ยูทูบในประเทศไทย ของ ยูทูบ

การปิดกั้นข่าวสารในประเทศไทย

ผู้ใช้ในประเทศไทยได้ถูกปิดกั้นการเข้าถึงเว็บไซต์ยูทูบ ตั้งแต่คืนวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2550 หลังจากสิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารในขณะนั้น พยายามขอความร่วมมือหลายครั้ง ให้กูเกิลนำคลิปวิดีโอตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์ที่หมิ่นพระบรมเดชานุภาพออก แต่ถูกปฏิเสธโดยได้ให้เหตุผลว่าคลิปวิดีโออื่นที่โจมตีประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู. บุช รุนแรงมากกว่านี้ ยังให้อยู่ได้ ซึ่งคลิปวิดีโอดังกล่าว[อันไหน?] อัปโหลดโดยผู้ใช้ชื่อ paddidda เมื่อวันที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2550 มีผู้ชมไปแล้ว มากกว่า 16,000 ครั้ง และมีมากกว่า 500 ความคิดเห็นด้วยกัน[14][15] หลังจากที่ได้มีการออกข่าว จำนวนผู้ชมไปขึ้นไปถึงกว่า 66,553 ครั้งก่อนที่คลิปวิดีโอดังกล่าวจะถูกย้ายออกจากระบบ แม้ว่าคลิปวิดีโอได้ถูกเอาออกไปแล้ว แต่เว็บไซต์ยังคงถูกบล็อกต่อไป โดยนายสิทธิชัย โภไคยอุดมได้ให้เหตุผลว่ายังมีภาพตัดต่อพระบรมฉายาลักษณ์คงเหลืออยู่ และต้องการให้เอาออกทั้งหมด[16][17]

ในวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2550 ได้มีการยกเลิกการบล็อกเว็บไซต์ยูทูบ จนสามารถใช้งานได้ตามปกติแล้ว หลังจากที่ยูทูบตกลงที่จะบล็อกวิดีโอที่มีการหมิ่นประมาทในไทยต่าง ๆ[18]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ยูทูบ http://www.alexa.com/siteinfo/youtube.com http://www.bangkokpost.com/topstories/topstories.p... http://www.businessinsider.com/key-turning-points-... http://whois.domaintools.com/youtube.com http://www.google.com/ http://www.google.com/support/youtube/bin/answer.p... http://nationmultimedia.com/2007/08/31/headlines/h... http://www.nbcnews.com/id/15196982/ns/business-us_... http://www.numberphile.com/videos/301_views.html http://www.reuters.com/article/companyNewsAndPR/id...