ระฆังทมิฬ
ระฆังทมิฬ

ระฆังทมิฬ

ระฆังทมิฬ (อังกฤษ: Tamil Bell) เป็นระฆังบรอนซ์แตกที่ค้นพบในราวปี 1836 โดยมิชชันนารี วิลเลียม คอเลนโซ ขณะนั้นระฆังถูกใช้เป็นหม้อต้มมันฝรั่งโดยชาวเมารีใกล้กับแวงกาเรในนิวซีแลนด์เหนือระฆังมีขนาดยาว 13 cm และลึก 9 cm มีจารึกริมขอบเขียนด้วยอักษรทมิฬ ปริวรรตได้ว่า "มุไกยฺยตีณฺ วกฺกุจุ อุไฏย กปฺปลฺ อุไฏย มณิ" (Mukaiyyatīṉ vakkucu uṭaiya kappal uṭaiya maṇi") แปลว่า "ระฆังของเรือโมโหยิเดน บูกส์" ("Mohoyiden Buks ship’s bell")[1] อักษรบางตัวเป็นรูปแบบโบราณที่ไม่มีใช้แล้วในอักษรทมิฬสมัยใหม่ อักษรต่าง ๆ ที่ปรากฏเสนอว่าระฆังนี้อายุราว 500 ปี และเป็นไปได้ว่ามาจากสมัยปัณทยะตอนปลาย[2] ด้วยความแปลกของระฆังที่ปรากฏในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีประวัติการติดต่อกับทมิฬ ระฆังนี้ถูกจัดว่าเป็นโบราณวัตถุแปลกนักภารตวิทยา วีอาร์ รามจันทระ ทิชศิตาร์ ระบุไว้ใน The Origin and Spread of the Tamils ว่านักผจญทะเลชาวทมิฬโบราณอาจรู้จักออสเตรเลียและพอลีนีเซียมาตั้งแต่โบราณ[3] การค้นพบระฆังนี้นำไปสู่การตั้งข้อสงสัยถึงความเป็นไปได้ว่าอาจมีชาวทมิฬอยู่ในนิวซีแลนด์มาแต่โบราณ กระนั้น ระฆังนี้ไม่ถือเป็นหลักฐานโดยตรงถึงการติดต่อกันระหว่างชาวทมิฬกับดินแดนนิวซีแลนด์ในยุคแรก[4] มีความเป็นไปได้ว่านักผจญทะเลจากตริณโกมลีอาจเดินทางถึงนิวซีแลนด์ในสมัยที่เริ่มมีการค้ามากขึ้นระหว่างทมิฬกับรัฐวันนีและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ระฆังนี้อาจถูกทิ้งลงบนชายฝั่งโดยเรือของโปรตุเกส ที่ซึ่งก่อนหน้าได้เดินทางไปยังอินเดีย[5] นอกจากนี้ ยังมีเรือของอินเดียจำนวนหนึ่งที่ถูกจับได้โดยชาวยุโรปในยุคนั้น จึงมีความเป็นไปได้อีกแบบคือระฆังอาจมาจากเรือที่ล่มในเหตุการณ์ดังกล่าว และลอยมาติดชายฝั่งของนิวซีแลนด์[6]วิลเลียมได้มอบระฆังนี้ให้กับพิพิธภัณฑ์ดอมีเนียน (Dominion Museum) ปัจจุบันคือพิพิธภัณฑ์นิวซีแลนด์เตปาปาตองงาเรวา