ผลกระทบกระเทือนต่อโลกของยุคแห่งการสำรวจ ของ ยุคแห่งการสำรวจ

เรือคาร์แร็คของโปรตุเกสที่นะงะซะกิในญี่ปุ่น คริสต์ศตวรรษที่ 17 การมาถึงของโปรตุเกสในปี ค.ศ. 1543 เป็นการเริ่มสมัยการค้านันบัน (Nanban trade) โดยญี่ปุ่นรับเทคโนโลยีและวัฒนธรรมบางอย่างของโปรตุเกสเช่นปืนไฟ, เสื้อเกราะควิราส (Cuirass), การต่อเรือแบบยุโรป, คริสต์ศาสนา, ศิลปะการตกแต่ง และ ภาษา

เส้นทางข้ามมหาสมุทร (Trans-Oceanic) ใหม่นี้เป็นการนำมหาอำนาจยุโรปเข้าสู่ยุคจักรวรรดินิยมเมื่อยุโรปเข้ามาควบคุมประเทศต่างๆ เกือบทั้งโลก ความต้องการของยุโรปในการทำการค้าขาย หาวัตถุดิบ ค้าทาส และขยายจักรวรรดิมีผลต่อบริเวณต่างๆ ของโลก สเปนดำเนินนโยบายการทำลายวัฒนธรรมต่างๆ ในทวีปอเมริกาจนวอดวาย และแทนที่วัฒนธรรมเหล่านั้นด้วยวัฒนธรรมของตนเองและบังคับให้ชนท้องถิ่นละทิ้งประเพณีทางศาสนาของตนเองและเปลี่ยนมานับถือคริสต์ศาสนา พฤติกรรมนี้กลายเป็นมาตรฐานทั่วไปของชาติต่างๆ ในยุโรปในการปฏิบัติต่อดินแดนต่างๆ ที่เข้ายึดครองโดยเฉพาะดัตช์ รัสเซีย ฝรั่งเศส และอังกฤษ ศาสนาใหม่เข้ามาแทนที่ศาสนาที่ชาวยุโรปถือว่าเป็น “ลัทธิเพกัน” นอกจากศาสนาแล้วก็ยังมีการบังคับใช้ภาษา ระบบการบริหาร และประเพณีเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางเพศในบริเวณต่าง ๆ เช่นอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และ อาร์เจนตินา ชนท้องถิ่นถูกขับออกจากที่อยู่อาศัยเดิมหรือถูกจำกัดให้อยู่ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งที่เจ้าของอาณานิคมก่อตั้งให้ ประชากรท้องถิ่นถูกลดจำนวนลงไปเป็นจำนวนมาก และในที่สุดก็กลายเป็นชนกลุ่มน้อยที่ต้องอาศัยพึ่งพารัฐบาลของอาณานิคมที่เข้ามายึดครอง

ทางฝั่งแอฟริกาก็เช่นกัน รัฐต่าง ๆ เป็นแหล่งสำคัญของการค้าทาสซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงบริเวณไม่แต่เพียงชายฝั่งของแอฟริกา และทางโครงสร้าของสังคมและทางเศรษฐกิแต่ยังลึกเข้าไปถึงใจกลางของทวีปด้วย

ในอเมริกาเหนือชาวยุโรปก็มีปัญหากับชนพื้นเมืองที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ก่อนหน้าที่ชาวยุโรปจะเข้ามายึดครอง ชาวยุโรปได้เปรียบกว่าชนพื้นเมืองหลายประการ นอกจากนั้นแล้วก็ยังนำเชื้อโรคใหม่เข้ามาเผยแพร่ที่เป็นผลให้จำนวนประชากรพื้นเมืองที่ไม่เคยประสบกับเชื้อโรคใหม่นี้ต้องเสียชีวิตไปถึง 50-90% ของจำนวนประชากรทั้งหมด[14]

ใกล้เคียง