ประวัติ ของ รองเท้าคอมแบต

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 นั้นรองเท้าของทหารจะเป็นรองเท้าหนังธรรมดา (รูปร่างเหมือนรองเท้าคัทชูแบบผูกเชือกในปัจจุบัน) มีความยาวเลยตาตุ่มขึ้นมาหน่อยและเอาขากางเกงคลุมไว้ จากนั้นก็นำแถบผ้ามาพันทับให้ถึงใต้เข่าเพื่อความคล่องแคล่วในการเคลื่อนไหวและป้องกันแมลงหรือสัตว์อย่างทากเข้าไปในกางเกง รวมไปถึงหินดินทรายหลุดเข้าไปในรองเท้า แต่ว่ากว่าจะใส่แต่ละทีก็ใช้เวลาพอสมควรแถมพื้นยังค่อนข้างบาง เจอตะปูหรือหินคมๆ ไปนี่ก็มีเลือดออกกันบ้างแถมรองเท้าชนิดใส่เดินนานๆ แล้วพอถอดทีนิ้วเท้าถึงกับหมดความรู้สึก

ต่อมาเข้าสู่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 พลโท Williiam P. Yarborough แห่งกองทัพสหรัฐฯ จึงออกแบบรองเท้าที่มีชื่อว่า “จัมป์บูท” มาเพื่อใข้กับหน่วยพลร่ม 501 และทำการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในรองเท้าทหารยุคเก่าๆ เป็นรองเท้าแบบเชือกผูก หัวมนและแข็งเพื่อปกป้องนิ้วเท้าจากการกระแทกและไม่บีบนิ้วเท้าจนเกินไป มีความยาวเกือบครึ่งหน้าแข้งแต่สิ่งที่ต่างออกไปนั่นก็คือพื้นรองเท้าและส้นที่มีความหนาพอสมควร ซึ่งต่อมารองเท้ารูปแบบนี้ก็ถูกใช้ในทหารทุกหน่วยของกองทัพสหรัฐฯ และแพร่หลายไปในกองทัพเกือบทั่วโลก

ปัจจุบันนั้นรองเท้าคอมแบทก็ยังคงมีหน้าตาเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนไปจากเมื่อเกือบร้อยปีก่อน ในกองทัพของหลายๆ ประเทศที่ส่งทหารเข้าไปทำสงครามในต่างแดน ก็ได้มีการพัฒนารองเท้าคอมแบทให้ใส่สบายมากขึ้นและเหมาะกับสภาพภูมิประเทศที่ออกไปปฏิบัติการ แถมยังมีรองเท้าคอมแบทที่ถูกพัฒนามาให้สามารถลดความเสียหายในกรณีที่เหยียบกับระเบิดได้ เท่านั้นยังไม่พอ รองเท้าคอมแบทก็ยังถูกนำมาผนวกเข้ากับแฟชั่นในหลายๆ ยุคที่สื่อถึงความแมนของตัวผู้ใส่ได้

ใกล้เคียง

รองเท้านารีขาวพังงา รองเท้า รองเท้าฟุตบอล รองเท้านารีสีทอง รองเท้านารีเหลืองตรัง รองเท้านารีฝาหอย รองเท้านารีเหลืองปราจีน รองเท้านารีปีกแมลงปอ รองเท้านารีคางกบ รองเท้ากีฬา