นิกายคาทอลิก ของ มุขนายก

คริสต์ศาสนิกชนโรมันคาทอลิกในประเทศไทยเรียกมุขนายกว่าพระสังฆราชกันมาตั้งแต่สมัยอยุธยา โดยเลียนแบบการเรียกประมุขสงฆ์ของชาวไทยซึ่งใช้มาก่อนตั้งแต่สมัยสุโขทัย[5] ชาวคาทอลิกเชื่อว่ามุขนายกเป็นตำแหน่งที่สืบมาจากอัครทูตผู้ติดตามพระเยซูอย่างใกล้ชิดในสมัยที่พระองค์ยังคงดำรงพระชนม์ในโลกเมื่อ 2000 ปีมาแล้ว มุขนายกทำหน้าที่เป็นประมุขคริสตจักรโรมันคาทอลิก เป็นหัวหน้าปกครองคณะบาทหลวง คณะนักบวชคาทอลิกชาย-หญิง และคริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกภายในเขตปกครองของตน[6] ซึ่งเรียกว่ามุขมณฑล โดยมุขมณฑลในประเทศไทยเรียกว่าเขตมิสซัง และแบ่งออกเป็น 10 เขตมิสซัง

ผู้จะรับศีลอนุกรมเป็นมุขนายกจะต้องบวชเป็นบาทหลวงมาก่อน และต่อมาได้รับการแต่งตั้งจากพระสันตะปาปาโดยมีพิธีการอภิเษกเป็นมุขนายกซึ่งถือเป็นศีลอนุกรมขั้นสูงสุด

ประเภทของมุขนายก

ตามประมวลกฎหมายพระศาสนจักรได้แบ่งมุขนายกออกเป็น 2 ประเภท[7] ดังนี้

  • มุขนายกเกียรตินาม (Titular bishop) หรือทิทิวลาร์บิชอป คือมุขนายกที่ไม่มีมุขมณฑลในปกครอง แต่ได้รับแต่งตั้งเป็นมุขนายกเพื่อเป็นเกียรติในการทำงานให้คริสตจักร มุขนายกประเภทนี้ได้แก่
    • มุขนายกผู้ช่วย (auxiliary bishop) หรืออ๊อกซิเลียรีบิชอป คือมุขนายกที่พระสันตะปาปาแต่งตั้งให้เป็นผู้ช่วยของมุขนายกประจำมุขมณฑล เพื่อช่วยปกครองมุขมณฑลหนึ่ง ๆ และจะได้รับแต่งตั้งจากมุขนายกประจำมุขมณฑลนั้นให้เป็นอุปมุขนายก (vicar general) หรืออย่างน้อยก็เป็นผู้ช่วยมุขนายก (episcopal vicar) ในมุขมณฑลที่ตนประจำอยู่
    • มุขนายกรอง (coadjutor bishop) หรือโคแอดจูเตอร์บิชอป คือมุขนายกผู้ช่วยที่มีอำนาจหน้าที่ตามกฎหมายเกือบเท่ามุขนายกประจำมุขมณฑล และยังมีสิทธิ์สืบตำแหน่งเป็นมุขนายกประจำมุขมณฑลองค์ต่อไป
    • มุขนายกกิตติคุณ (bishop emeritus) หรือบิชอปอิเมริทัส คือมุขนายกประจำมุขมณฑลที่ได้รับอนุมัติให้ลาออกจากตำแหน่งแล้ว (คือเกษียณตนเอง)

นอกจากนี้เหล่าประมุขมิสซังและเอกอัครสมณทูตก็ได้รับตำแหน่งเป็นมุขนายกเกียรตินามด้วย เพื่อให้มีเกียรติเสมือนมุขนายกประจำมุขมณฑล ตัวอย่างเช่น มุขนายก ฌ็อง-บาติสต์ ปาลกัว ประมุขมิสซังสยามได้เป็นมุขนายกเกียรตินามแห่งมาลลอส

ในประเทศไทย

(ซ้าย) พระคุณเจ้าฟรังซิสเซเวียร์ วีระ อาภรณ์รัตน์
มุขนายกมิสซังคาทอลิกเชียงใหม่
(ขวา) พระคุณเจ้ายอแซฟ สังวาลย์ ศุระศรางค์
มุขนายกกิตติคุณมิสซังคาทอลิกเชียงใหม่[8]

เมื่อพระสันตะปาปาประกาศตั้งมิสซังสยามในปี พ.ศ. 2212 แล้ว ก็ได้ส่งมุขนายกเกียรตินามซึ่งล้วนแต่เป็นมิชชันนารีชาวฝรั่งเศสมาเป็นประมุขศาสนจักรโรมันคาทอลิกในประเทศไทย จนกระทั่ง วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 จึงประกาศแต่งตั้งมุขนายกเกียรตินามคนไทย คือ มุขนายกยาโกเบ แจง เกิดสว่าง ประมุขมิสซังจันทบุรี เป็นมุขนายกเกียรตินามแห่ง Barcusus[9] นับเป็นคนไทยคนแรกที่ได้ดำรงตำแหน่งมุขนายก[10]

ในปัจจุบันประเทศไทยมีมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ (ที่ยังไม่เกษียณ) 10 ท่าน ได้แก่[11]

7 เขตมิสซังนี้อยู่สังกัดภาคคริสตจักรเดียวกัน โดยมีอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกกรุงเทพฯเป็นมุขนายกมหานคร

4 เขตมิสซังนี้อยู่ในสังกัดภาคคริสตจักรเดียวกัน โดยมีอัครมุขนายกมิสซังโรมันคาทอลิกท่าแร่-หนองแสงเป็นมุขนายกมหานคร

และมีมุขนายกกิตติคุณ 3 ท่าน ได้แก่[12]

ใกล้เคียง

มุขนายก มุขนายกเกียรตินาม มุขนายกประจำมุขมณฑล มุขนายกกิตติคุณ มุขนายกรอง มุขนายกมหานคร มุขนายกผู้ช่วย มุขนายกแห่งพระศาสนจักรกรุงโรม มุขนายกมิซซังปาลเลอกัวซ์ มุขนายกผู้ครองนคร

แหล่งที่มา

WikiPedia: มุขนายก http://global.britannica.com/EBchecked/topic/19016... http://books.google.com/books?id=cKv6WQVMnh8C&pg=P... http://www.intratext.com/IXT/ENG0017/_P1C.HTM http://olddreamz.com/inscript/sukhothai1.html http://thaipriest.cbct.net/bishopspresent/index.ht... http://www.cbct.net/DirectoryEmeriti-bishops.html http://www.catholic-hierarchy.org/bishop/bcheng.ht... http://www.cmdiocese.org/th/infor/knowledge/340-34... http://www.episcopalarchives.org/Afro-Anglican_his... http://www.religioustolerance.org/femclrg14.htm