สัญกรณ์ตำแหน่ง ของ ระบบเลขฮินดู–อาหรับ

ระบบเลขฮินดู–อาหรับถูกออกแบบเพื่อแสดงค่าประจำของตัวเลขแต่ละตัวและค่าหลักในตำแหน่งที่ตัวเลขนั้นปรากฏ ต่อมามีการใช้สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ (เดิมทำเป็นสัญลักษณ์เหนือตัวเลข แต่ปัจจุบันใช้เครื่องหมายมหัพภาค (.) หรือจุลภาค (,)) นอกจากนี้ยังมีสัญลักษณ์สำหรับทศนิยมซ้ำ ซึ่งสมัยใหม่นิยมขีดแนวนอนเหนือกลุ่มตัวเลขที่ซ้ำกัน ดังนั้นในระบบเลขนี้จึงใช้สัญลักษณ์เพียง 13 ตัว (ตัวเลข 10 ตัว, สัญลักษณ์แบ่งเลขฐานสิบ, ขีดแนวนอนและเครื่องหมายลบสำหรับจำนวนลบ)

แม้ว่าระบบเลขฮินดู–อาหรับจะใช้ร่วมกับอักษรไร้สระ ซึ่งทั่วไปเขียนจากขวาไปซ้าย แต่ตัวเลขที่มีค่ามากที่สุดจะอยู่ที่ด้านซ้าย ดังนั้นจึงเป็นการอ่านจากซ้ายไปขวา แต่กระนั้นไม่จำเป็นต้องอ่านตัวเลขจากค่ามากไปค่าน้อยเสมอไป[lower-alpha 3] การเขียนลักษณะนี้พบได้ในเอกสารที่ใช้ระบบการเขียนจากซ้าย–ขวาผสมกับขวา–ซ้าย

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ระบบเลขฮินดู–อาหรับ https://books.google.com/books?id=zXwQGo8jyHUC&dq=... https://books.google.com/books?id=3Sfrxde0CXIC&pg=... https://books.google.com/books?id=vfSutjEIZXkC&pg=... http://www.ibiblio.org/units/roman.html https://www.wordproject.org/bibles/ti/17/1.htm http://www-history.mcs.st-andrews.ac.uk/HistTopics... https://mathshistory.st-andrews.ac.uk/HistTopics/Z... https://www.glam.ox.ac.uk/article/carbon-dating-fi... https://archive.org/details/algebrawitharith00brah... https://archive.org/details/manofnumbersfibo0000de...