา ภายในมีวัตถุดิบสำหรับทำเครื่องแกงไทยและปิ่นโต 1 เถา ซึ่งผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดจะต้องรับฟังเมนูอาหารที่กรรมการจะสั่งโดยผู้เข้าแข่งขันจะไม่ทราบว่ากรรมการทั้งสามคนจะสั่งอาหารเมนูอะไรในเวลาใด ทั้งนี้ผู้เข้าแข่งขันมีเวลา 60 นาทีในการทำอาหารปิ่นโต เมื่อเวลา 55 นาทีสุดท้าย เชฟป้อมสั่งฉู่ฉี่ปลาทูสูตรดั้งเดิม เมื่อถึงเวลา 40 นาทีสุดท้าย หม่อมหลวงภาสันต์สั่งหลนปูเค็ม ในเวลา 20 นาทีสุดท้าย เชฟเอียนสั่งเมนูตับ โดยแล้วแต่ผู้เข้าแข่งขัน และเมื่อถึงเวลา 10 นาทีสุดท้าย คุณป๊อก สั่งไข่เป็ดดาว 3 ฟองจากผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด เมื่อหมดเวลาแล้วอาหารปิ่นโตทั้งหมดของทั้ง 5 คนจะถูกขนส่งมายังสตูดิโอของกรรมการ และผู้เข้าแข่งขันทั้งหมดจะต้องล้างอุปกรณ์ทำอาหารทั้งหมดเองเพื่อใช้ในการแข่งขันรอบต่อไป หลังจากที่กรรมการได้ชิมอาหารของทุกคนแล้ว ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุด คือ ลี่
  • ผู้ชนะ: ลี่
  • บททดสอบความคิดสร้างสรรค์ : ในรอบทดสอบความคิดสร้างสรรค์ครั้งสุดท้าย ผู้เข้าแข่งขันจะต้องทำเมนูอาหารโดยใช้เทคนิก Molecular Gastronomy ภายใน 60 นาที และจะต้องคำนึงถึงการขนส่งมายังสตูดิโอของกรรมการ ทั้งนี้ ลี่ ผู้ชนะจากรอบที่แล้ว จะต้องทำการแข่งขันด้วย แต่ได้รับสิทธิพิเศษ คือ สามารถปรึกษาเชฟเอียนได้ตลอดการแข่งขัน จำนวน 2 ครั้ง ครั้งละ 2 นาที ในการชิมอาหารรอบนี้ ผู้เข้าแข่งขันจะไม่รู้เมนูและคำวิจารณ์ของผู้เข้าแข่งขันคนอื่น และหลังจากชิมอาหาร จะประกาศผู้เข้าแข่งขัน 4 คนที่ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ โดยคนที่ต้องออกจากการแข่งขันในสัปดาห์นี้คือ บิลลี่
  • ผู้ที่ถูกคัดออก: บิลลี่

ตอนที่ 15-16: การแข่งขันรอบรองชนะเลิศ

ออกอากาศ 27 มิถุนายน 2564 และ 4 กรกฎาคม 2564

ในการแข่งขันรอบรองชนะเลิศ ผู้เข้าแข่งขันจะได้เข้ามาในสตูดิโอที่มีการตกแต่งเหมือนรอบคัดเลือก โดยการแข่งขันรอบนี้จะใช้โจทย์การแข่งขันเหมือนกับรอบคัดเลือก ในรอบนี้จะแข่งขันทั้งหมด 3 รอบ โดยแต่ละรอบจะมีผู้ชนะ 1 คน เข้าสู่รอบชิงชนะเลิศทันที และเนื่องจากว่าผู้เข้าแข่งขันทั้ง 4 คน มาจากสายขนมหวาน 2 คน และอาหารตะวันตก 2 คน รายการจึงทดสอบผู้เข้าแข่งขันด้วยโจทย์อื่น ๆ ที่ผู้เข้าแข่งขันทุกคนไม่ได้พบเจอดังต่อไปนี้ และหมุนวงล้อแห่งบุญกุศลเพื่อเลือกโจทย์ที่จะใช้ในแต่ละรอบ

โจทย์วัตถุดิบหลักเวลาที่ได้
เอเชียนทวิสต์กุ้งมังกร60 นาที
ยกระดับอาหารไทยงูเห่า60 นาที
อาหารฝรั่งเศสนกพิราบ60 นาที
ไทยทวิสต์ปลาสวาย45 นาที
ยกระดับอาหารดั้งเดิมพาสตาเส้นสด45 นาที
  • รอบที่ 1 : ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบ "'งูเห่า" ในการยกระดับอาหารไทย ในเวลา 60 นาที ถือเป็นโจทย์ที่วัดใจผู้เข้าแข่งขันว่าจะไปต่อหรือหยุดที่รอบนี้ เมื่อเหลือเวลา 30 นาที มีวัตถุดิบปริศนา "นมสด" เพิ่มขึ้นมาเพื่อใช้เป็นเมนูขนมหวานที่จะรับประทานร่วมกับเมนูงูเห่าของแต่ละคน หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ได้แก่ ลี่
  • ผู้ชนะ : ลี่
  • รอบที่ 2 : ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบ "'ปลาสวาย" ในโจทย์อาหารไทยทวิสต์ ในเวลา 45 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ได้แก่ เตอร์
  • ผู้ชนะ : เตอร์
  • รอบที่ 3 : ผู้เข้าแข่งขันจะต้องใช้วัตถุดิบ "นกพิราบ" ในโจทย์อาหารฝรั่งเศส ในเวลา 60 นาที หลังจากคณะกรรมการได้ชิมอาหารของผู้เข้าแข่งขันทุกคนแล้ว ผู้ชนะในการแข่งขันรอบนี้ได้แก่ จิมมี่
  • ผู้ชนะ : จิมมี่
  • ผู้ที่ถูกคัดออก : แก้มยุ้ย

ตอนที่ 16-17: การแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ

ออกอากาศ 4 กรกฎาคม 2564 และ 11 กรกฎาคม 2564
  • รอบชิงชนะเลิศ : ผู้เข้าแข่งขันทั้งสามคนได้แก่ ลี่, เตอร์ และจิมมี่ จะต้องรังสรรค์คอร์สอาหารทั้งสามเมนูได้แก่ อาหารเรียกน้ำย่อย (Appetizers), อาหารจานหลัก (Main Course) และของหวาน (Dessert) โดยจะแข่งทีละเมนู แต่ละเมนูมีเวลาทำอาหาร 60 นาที ผู้ที่ทำผลงานได้ดีที่สุดจะได้เป็นมาสเตอร์เชฟคนที่ 4 ของประเทศไทย
  • ผู้ชนะมาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 4 : ลี่

ใกล้เคียง

มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 2 มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 3 มาสเตอร์เชฟ ออล สตาร์ส ไทยแลนด์ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 1 มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 6 มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 5 มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ซีซันที่ 4 มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 1) มาสเตอร์เชฟจูเนียร์ไทยแลนด์ (ฤดูกาลที่ 2)