บทบาทหน้าที่ ของ รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส

การรู้จำสถานที่

เขตสถานที่รอบฮิปโปแคมปัส (อังกฤษ: parahippocampal place area, ตัวย่อ PPA) เป็นเขตย่อยในคอร์เทกซ์รอบฮิปโปแคมปัสที่มีบทบาทสำคัญในการเข้ารหัสและรู้จำสถานที่ (เปรียบเทียบกับการเข้ารหัสและรู้จำใบหน้าหรือวัตถุอื่นๆ) งานวิจัยด้วย fMRI แสดงว่า เขตสถานที่มีระดับการทำงานสูงเมื่อมนุษย์ผู้รับการทดลองดูภาพเกี่ยวข้องกับภูมิลักษณ์ (ลักษณะของภูมิประเทศ) เช่นภาพทิวทัศน์ของภูมิประเทศ ภาพทิวทัศน์ของเมือง หรือว่าภาพของห้องต่างๆ เขตสถานที่นี้ถูกพรรณนาโดยรัสเซลล์ เอ็ปสไตน์ (ปัจจุบันอยู่ที่มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย) และแนนซี แคนวิชเชอร์ (ปัจจุบันอยู่ที่สถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์) ในปี ค.ศ. 1998[5] สนับสนุนโดยงานวิจัยที่คล้ายๆ กันของเจ็ฟฟรีย์ แอ็กกวายร์[6][7] และอลูมิต อิไช[8]

คนไข้ที่มีความเสียหายใน PPA (เช่นเนื่องจากโรคหลอดเลือดสมอง) มักมีอาการที่ไม่สามารถรู้จำภูมิลักษณ์ แม้ว่าจะสามารถรู้จำวัตถุต่างๆ ในภูมิลักษณ์นั้นได้ (เป็นต้นว่าบุคคล เฟอร์นิเจอร์ และอื่นๆ) PPA มักถูกพิจารณาว่าเป็นเขตคู่กันกับเขตใบหน้าในรอยนูนรูปกระสวย (อังกฤษ: fusiform face area, ตัวย่อ FFA) ซึ่งเป็นเขตสมองที่อยู่ใกล้ๆ กันที่ตอบสนองอย่างมีกำลังเมื่อเห็นหน้า และเป็นเขตสมองที่เชื่อว่ามีความสำคัญต่องการรู้จำใบหน้า

การเข้าใจสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับสังคม

งานวิจัยอื่นจากที่กล่าวมาแล้วเพิ่มความเป็นไปได้ว่า รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสทางสมองซีกขวามีหน้าที่ยิ่งไปกว่าการรู้จำภูมิลักษณ์ การทดลองที่ทำโดยกลุ่มนักวิจัยในรัฐแคลิฟอร์เนีย นำโดยแคเทอริน แรงกิน แสดงว่า รอยนูนอาจจะมีบทบาทสำคัญในการระบุสถานการณ์รวมๆทางสังคม (social context) ด้วย รวมทั้งการสื่อสารนอกเหนือคำพูด (ปรลักษณ์ภาษา) เมื่อมีการพูดคุยกัน[9] ตัวอย่างเช่น งานวิจัยของแรงกินเสนอว่า รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัสทางสมองซีกขวา ทำให้สามารถจับคำพูดประชดเหน็บแหนม (sarcasm) ได้

ใกล้เคียง

รอยนูนสมองกลีบขมับด้านล่าง รอยนูนหลังร่องกลาง รอยนูนแองกูลาร์ รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส รอยนูนรูปกระสวย รอยนูนสมองกลีบขมับส่วนบน รอยนูนหน้าส่วนบน รอยนูนซูปรามาร์จินัล รอยนูนสมองกลีบขมับตามขวาง รอยขูดขีดเขียน

แหล่งที่มา

WikiPedia: รอยนูนรอบฮิปโปแคมปัส http://www.scielo.br/scielo.php?script=sci_arttext... http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.nature.com/nature/journal/v392/n6676/ab... http://www.nytimes.com/2008/06/03/health/research/... http://www.temporal-lobe.com http://books.google.de/books?id=fbSwyFld8PYC&pg=PA... http://www2.umdnj.edu/~neuro/studyaid/Practical200... http://fme.biostr.washington.edu/FME/index.jsp?fma... http://braininfo.rprc.washington.edu/Scripts/hierc... http://braininfo.rprc.washington.edu/centraldirect...