การแพร่กระจายโรค ของ ยุงลายบ้าน

ยุงลายบ้านเป็นตัวพาหะนำโรคส่งผ่านไข้เขตร้อนหลายโรค ยุงลายบ้านเฉพาะเพศเมียเท่านั้นที่กัดเพื่อดูดเลือดไปใช้ให้ไข่เจริญ ยุงลายบ้านหาเหยื่อโดยจะดึงดูดเข้าหาสารเคมีที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมปล่อยออกมา สารประกอบเหล่านี้รวมถึงแอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ กรดแลกติกและออคทีนอล นักวิทยาศาสตร์แห่งงานบริการวิจัยการเกษตรได้ศึกษาโครงสร้างเคมีเฉพาะของออคทีนอลเพื่อทำความเข้าใจว่าเหตุใดสารเคมีดังกล่าวจึงดึงดูดยุงมายังตัวถูกเบียน (host) พวกเขาพบว่ายุงชอบโมเลกุลออคทีนอลหมุนขวา (dextrorotatory) มากกว่า

คู่มือนักเดินทางเรื่องการป้องกันไข้เด็งกีของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) แนะนำให้ใช้สารขับไล่ยุงที่มี DEET (เอ็น, เอ็น-ไดเอทิลเมทาโทลูเอไมด์ ความเข้มข้น 20% ถึง 30% ไม่ควรเกินกว่านี้) นอกจากนี้ยังแนะนำดังต่อไปนี้

  1. แม้ว่ายุงลายบ้านมักกัดเวลาตกค่ำ และรุ่งเช้า ในบ้าน ในที่มืด หรือเมื่อมีเมฆมาก แต่ยุงชนิดนี้กัดและแพร่กระจายโรคได้ตลอดปีและทุกช่วงเวลาของวัน[4][5]
  2. ที่วางไข่ของยุงลายบ้านมักเป็นที่น้ำนิ่ง เช่น แจกันดอกไม้ ถังหรือภาชนาที่ไม่มีฝาปิด และยางรถยนต์ที่ทิ้งแล้ว แต่ที่อันตรายที่สุด คือ พื้นฝักบัวเปียกและถังชักโครก เพราะยุงจะเข้ามาแพร่พันธุ์ในที่พักอาศัยได้ มีการวิจัยที่แสดงว่าสารเคมีบางชนิดที่แบคทีเรียปล่อยออกมาในที่เก็บน้ำสามารถกระตุ้นให้ยุงเพศเมียวางไข่ได้ นอกจากนี้ ยุงเพศเมียมักจะถูกกระตุ้นให้วางไข่ในที่เก็บน้ำที่มีปริมาณกรดไขมันบางชนิดพอเหมาะซึ่งกรดไขมันดังกล่าวสัมพันธ์กับแบคทีเรียที่มีส่วนในการย่อยสลายใบไม้และสารอินทรีย์อื่นในน้ำ
  3. สวมเสื้อผ้าแขนยาวและกางเกงขายาวเมื่ออยู่นอกอาคารในช่วงกลางวัน และตอนเย็น
  4. ฉีดพ่นสารขับไล่เพอร์เมธรินหรือ DEET บนเสื้อผ้า เพราะยุงอาจกัดผ่านเสื้อผ้าบาง ๆ ได้
  5. ใช้มุ้งคลุมเหนือเตียงหากห้องนอนไม่ได้ปรับอากาศหรือมีมุ้งลวด สามารถเพิ่มการป้องกันได้โดยชุบมุ้งด้วยยาฆ่าแมลงเพอร์เมธริน (en:Permethrin)
  6. ฉีดพ่นเพอร์เมธรินหรือยาฆ่าแมลงที่คล้ายกันในห้องนอนก่อนเข้านอน