ภาพรวม ของ ยูการ์

เนื่องจากชาวไอนุไม่มีตัวอักษรสำหรับเขียน ยูการ์จึงได้รับการถ่ายทอดด้วยปากเปล่าเป็นหลัก

ยูการ์มีตั้งแต่เรื่องสั้น ๆ ไปจนถึงเรื่องยาวที่ใช้เวลาหลายวันในการเล่า ตามการจัดหมวดหมู่โดยนักวิชาการไอนุศึกษา ยูการ์แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ: ไอนูยูการ์ (ยูการ์ของมนุษย์) และ กามุยยูการ์ (ยูการ์ของกามุย)[1]

ไอนูยูการ์ซึ่งเล่าเรื่องเกี่ยวกับมนุษย์เป็นหลักนั้นมักเป็นจะเป็นเรื่องราวการผจญภัยของเด็กหนุ่มชื่อโปยยาอุนเปเป็นตัวเอก

สำหรับกามุยยูการ์นั้นจะใช้รูปแบบการเล่าจากมุมมองของกามุย เป็นเรื่องราวของโลกแห่งเทพเจ้าที่สะท้อนถึงโลกทัศน์ของชาวไอนุ ประกอบด้วยคำสอนเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับพระเจ้าและธรรมชาติ

เรื่องราวที่เป็นร้อยแก้วจะเรียกว่า อูเอเปเกร์

ชาวไอนุได้สืบทอดตำนานเทพเจ้าแห่งธรรมชาติและตำนานของวีรบุรุษด้วยการแสดงออกที่หลากหลายผ่านคำพูดปากต่อปากในภาษาไอนุซึ่งไม่มีภาษาเขียน ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาเนื่องจากความเสื่อมถอยของภาษาไอนุและวัฒนธรรมไอนุ จำนวนผู้บรรยายวรรณกรรมปากเปล่ารวมถึงยูการ์ก็ค่อย ๆ ลดลง แต่ในยุคหลังมานี้ก็ได้มีความพยายามในการฟื้นฟูขึ้นมา โดยมีการฝึกสอนคนรุ่นใหม่มากขึ้น