การให้บริการ ของ รถไฟฟ้ามหานคร_สายสีเหลือง

การดำเนินการ

รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ใช้วิธีการมอบสัมปทานทั้งโครงการให้เป็นของเอกชนรายเดียวที่เสนอขอรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลต่ำที่สุด โดยสัมปทานเป็นของ บริษัท อีสเทิร์น บางกอกโมโนเรล จำกัด (Eastern Bangkok Monorail; EBM) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนโดยกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ ซึ่งประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ราช กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เดิม) ระยะเวลาสัมปทาน 33 ปี 3 เดือน แบ่งเป็นระยะเวลาก่อสร้าง 3 ปี 3 เดือน (39 เดือน) และดำเนินการงานเดินรถไฟฟ้าและซ่อมบำรุง 30 ปี โดยแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบคือ ซิโน-ไทย เป็นผู้ดำเนินการงานโยธาทั้งหมดของโครงการ รวมถึงเป็นผู้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการก่อสร้างรถไฟฟ้าโมโนเรลจากอัลสตอม และได้จดสิทธิบัตรเป็นของบริษัทฯ ใน พ.ศ. 2562 ราช กรุ๊ป เป็นผู้สนับสนุนการติดตั้งระบบไฟฟ้าภายในโครงการ และบีทีเอส กรุ๊ป เป็นผู้มีอำนาจตัดสินใจในโครงการสูงสุด เป็นผู้ติดตั้งงานระบบที่เกี่ยวข้อง และเป็นผู้ให้บริการเดินรถไฟฟ้าแต่เพียงผู้เดียว โดยอีบีเอ็มใช้วิธีการว่าจ้างให้ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี เป็นผู้ให้บริการรถไฟฟ้าทั้งระบบตลอดอายุสัญญา ในส่วนของการพัฒนาและบริหารพื้นที่บนสถานีและป้ายโฆษณาบนสถานีและบนตัวรถ เป็นกรรมสิทธิ์ของ บริษัท วีจีไอ จำกัด (มหาชน) ตลอดอายุสัญญาสัมปทานเช่นกัน

อัตราค่าโดยสาร

อัตราค่าโดยสารของรถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง ใช้อัตราค่าโดยสารคิดตามระยะทาง และปรับปรุงอัตราค่าโดยสารตามดัชนีค่าครองชีพทุก ๆ 3 ปี นับจากวันที่ รฟม. มีประกาศบังคับใช้อัตราค่าโดยสาร โดยอัตราค่าโดยสารนับตั้งแต่วันที่เปิดให้บริการ จะมีอัตราค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 15-45 บาท คิดตามระยะทางที่เดินทางจริง และคิดอัตราค่าโดยสารจากทั้งฝั่งลาดพร้าวและฝั่งสำโรงไม่เท่ากัน กล่าวคือจากสถานีลาดพร้าวไปยังสถานีสำโรง อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 15 บาท และจากสถานีสำโรงไปยังสถานีลาดพร้าว อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 20 บาท

กรณีเดินทางจากรถไฟฟ้ามหานครสายอื่น ๆ มาเชื่อมต่อกับสายสีเหลือง ภายใต้เงื่อนไขบัตรโดยสารแบบ EMV ใบเดียวกัน ผู้โดยสารจะได้รับการยกเว้นค่าแรกเข้าระบบ และจ่ายอัตราค่าโดยสารเพิ่มตามระยะทาง ทั้งนี้ไม่รวมรถไฟฟ้าบีทีเอสที่ผู้โดยสารจากรถไฟฟ้าบีทีเอส เดินทางไปสายสีเหลือง จะยังต้องชำระค่าแรกเข้าทั้งสองสายตามปกติ

ใกล้เคียง

รถไฟฟ้าชานเมือง สายธานีรัถยา รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร สายสีส้ม รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสุขุมวิท รถไฟฟ้ามหานคร สายสีเหลือง รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม รถไฟฟ้ามหานคร สายสีชมพู รถไฟฟ้าในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

แหล่งที่มา

WikiPedia: รถไฟฟ้ามหานคร_สายสีเหลือง http://www.fs-yellow-brown-pink.com http://www.mrta-yellowline.com http://www.youtube.com/watch?v=c_uxEa4dOE4 http://www.btsgroup.co.th/th/our-business/mass-tra... http://www.mrta.co.th/Brochure/brochure_Yellow.pdf http://www.mrta.co.th/new_line/AW-MRTA_10_line_bro... http://www.thairath.co.th/news.php?section=bangkok... http://www.otp.go.th https://www.bangkokbiznews.com/business/926908 https://www.facebook.com/CRSTECONYL/?ref=br_rs