ประวัติ ของ รถด่วนพิเศษนครพิงค์

รถด่วนพิเศษนครพิงค์ ในอดีตคือรถด่วนนครพิงค์ เป็นรถโดยสารปรับอากาศล้วน เปิดเดินรถครั้งแรกในวันที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2530 และเป็นขบวนรถด่วนที่วิ่งคู่กับรถด่วนขบวนที่ 13/14 ซึ่งเปิดทำการมาตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2465 โดยใช้รถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 รุ่นฮุนได 24 ที่นั่งและนอน ที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ เมือปี พ.ศ. 2539 และรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 2 รุ่นแดวู 40 ที่นั่งและนอน ที่นำเข้าจากประเทศเกาหลีใต้ เมือปี พ.ศ. 2539 เช่นเดียวกับรถนั่งและนอนปรับอากาศชั้นที่ 1 และมีรถนั่งปรับอากาศชั้นที่ 2 ที่รองรับผู้โดยสารที่เป็นคนพิการ มีสิ่งอำนวยความสะดวกเพื่อผู้พิการ รวมทั้งห้องน้ำกว้างกว่ารถโดยสารปกติ โดยดัดแปลงมาจากรถนั่งปรับอากาศชั้น 3 เดิมจาก JR-west ประเทศญี่ปุ่น และมีตู้สำหรับสุภาพสตรีและเด็กอยู่ที่คันที่ 11 ในเที่ยวไป และคันที่ 3 ในเที่ยวกลับ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2545 รถด่วนพิเศษนครพิงค์ได้กลายมาเป็นขบวนรถตัวอย่างขบวนหนึ่งของการรถไฟฯ ควบคู่กับรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ รถด่วนพิเศษทักษิณ และรถด่วนพิเศษดีเซลรางขบวนที่ 21/22 กรุงเทพ - อุบลราชธานี - กรุงเทพ

รถด่วนพิเศษนครพิงค์ยกเลิกการเดินรถตั้งแต่คืนวันที่ 11 พฤศจิกายน (สำหรับขบวนที่ 1) และคืนวันที่ 12 พฤศจิกายน (สำหรับขบวนที่ 2) พ.ศ. 2559[1] และทดแทนด้วยการเดินรถด่วนพิเศษอุตราวิถีขบวนที่ 9/10 โดยใช้รถไฟชุด 115 คันจาก ประเทศจีนชุดละ 13 คัน โดยใช้ชุดเวลาเดิมกับด่วนพิเศษนครพิงค์ นับเป็นการปิดฉากขบวนรถด่วนพิเศษยอดนิยมมาทุกยุคทุกสมัยขวัญใจชาวต่างประเทศ ซึ่งรับใช้คนไทยและต่างประเทศมานานเกือบ 30 ปี

ใกล้เคียง

รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ รถด่วนพิเศษทักษิณ รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ รถด่วนพิเศษอุตราวิถี รถด่วนพิเศษนครพิงค์ รถด่วนพิเศษอีสานมรรคา รถด่วนราชธานี รถด่วนดุรนตุ รถด่วน 999