ระดับขั้นที่ไม่เป็นทางการ ของ ระดับขั้นในสถาบันศาสนา

เนื่องจากในสถาบันศาสนามีผู้รู้ศาสนาที่ฐานะภาพสูงส่งทางด้านวิชาการและความประเสริฐด้านจริยธรรมในยุคของตน ก็จะมีตำแหน่งใช้เรียกพวกท่าน บ้างก็เรียกว่า อัลลามะฮ์ เชคุลอิสลาม ซึ่งในยุคซอฟะวีนั้นมีความหมายเกี่ยวข้องทางด้านการเมือง

ยุคปัจจุบัน ไม่นิยมใช้คำเรียกตำแหน่งบรรดาผู้รู้ด้านศาสนากันมากนัก นอกจากนั้นตำแหน่งเฉพาะที่เคยใช้เรียกกันในอดีตกลับเป็นคำที่ถูกนำมาใช้ทั่วไปที่เหมาะสมกับความรู้ อายุและฐานะภาพทางความรู้

เนื่องจากการใช้คำเรียกตำแหน่งนั้นบ่งชี้ถึงการให้เกียรติ บรรดาสานุศิษย์และบุคคลที่ชื่นชอบบรรดาผู้รู้เป็นพิเศษก็จะใช้คำเรียกตำแหน่งที่สูงกว่า ซึ่งก็เป็นไปได้ว่าอาจารย์ของผู้รู้ท่านนั้นจะใช้คำเรียกตำแหน่งที่มีระดับรองลงมาจากคำที่บรรดาสานุศิษย์ใช้เรียกกัน

โดยทั่วไปแล้วผู้คนในอิหร่านจะใช้ฉายานามต่างๆ เรียกบรรดานักการศาสนา เช่น ฮุจญะตุลอิสลาม  ฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสลิมีน จะเรียกมุจตะฮิดว่า อายาตุลลอฮ์ และจะเรียกบรรดามัรเญี้ยะอ์ตักลีดว่า อายาตุลลอฮ์อัลอุซมา

ษิกอตุลอิสลาม

ส่วนใหญ่แล้วตำแหน่งนี้จะใช้เรียกนักเรียนศาสนาที่เพิ่งจะเข้าเรียนด้านศาสนา ทว่าปัจจุบันตำแหน่งนี้ไม่ถูกใช้กันแล้วในอิหร่าน

ความเป็นมา

ในอดีตประมาณ 1000 ปีก่อนจะใช้คำว่า ษิเกาะตุลอิสลาม เรียกผู้รู้ที่มีบุคลิกภาพทางด้านวิชาการ และนักรายงานฮะดีษที่น่าเชื่อถือ เช่น เชคกุลัยนี เชคซอดูก และถือเป็นคำที่มีเกียรติมาก  และในอดีตก็จะใช้คำว่า ออคูนด์ เรียกบรรดาผู้รู้ที่ยิ่งใหญ่ เช่น ออคูนด์ มุลลา บาเกร มัจบิซี หรือ ออคุนด์ มุลลา มุฮัมหมัด กาซิม โครอซานี[2]

ฮุจญะตุลอิสลาม

ปัจจุบันตำแหน่งนี้โดยเฉพาะในอิหร่านจะใช้เรียกนักเรียนศาสนาที่ใส่อะมาม่า (ผ้าสะระบั่น) และเป็นคำย่อของคำว่า ฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสุลิมีน  บางคนเข้าใจว่าคำนี้ใช้เรียกนักเรียนศาสนาที่เรียนระดับบทเรียนคอริจ แต่จริงๆ แล้วคำนี้ใช้เรียกนักเรียนศาสนาที่อยู่ในระดับรองลงมาอีกด้วยเช่นกัน

นักนิติศาสตร์อิสลาม (ฟุกอฮา) บางท่านเชื่อว่าไม่มีประโยชน์อันใดที่จะค้นหาบรรทัดฐานของการใช้คำต่างๆ นี้ เช่น ฮุจญะตุลอิสลาม และษิกอตุลอิสลาม

ความเป็นมา

ในอดีตเคยใช้คำนี้เรียก อิมามมุฮัมหมัด ฆอซซาลี [3]ตามคำกล่าวของซัยยิด ฮุเซน นัศร์ และ ฮะมีด ดับบาชี ว่าฉายานามนี้น่าจะถูกนำมาใช้เรียก ซัยยิด มุฮัมหมัด บาเกร ชะฟะตี เป็นครั้งแรก  ต่อมาฉายานามนี้ก็ใช้เรียกนักการศาสนาที่มีชื่อเสียงจากเมืองกาชาน แต่หลังจากนั้นฉายานามนี้ก็ถูกลดระดับความน่าเชื่อถือลงอย่างมาก[4] สาเหตุที่ใช้ฉายานามนี้เรียก ชะฟะตี ก็เนื่องจากว่าท่านเป็นทั้งผู้พิพากษาและมุฟตี  มีผลงานทางวิชาการเกี่ยวกับกฎหมายอิสลามในยุคเร้นกาย[5] ตามคำกล่าวของท่านมุรตะฎอ อันซอรี ซึ่งเป็นลูกหลานของเชคมุรตะฎอ ว่า คำนี้เคยใช้เรียก ซัยยิดมุฮัมหมัด บาเกร ชะฟะตี และฮุจญะตุลอิสลาม อะสะดุลลอฮ์ บุรูญัรดี  แต่คำนี้ก็ค่อยถูกลดระดับในการใช้เรียกขานลงมาเรื่อยๆ[6][7]

อายะตุลลอฮ์

ตำแหน่งนี้จะใช้เรียกกลุ่มบุคคลเฉพาะที่ถึงระดับขั้นการวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจ (เป็นระดับสูงสุดของหลักสูตรการเรียนศาสนา) เป็นผู้ที่มีความสามารถในการออกคำวินิจฉัย มีทัศนะเกี่ยวกับหลักปฏิบัติศาสนกิจ อย่างไรก็ตามความอายุและความอาวุโสก็มีส่วนเกี่ยวข้องด้วยเช่นกัน  เช่นหากมุจตะฮิดที่มีอายุน้อยและอยู่ในวัยหนุ่มก็จะเรียกว่า ฮุจญะตุลอิสลาม หรือ ฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสลิมีน อีกด้านหนึ่งก็จะใช้เรียกบรรดผู้รู้ที่อาวุโสและมีความเชี่ยวชาญแต่ไม่ถึงระดับขั้นของมุจตะฮิดด้วยเช่นกัน

ความเป็นมา

ฉายานามนี้ถูกนำมาใช้ให้แก่อัลลามะฮ์ฮิลลี นักนิติศาสตร์อิสลาม (ฟะกีฮ์) ช่วง ฮ.ศ. ที่ 7 และก็เป็นคำที่ใช้เรียกท่านเท่านั้นกระทั่งศัตวรรษที่ 14  ยุคนี้ บางท่านก็ใช้ฉายานามสนี้สำหรับ ซัยยิด มุฮัมหมัดมะฮ์ดี บะห์รุลอุลูม จากนั้นต่อมาฉายานามอายาตุลลอฮ์ ก็ถูกนำมาใช้สำหรับนักนิติศาสตร์ (ฟุกอฮา) ท่านอื่น ๆ เช่น เชคมุรตะฎอ อันซอรี และ มีรซอ ชีรอซี เป็นต้น

บรรดานักประวัติศาสตร์ยังบันทึกไว้อีกว่านอกเหนือจากนี้แล้ว อายาตุลลอฮ์ ยังถูกนำมาใช้กับนักนิติศาสตร์บางท่าน เช่น ออคูนด์ โครอซอนี ต่อมาหลังจากการก่อตั้งสถาบันศาสาขึ้นที่เมืองกุม โดยท่าน เชคอับดุลกะรีม ฮาอิรี ยัซดี ก็จะใช้ฉายานามนี้เรียกบรรดาคณาจารย์ในสถาบันศาสนา[8]

อายะตุลลอฮ์ อัลอุซมา

ปัจจุบันคำนี้ใช้สำหรับมัรเญี้ยะอ์ตักลีด   ตำแหน่งนี้เริ่มขึ้นหลังจากยุคของซัยยิดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ บุรูญัรดี ก่อนหน้านี้จะเรียรกมัรเญี้ยะอ์ตักลีดว่า ฮุจญะตุลอิสลาม และฮุจญะตุลอิสลามวัลมุสลิมีน  เนื่องจากท่านซัยยิดฮุเซน ฏอบาฏอบาอีย์ บุรูญัรดีมีตำราวินิจฉัยนี้ซึ่งถือว่าเป็นตำราวินิจฉัยเล่มแรก จึงเรียกตำแหน่งนี้ให้แก่ท่าน  อายาตุลลอฮ์ อัลอุซมา เป็นตำแหน่งที่ใช้เรียกผู้ที่นอกจากจะวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจแล้วยังเป็นผู้ที่มีผู้ปฏิบัติตาม (มุก็อลลิด) เป็นจำนวนมากอีกด้วย ตามคำกล่าวของซัยยิด อับดุลกะรีม มูซะว่ี อิรดิบีลี กล่าวว่า ตำแหน่ง อายาตุลลอฮ์ ใช้เรียกผู้ทีนอกจากจะวินิจฉัยหลักปฏิบัติศาสนกิจแล้วยังเป็นผู้ที่มีความรู้สูงกว่าอีกด้วย และท่านมุบัชชิร กาชานี กล่าวว่า  หากเป็นมัรเญี้ยะอ์ตักลี หรือมีสถานภาพทางด้านนี้และเป็นมุจตะฮิดที่มีคุณสมบัติครบถ้วนก็จะเรียกว่า อายาตุลลอฮ์อัลอุซมา" ท่านฮุเซน มุซอฮิรี ประธานสถาบันศาสนาแห่งเมืองอิศฟาฮาน ถือว่า อายาตุลลอฮ์อัลอุซมา คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ด้านศาสนา ส่วนอายาตุลลอฮ์ คือ ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญรองลงมา

ใกล้เคียง

ระดับน้ำสูงขึ้นโดยพายุ ระดับขั้นในสถาบันศาสนา ระดับน้ำทะเล ระดับดาว ศรีระวงศ์ ระดับอุณหภูมิของนิวตรอน ระดับเชาวน์ปัญญา ระดับความพร้อมทางเทคโนโลยี ระดับขั้น ระดับเสียง (ดนตรี) ระดับชั้นนินจา นินจาคาถาโอ้โฮเฮะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ระดับขั้นในสถาบันศาสนา http://www.khabaronline.ir/detail/155446/culture/r... http://shia-online.ir/article.asp?vid=19&id=5482&c... http://noorportal.net/news/ShowNews.aspx?ID=14374 http://www.iranculture.org/fa/simpleView.aspx?prov... http://www.iranculture.org/fa/simpleView.aspx?prov... http://porseman.org/q/show.aspx?id=137162 //fa.wikipedia.org/wiki/%D8%B4%D9%88%D8%B1%D8%A7%D... //fa.wikipedia.org/wiki/%D9%86%D8%B8%D8%A7%D9%85_%...