ประวัติ ของ รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ

รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศหรือชื่อเดิม รถด่วนสายใต้ เปิดเดินรถครั้งแรกในวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2465 วิ่งทุกวันจันทร์ วันพุธ และวันเสาร์ ต้นทางในขณะนั้นคือสถานีรถไฟบางกอกน้อย และได้ย้ายต้นทางมาที่สถานีรถไฟกรุงเทพ ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2470 ต่อมาได้หยุดทำการเดินรถชั่วคราวระหว่างวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2493 จนถึง 2 มกราคม พ.ศ. 2497 เนื่องจากสะพานพระราม 6 ถูกทำลาย

โดยปกติรถด่วนพิเศษระหว่างประเทศออกจากสถานีรถไฟกรุงเทพในช่วงบ่ายและไปถึงสถานีรถไฟบัตเตอร์เวอร์ธในช่วงสายของวันถัดมาโดยทำการเดินรถทุกวัน แต่ภายหลังในช่วงกลางปี พ.ศ. 2559 หลังจากที่ประเทศมาเลเซียได้มีการปรับปรุงการให้บริการรถไฟด้วยระบบรถไฟฟ้าทางคู่ขนาดความกว้าง 1 เมตร หรือขบวนรถไฟ อีทีเอส ประกอบกับการรถไฟแห่งประเทศไทยได้เปิดขบวนรถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ ในช่วงปลายปี พ.ศ. 2559 ทำให้รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศจึงสิ้นสุดเส้นทางเพียงแค่สถานีปาดังเบซาร์ โดยจะพ่วงตู้โดยสารรวมไปกับรถด่วนพิเศษทักษิณขบวนที่ 37/38 (กรุงเทพ - สุไหงโกลก - กรุงเทพ) และผู้โดยสารจะต้องผ่านด่านตรวจคนเข้าเมืองและดำเนินการซื้อตั๋วเพื่อใช้บริการรถไฟของประเทศมาเลเซียเพื่อเดินทางไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป

ใกล้เคียง

รถด่วนพิเศษทักษิณารัถย์ รถด่วนพิเศษทักษิณ รถด่วนพิเศษอีสานวัตนา รถด่วนพิเศษระหว่างประเทศ รถด่วนพิเศษอุตราวิถี รถด่วนพิเศษนครพิงค์ รถด่วนพิเศษอีสานมรรคา รถด่วนราชธานี รถด่วนดุรนตุ รถด่วน 999