ประวัติ ของ รอยัลดัตช์เชลล์

จุดเริ่มต้น

บริษัทรอยัลดัตช์ปิโตรเลียม (ดัตช์: Koninklijke Nederlandse Petroleum Maatschappij) เป็นบริษัทของเนเธอร์แลนด์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1890 เพื่อการพัฒนาแหล่งน้ำมันในจังหวัดสุมาตราเหนือของประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน[9] ส่วนบริษัท "เชลล์" ทรานสปอร์ตแอนด์เทรดดิง (อังกฤษ: Shell Transport and Trading Company) เป็นบริษัทของอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1897 โดยมาร์คัส ซามูเอล และซามูเอล ซามูเอล ผู้ต่อยอดกิจการของครอบครัวในลอนดอน[10]มาสู่ธุรกิจนำเข้าและขายหอยทะเล จึงได้ใช้ชื่อ "เชลล์" นับตั้งแต่นั้นมา[11]

จากนั้น บริษัททั้งสองได้รวมตัวกันเมื่อเดือนเมษายน ค.ศ. 1907 เพื่อแข่งขันในตลาดน้ำมันของโลก[12] โดยบริษัทฝั่งเนเธอร์แลนด์มีกรรมสิทธิ์ร้อยละ 60 ดูแลในส่วนของการขุดเจาะและการกลั่น[13] ส่วนฝั่งอังกฤษมีกรรมสิทธิ์ร้อยละ 40 ดูแลในส่วนของการจัดเก็บและขนส่ง[14]

ศตวรรษที่ 20

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เชลล์เป็นผู้ป้อนน้ำมันให้กับกองทัพนอกประเทศ กองทัพอากาศ และกองเรือของอังกฤษ[15]

เชลล์เข้าควบรวมกิจการขอบริษัทเม็กซิกันอีเกิลปิโตรเลียม ในปี ค.ศ. 1919 และก่อตั้งเป็นบริษัทเชลล์-เม็กซ์จำกัด ดำเนินธุรกิจในสหราชอาณาจักรในชื่อ "เชลล์" และ "อีเกิล" ในปี ค.ศ. 1921 จากนั้นได้ก่อตั้งบริษัทเชลล์เคมิคอลในปี ค.ศ. 1929 และเติบโตขึ้นมาเป็นบริษัทน้ำมันผู้นำของโลกในช่วงปลายทศวรรษ ผลิตน้ำมันดิบราวร้อยละ 11 ของปริมาณการผลิตทั่วโลก และมีเรือบรรทุกน้ำมันราวร้อยละ 10 ของจำนวนเรือทั่วโลก[15]

ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ทั่วโลก เชลล์-เม็กซ์ได้รวมแผนงานการตลาดในอังกฤษเข้ากับบริติชปิโตรเลียมและตั้งเป็นบริษัทเชลล์-เม็กซ์และบีพีเมื่อปี ค.ศ. 1932 ดำเนินการค้าน้ำมันด้วยกันจนถึงปี ค.ศ. 1975

ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง เยอรมนีเข้ายึดครองเนเธอร์แลนด์ บริษัทได้ย้ายอาคารสำนักงานในเนเธอร์แลนด์ไปอยู่ที่กือราเซา ส่วนสำนักงานใหญ่ในกรุงโคเปนเฮเกนถูกยึดโดยตำรวจลับเกสตาโพของนาซีเยอรมนี จึงถูกโจมตีอย่างหนักจากปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของกองทัพอังกฤษ[16]

เชลล์เป็นบริษัทแรกในเนเธอร์แลนด์ที่ซื้อและใช้คอมพิวเตอร์ในองค์กรเมื่อปี ค.ศ. 1952 คอมพิวเตอร์มีชื่อว่า แฟร์รันตี มาร์ก 1 ใช้ในหน่วยงานวิจัยที่อัมสเตอร์ดัม ต่อมาเชลล์เข้าซื้อกิจการของบิลลิตัน บริษัทเหมืองในปี ค.ศ. 1970 แต่ได้ขายออกไปในปี ค.ศ. 1994[17]

ศตวรรษที่ 21

เมื่อเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2004 บริษัทเชลล์ประกาศว่าจะสร้างระบบทุนเดียวจึงได้ตั้งบริษัทแม่ในนาม บริษัทรอยัลดัตช์เชลล์จำกัด(มหาชน)ขึ้นเพื่อถือหุ้นของบริษัท โดยเข้าตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนและอัมสเตอร์ดัม ส่วนอาคารสำนักงานใหญ่แผนกภาษียังอยู่ที่เดอะเฮก สำนักธุรการอยู่ที่ลอนดอน การรวมบริษัทแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 โดยเจ้าของเดิมได้ถือครองหุ้นตามสัดส่วนที่มีอยู่เดิม

วิวัฒนาการของโลโกบริษัท

  • 1900–1904
  • 1904–1909
  • 1909–1930
  • 1930–1971
  • 1971-ปัจจุบัน

ใกล้เคียง

รอยัลรัมเบิล รอยัลดัตช์เชลล์ รอยัลจอร์แดเนียน รอยัลสไปรท์ส รอยัลรัมเบิล (2015) รอยัลรัมเบิล (2012) รอยัลรัมเบิล (2018) รอยัลรัมเบิล (2017) รอยัลแคริบเบียนอินเตอร์เนชันแนล รอยัล คลิฟ โฮเต็ลส์ กรุ๊ป

แหล่งที่มา

WikiPedia: รอยัลดัตช์เชลล์ http://www.shell.com http://www.shell.com/global/aboutshell/who-we-are/... http://www.shell.com/global/aboutshell/who-we-are/... http://www.shell.com/global/future-energy/wind.htm... http://www.shell.com/home/content/aboutshell/at_a_... http://www.shell.com/home/content/aboutshell/who_w... http://www.shell.com/investors/pre-combination-bg-... http://aleph.nkp.cz/F/?func=find-c&local_base=aut&... http://www.milhist.dk/besattelsen/shell/shell.html http://catalogue.bnf.fr/ark:/12148/cb15535644t