รอยโรคฮิลล์–แซ็กส์
รอยโรคฮิลล์–แซ็กส์

รอยโรคฮิลล์–แซ็กส์

รอยโรคฮิลล์-แซ็กส์ (อังกฤษ: Hill–Sachs lesion) หรือ กระดูกหักแบบฮิลล์-แซ็กส์ (อังกฤษ: Hill–Sachs fracture) เป็นการยุบตัวของเปลือกกระดูก (cortical depression) ที่ส่วนหัวของกระดูกฮิวเมอรัสทางฝั่งโพสเทอโรลาเทอรอล (posterolateral) อันเกิดจากการกระทบกระเทือนของหัวของกระดูกฮิวเมอรัสเข้ากับขอบกลีนอยด์ทางฝั่งอันเทอโรอินฟีเรียร์ (anteroinferior) ในขณะเกิดการเคลื่อนของข้อไหล่ไปทางด้านหน้า รอยโรคนี้สัมพันธ์กับการเคลื่อนของไหล่ไปด้านหน้า (anterior shoulder dislocation)[1] เมื่อกระดูกฮิวเมอรัสถูกผลักออกจากโพรงกลีนอยด์ หัวของกระดูกฮิวเมอรัสซึ่งมีลักษณะค่อนข้างนุ่มจะกระทบกับขอบทางด้านหน้าของกลีนอยด์ ส่งผลให้เกิดการแบนลงทางโพสเทอโรลาเทอรอล (posterolateral) ของหัวของกระดูกฮิวเมอรัสรอยโรคฮิลล์-แซ็กส์ มีการจัดประเภทไว้อยู่สองชนิด คือแบบ "engaging" และ "non-engaging" รอยโรคแบบ engaging นิยามดิวยการที่กลีนอยด์สามารถเคลื่อนเล็กน้อยเข้าไปในหัวของกระดูกฮิวเมอรัสส่วนที่มีพยาธิสภาพขณะทำการแอบดักชั่นและหมุนออกนอก (external rotation) การเคลื่อนลักษณะดังกล่าวมีความเสี่ยงสูงกว่าที่จะเกิดการหลุดของไหล่ไปด้านหน้าซ้ำอีก และถ้าหากพบก็สามารถช่วยในการวางแผนการผ่าตัด[2]การวินิจฉัยโดยทั่วไปเริ่มต้นด้วยการทำเอ็กซ์เรย์ โดยภาพในลักษณะอันเทอโรโพสทีเรียร์ (anteroposterior; AP) ของไหล่โดยที่แขนอยู่ในท่าหมุนเข้าใน (internal rotation) ให้ภาพที่ดีที่สุด ในขณะที่ภาพในลักษณะอักซิลลารี (axillary views) กับ AP ที่แขนหมุนออกนอก (external rotation) มีแนวโน้มจะปิดบังรอยโรค อย่างไรก็ตาม ความเจ็บปวดตรงข้อไหล่ที่บาดเจ็บอาจทำให้การจัดท่าอย่างเหมาะสมเพื่อการถ่ายภาพเอ็กซ์เรย์เป็นไปได้ยาก ในงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่าความไว (sensitivity) ต่ิการตรวจจับรอยโรคฮิลล์-แซ็กส์ โดยใช้เอ็กซ์เรย์ในครั้งแรกอยู่ที่ 20% [3] ในขณะที่การวินิจฉัยโดยใช้อัลตราซาวด์พบความไวสูงถึง 96% ในประชากรกลุ่มที่มีการหลุดของไหล่ไปทางข้างหน้าแบบเกิดซ้ำ (recurrent anterior shoulder dislocation)[4]มีรายงานความชุกของรอยโรคฮิลล์-แซ็กส์อยู่ที่ 40% ถึง 90% ของผู้ป่วยที่ข้อไหล่ไม่มั่นคงลักษณะเคลื่อนไปข้างหน้า (anterior shoulder instability) ทั้งไหล่เคลื่อน (subluxation) และไหล่หลุด (dislocation)[5][6] ส่วนในรายที่เป็นข้อไหล่ไม่มั่นคงลักษณะเคลื่อนไปข้างหน้าที่เป็นซ้ำ (recurrent) อาจพบความชุกของรอยโรคฮิลล์-แซ็กส์ ได้สูงถึง 100%[7]ชื่อของรอยโรคนี้ตั้งตามแพทย์รังสีวิทยาจากซานฟรานซิสโกสองคน คือ แฮโรลด์ อาร์เทอร์ ฮิลล์ (Harold Arthur Hill, 1901–1973) และ มอริซ เดวิด แซ็กส์ (Maurice David Sachs, 1909–1987) ที่ได้ตีพิมพ์รายงานผู้ป่วยไหล่หลุด 119 กรณีที่พบพยาธิสภาพอันเกิดจากการกดอัดโดยตรงของหัวกระดูกฮิวเมอรัสในปี 1940 รอยหักนี้เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วก่อนที่รายงานดังกล่าวจะตีพิมพ์ แต่ไม่เป็นที่ทราบถึงกลไกการเกิดมาก่อน[8]

รอยโรคฮิลล์–แซ็กส์

สาขาวิชา ออร์โทพีดิกส์
ชื่ออื่น รอยแตกแบบฮิลล์–แซ็กส์

ใกล้เคียง

รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนบน รอยโรคแบงคาร์ต รอยโรคฮิลล์–แซ็กส์ รอยโรค รอยโรคของเซลล์ประสาทสั่งการส่วนล่าง รอยรักรอยบาป รอยประสาน (กายวิภาคศาสตร์) รอยประสานท้ายทอย รอยประสานคร่อมขม่อมหน้า รอยรักรอยร้าว

แหล่งที่มา

WikiPedia: รอยโรคฮิลล์–แซ็กส์ https://doi.org/10.1016%2F0749-8063(89)90138-2 https://doi.org/10.1053%2Fjars.2000.17715 https://doi.org/10.1016%2Fj.jse.2013.04.020 https://doi.org/10.7863%2Fjum.1998.17.9.557 https://doi.org/10.1177%2F036354659702500306 https://doi.org/10.1016%2Fj.arthro.2007.05.009 https://doi.org/10.1148%2F35.6.690 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2590322 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/11027751 https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23790679