ยุคสงครามเย็น ของ รถยนต์ประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ

ในสมัยต่อๆมาได้มีการเข้มงวดในด้านระบบรักษาความปลอดภัยเพิ่มมากยิ่งขึ้น เนื่องจากได้เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ขึ้นและการโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ ตลอดจนสิ้นสุดสงครามโลกแล้วยังเกิดสงครามเย็น และมีภัยคุกคามสูงจากคอมมิวนิสต์ ดังนั้นรถยนต์ของประธานาธิบดีจะต้องมีความปลอดภัยสูงขึ้นไปด้วย สังเกตได้จากรถยนต์ของประธานาธิบดีในสมัยต่อๆมาล้วนแต่เป็นรถยนต์กันกระสุนทั้งสิ้น

ลินคอร์น คอสโมโพลิแตน

ในปีพ.ศ. 2503 ประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมนได้สั่งรถยนต์ลินคอร์น รุ่นคอสโมโพลิแตน มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า บับเบิลท็อป โดยได้มีการขยายความยาวรถจาก 125 นิ้ว เป็น 148 นิ้ว และน้ำหนักรถได้เพิ่มขึ้น 6,450 ปอนด์ จาก 4,750 ปอนด์ โดยรถคันนี้ได้มีการตกแต่งภายในด้วยหนังสัตว์และมีการติดตั้งแสงไฟภายในตัวรถ หลังจากที่ประธานาธิบดีทรูแมนลงจากตำแหน่งไปแล้ว ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ได้ขึ้นดำรงตำแหน่ง ได้มีการติดตั้งหลังคากระจกบริเวณส่วนท้ายของรถ ช่วยให้มีที่กันฝนยามอากาศไม่ปรกติ ทำให้รถยนต์คันนี้มีชื่อเสียงเนื่องจากเป็นครั้งแรกที่มีการติดตั้งหลังคาและยังเป็นต้นแบบของรถยนต์ประจำจำแหน่งคันอื่นๆ อย่างไรก็ตามรถคันนี้ได้รับใช้ประธานาธิบดีในยุคต่อๆมาคือประธานาธิบดีเคนเนดี้และจอห์นสัน และปลดระวางในปีพ.ศ. 2508 นำไปจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์เฮนรี่ ฟอร์ด

คาดิลแลค เอิร์ลโดราโด

ในปีพ.ศ. 2496 ประธานาธิบดีดไวต์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ได้ใช้รถยนต์คาดิลแลค เอิร์ลโดราโด โดยได้ใช้ในวันเดินขบวนพาเหรดเฉลิมฉลองเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีของเขา โดยรถคันนี้เป็นรถคันแรกที่ได้มีกระจกบานหน้าขนาดยาวโค้งเต็มด้านหน้ารถ เพื่อกันลมกันฝน ซึ่งต่อมาได้เป็นมาตรฐานของรถในต่างประเทศด้วย

ลินคอร์น X-100

ปีพ.ศ. 2504 ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี ได้ใช้รถลินคอร์น รุ่นคอนติเนนทอล โดยรู้จักกันโดยทั่วไปในชื่อ X-100 โดยเป็นรถเปิดประทุนแต่มีหลังคาพลาสติกใช้ติดตั้งยามอากาศไม่ปรกติ ที่นั่งของประธานาธิบดีสามารถปรับขึ้นลงได้ด้วยระบบไฮโดรลิก นอกจากนี้ยีงมีการนำตราสัญลักษณ์ประธานาธิบดีมาติดบริเวณประตูรถ มีการตกแต่งภายในด้วยผ้าสักหลาด มีที่ให้ยืนด้านข้างรถสำหรับเจ้าหน้าที่ 4 นาย ในส่วนหลังยังมีที่ให้ยืนได้อีก 2 นาย มีแสงไซเรน พรมทำจากหนังสัตว์ แสงบอกเวลาประตูเปิด ธงปักด้านหน้าและมีแสงส่องที่ตัวธง ที่นั่งเพิ่มเติมสำหรับแขกพิเศษ โทรศัพท์ 2 เครื่อง ภายในตัวรถมีแสงส่องสว่าง และมีชื่อเสียงเนื่องจากมีการติดตั้งเครื้องปรับอากาศที่เบาะหลัง เมื่อนำหลังคามาติดก็สามารถเปิดเครื่องปรับอากาศทำให้ผู้โดยสารเย็นสบาย แต่ก็มีหลายครั้งเมื่อมีการเดินพาเหรดในเมือง หลังคาก็จะถูกถอดออกจนเป็นเหตุให้ประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ถูกลอบสังหารในวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2506 เพราะนั่งในรถเปิดประทุนซึ่งเป็นการเปิดช่องโหว่ให้แก่มือสังหารกระทำการได้ง่าย

หลังเหตุการณ์ลอบสังหารผ่านไป ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน ไม่มีรถที่ปลอดภัยนั่งจึงมีการปรับปรุงรถลินคอร์นคันนี้ใหม่ มีการติดตั้งเกราะบริเวณส่วนหลังของรถ มีการนำหลังคาพลาสติกออกและนำหลังคาติดเกราะมาติดเป็นหลังคาถาวรแทน มีการเพิ่มประสิทธิภาพเครื่องยนต์ ติดตั้งระบบปรับอากาศ มีชุดอุปกรณ์สื่อสารอิเล็กทรอนิกส์ เปลี่ยนแกนหมุนของล้อและติดบานพับประตูเพื่อให้เหมาะกับน้ำหนักรถที่เพิ่มขึ้น ติดกระจกกันกระสุน เพื่อป้องกันจุดบกพร่องที่จะเปิดช่องให้มือสังหารอีก

รถคันนี้ถูกปรับปรุงอีกครั้งในสมัยประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสัน ในปีพ.ศ. 2510 โดยมีการปรับปรุงระบบแอร์ให้เย็นขึ้น กระจกหลังคาแผ่นใหญ่ถูกถอดออกเปลี่ยนเป็นแผ่นที่เล็กลงเพื่อเพิ่มพื้นที่ตัวเกราะให้มากขึ้น เพิ่มที่จับให้เจ้าหน้าที่บริเวณหลังคารถ และมีการติดตั้งโต๊ะทำงานที่ทำจากไฟเบอร์กลาสภายในรถ รถคันนี้ถูกใช้งานถึงปีพ.ศ. 2520 และปลดประจำการนำไปไว้ในพิพิธภัณฑ์เฮนรี่ ฟอร์ด

ลินคอร์น คอนติเนนทัล เอ็กซ์ครูซีฟ

ประธานาธิบดีลินดอน บี. จอห์นสัน มีรถยนต์ลินคอร์น คอนติเนนทัล เอ็กส์ครูซีฟ รุ่นปีพ.ศ. 2508 จำนวน 3 คัน โดยใช้ในตำแหน่ง 2 คัน ส่วนอีก 1 คันสำหรับรัฐมนตรีกลาโหม เนื่องจากช่วงนั้นเป็นช่วงสงครามเย็น มีภัยคุกคามสูง รัฐมนตรีกลาโหมจึงต้องได้รับการอารักขาอย่างเข้มงวดเช่นเดียวกับประธานาธิบดี

รถยนต์คันนี้เป็นรถยนต์กันกระสุน มีวิทยุรับส่งและโทรศัพท์ภายในตัวรถ ซึ่งสามารถป้องกันการถูกส่งคลื่นรบกวนได้ อย่างไรก็ตามโทรศัพท์เครื่องเดิมได้ถูกนำออกไปเมื่อมีการนำรถมารับใช้ประธานาธิบดีและมีการปรับปรุงรถคันเดิมใหม่ มีการเปลี่ยนนำโทรศัพท์ที่สามารถติดต่อผ่านสายเคเบิลมาใช้แทน มีช่องระบายอากาศได้ และมีความบันเทิงภายในตัวรถโดยมีการนำแสงไฟพิเศษมาติดตั้งภายในตัวรถ เรียกว่า วิก-แวง และยังมีการติดตั้งทีวีภายในตัวรถ ในด้านความปลอดภัยมีการติดตั้งบังโคลนกันกระแทกกับรถ มีการติดตั้งแผ่นเหล็กกันกระแทก โดยการออกแบบโดยเลอร์มัน ปีเตอร์สัน นอกจากนี้ยังมีแอร์ภายในรถ ระบบควบคุมความร้อน และกระจกที่สามารถเปิดปิดได้อัตโนมัติ ในด้านการตกแต่งได้มีการตกแต่งภายในด้วยหนังสัตว์ มีพรมที่พื้นรถ หลังคารถทำด้วยพลาสติกไวนิน มีการเปลี่ยนยางรถใหม่ มีการปรับปรุงเกี่ยวกับเครื่องยนต์ ฯลฯ เมื่อปลดประจำการแล้วจึงนำไปเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์และหอสมุดจอห์นสันในรัฐเท็กซัส

ลินคอร์น X-800

ประธานาธิบดีริชาร์ด นิกสันได้สั่งรถลิมูซีนรุ่นปี พ.ศ. 2512 เป็นรถยนต์ลินคอร์นรุ่นคอนติเนนทัล เรียกอีกอย่างว่า X-800 โดยรถคันนี้ได้มีการติดตั้งช่องกระจกหลังคา หรื่อซันรูฟ สำหรับเวลาที่ประธานาธิบดีจะยืนขึ้นโบกมือทักทายผู้คนเวลาเดินขบวนพาเหรด จุดเด่นคือมีแท่นที่ยืนสำหรับบอดี้การ์ด 2 คนโดยมีแขนให้จับบริเวณด้านท้ายรถด้วย ในสมัยต่อมาได้มีการพัฒนารถคันนี้ให้ปลอดภัยยิ่งขึ้น โดยรถคันนี้ได้รับใช้ประธานาธิบดีสมัยต่อๆมาคือ เจอรัลด์ ฟอร์ด จิมมี คาร์เตอร์ และโรนัลด์ เรแกน ซึ่งรถคันนี้ได้ช่วยชีวิตประธานาธิบดีฟอร์ดและเรแกนจากเหตุการณ์ลอบสังหารด้วย เมื่อปลดประจำการแล้วได้นำไปตั้งในหอสมุดนิกสันในรัฐแคลิฟอร์เนีย

ลินคอร์น คอนติเนนทัล

ในปีพ.ศ. 2517 ในยุคประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ดเป็นช่วงที่บริษัทฟอร์ดเข้าร่วมกิจการรถลีมูซีน ได้มีการนำลินคอร์นคอนติเนนทัล รุ่นปีพ.ศ. 2515 โดยได้เริ่มนำมาใช้หลังจากที่ประธานาธิบดีเจอรัลด์ ฟอร์ด ถูกลอบสังหารและรอดชีวิตมาได้ โดยมีการนำมาขยายให้ยาว 22 ฟุต เสริมเกราะกันกระสุนรอบคัน ติดกระจกกันกระสุนทุกบาน มีระบบติดต่อสื่อสารและรักษาความปลอดภัยอย่างดี มีระบบดับเพลิงถ้าเกิดเหตุว่าลูกกระสุนนั้นถูกบริเวณถังน้ำมัน ระบบจะฉีดโฟมทันทีเพื่อป้องกันการระเบิด กันชนบริเวณส่วนหลังของรถนั้นสามารถดึงลงเพื่อให้บอดี้การ์ดสามารถยืนบนนั้นได้และมีแท่นให้จับ ในส่วนของเครื้องยนต์นั้นใช้เครื่องยนต์ วี 8 โดยรถคันนี้ได้รับใช้ประธานาธิบดีฟอร์ด จิมมี่ คาร์เตอร์ โรนัลด์ เรแกน และบุช(ผู้พ่อ) เมื่อปลดประจำการแล้วจึงนำไปตั้งไว้ในพิพิธภัณฑ์เฮนรี่ ฟอร์ด

ใกล้เคียง

รถยนต์ประจำตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐ รถยนต์ รถยนต์พระที่นั่ง รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ รถยนต์พระที่นั่ง ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี รถยนต์พระที่นั่ง ในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ รถยนต์พระที่นั่ง ในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ อัครราชกุมารี รถยนต์นั่งขนาดเล็ก รถยนต์นั่งขนาดกลาง รถยนต์อเนกประสงค์สมรรถนะสูงขนาดเล็ก