รูปแบบการแพร่กระจายคลื่น ของ ย่านความถี่_10_เมตร

ย่านความถี่ 10 เมตรนี้จะมีรูปแบบการแพร่กระจายคลื่นที่เป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง ในบางครั้งสามารถติดต่อทางไกลได้ดี ด้วยกำลังส่งต่ำ ๆ ก็สามารถติดต่อได้รอบโลก แต่บางครั้งก็เป็นเรื่องที่ยากและท้าทายมาก ในช่วงที่เป็นจุดสูงสุดของ Solar cycle หรือช่วงเวลาที่ดวงอาทิตย์มีจุดดับมาก ๆ ย่านความถี่ 10 เมตรจะเต็มไปด้วยสัญญาณจากดินแดนที่ไกล ๆ ซึ่งสะท้อนบรรยากาศชั้น F2 ซึ่งเป็นชั้นย่อยของชั้นไอโอโนสเพียร์ ย่านความถี่ 10 เมตรจะเป็นความถี่ที่สามารถติดต่อทางไกลได้ดีในช่วงกลางวัน (เวลาท้องถิ่น) สำหรับช่วงที่มีการเพิ่ม Sunspot activity จะพบสภาพ "อากาศเปิด" สามารถใช้งานย่านความถี่ 10 เมตรได้ตั้งแต่ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้นจนถึงกลางคืนเลยทีเดียว

ในเวลากลางคืนของช่วงเวลา solar minimum ชั้น F2 ซึ่งเป็นชั้นย่อยของชั้นไอโอโนสเพียร์จะมีน้อย ย่านความถี่ 10 เมตรอาจจะติดต่อทางไกลได้โดยการแพร่กระจายคลื่นแบบ Sporadic E propagation สามารถติดต่อได้ไกลตั้งแต่ 100 ไมล์ ถึงหลาย 1,000 ไมล์ สภาพ Sporadic E ในย่านความถี่ 10 เมตรนี้จะขึ้นอยู่กับฤดูกาล ในช่วงปลายของฤดูใบไม้ผลิ จนถึง ก่อนฤดูร้อนเป็นช่วงเวลาที่ดีที่สุดของการแพร่กระจายคลื่นแบบนี้

ย่านความถี่ 10 เมตรเป็นรอยต่อระหว่างแถบความถี่ HF และแถบความถี่ VHF ย่านความถี่ 10 เมตร เลยมีคุณสมบัติของการแพร่กระจายคลื่นบางอย่างที่คล้ายกับแถบความถี่ VHF เช่น การติดต่อสื่อสารแบบสะท้อนฝนดาวตก(Meteor scatter), aurora, auroral E และ transequatorial propagation ทำให้สามารถติดต่อได้ถึง 2,300 กิโลเมตร หรือไกลกว่า เทคนิคการติดต่อในแถบความถี่ VHF สามารถนำมาใช้ได้ดีในย่านความถี่ 10 เมตร เช่นกัน