การคำนวณมุมรับภาพ ของ มุมรับภาพ

การวัดค่ามุมรับภาพตามแนวต่าง ๆ

มุมรับภาพของกล้องถ่ายภาพเป็นฟังก์ชันของค่าสามค่า ได้แก่:

  1. ขนาดของพื้นผิวภาพ เช่น ฟิล์มถ่ายภาพ หรือเซนเซอร์ที่ใช้
  2. ความยาวโฟกัสของเลนส์ถ่ายภาพ ที่ฉายภาพลงบนพื้นผิวภาพ
  3. ระดับความบิดเบี้ยวของเลนส์

สำหรับเลนส์ที่ปราศจากความบิดเบี้ยว มุมรับภาพจะถูกกำหนดโดยขนาดของฟิล์มและเซนเซอร์ทางแสงและความยาวโฟกัสของเลนส์

การวัดค่ามุมรับภาพมี 3 วิธี ดังนี้:

  • มุมมองแนวนอน (จากขอบด้านซ้ายของกรอบถึงขอบด้านขวา)
  • มุมมองแนวตั้ง (จากขอบบนของกรอบถึงขอบล่าง)
  • มุมรับภาพแนวทแยง (จากมุมหนึ่งของกรอบถึงมุมตรงข้าม)
ภาพจำลองแสดงการเปลี่ยนความยาวโฟกัสให้สอดคล้องกับมุมรับภาพโดยให้วัตถุเป้าหมายขนาดเท่าเดิม

สำหรับเลนส์ที่ไม่มีการบิดเบี้ยว มุมรับภาพ α สามารถคำนวณจากความกว้างจริง d และความยาวโฟกัสจริง ƒ ได้ดังนี้

α = 2 arctan ⁡ d 2 f {\displaystyle \alpha =2\arctan {\frac {d}{2f}}}

ความยาวโฟกัสจริงมักจะเท่ากับความยาวโฟกัสมาตรฐาน F แต่ใน การถ่ายภาพมหัพภาค จะต้องคำนึงถึงกำลังขยาย m โดยความสัมพันธ์จะเป็นดังนี้

f = F ⋅ ( 1 + m ) {\displaystyle f=F\cdot (1+m)}

ขนาดตามแนวเส้นทแยงมุมหาได้จากการใช้ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส กับขนาดแนวนอนและแนวตั้งดังนี้

d = h 2 + v 2 {\displaystyle d={\sqrt {h^{2}+v^{2}}}}

โดยที่ h คือขนาดแนวนอน และ v คือขนาดแนวตั้ง