การลงคะแนน ของ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนสมาชิกคู่

ตัวอย่างรูปแบบของบัตรลงคะแนนในระบบ DMP

ในระบบ DMP ผู้ลงคะแนนจะได้รับบัตรลงคะแนนที่แตกต่างกันไปในแต่ละเขต โดยให้ผู้ลงคะแนนเลือกตัวเลือกต่างๆ ที่ระบุไว้ โดยแต่ละตัวเลือกนั้นจะต้องอยู่ในสามขอบเขตดังนี้

  • เลือกผู้สมัครเป็นคู่ (ผู้สมัครหลักและผู้สมัครรอง) ซึ่งสังกัดพรรคการเมืองเดียวกัน
  • เลือกผู้สมัครเพียงคนเดียวที่สังกัดพรรคการเมือง
  • เลือกผู้สมัครที่ไม่สังกัดพรรคการเมือง (อิสระ)

คล้ายคลึงกับกรณีของระบบ FPTP ผู้ลงคะแนนจะต้องเลือกกาเพียงหนึ่งแบบเท่านั้น โดยลักษณะเฉพาะของบัตรลงคะแนนของ DMP นี้คือพรรคการเมืองสามารถส่งผู้สมัครเป็นคู่ได้ หากพรรคการเมืองใดส่งผู้สมัครเป็นคู่ คะแนนเสียงที่ออกโดยผู้ลงคะแนนนั้นจะถือว่าลงคะแนนให้กับผู้สมัครหลักก่อน โดยผู้สมัครรอง (ลำดับที่สอง) จะได้รับพิจารณาก็ต่อเมื่อผู้สมัครหลักสามารถชนะที่นั่งแรกในเขตนั้นได้ ในกรณีนี้ คะแนนเสียงที่พรรคการเมืองนี้ได้รับในเขตนั้นจะโอนให้แก่ผู้สมัครรองเป็นมูลค่าครึ่งหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการเพิ่มโอกาสให้ผู้สมัครรองได้รับเลือกเช่นกัน แต่น้ำหนักเพียงครึ่งหนึ่งของคะแนนเสียงพรรคที่โอนมานั้นทำให้ยากที่พรรคการเมืองเดียวจะเอาชนะได้ทั้งสองที่นั่งพร้อมๆ กัน ในกรณีทั่วไปผู้สมัครหลักของสองพรรคการเมืองจะได้รับเลือกตั้งไป

คะแนนเสียงหนึ่งที่ลงให้กับผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองรายใดรายหนึ่ง (หรือทั้งคู่นั้น) สามารถส่งผลต่อการเลือกตั้งได้ในหลายมิติ ได้แก่:

  • ประการแรกคือการช่วยให้ผู้สมัครหลักของพรรคการเมืองที่ผู้ลงคะแนนชอบชนะการเลือกตั้งที่นั่งแรกในเขตไป หากพรรคการเมืองที่ผู้ลงคะแนนเลือกได้คะแนนนำในเขต (มีจำนวนคะแนนเสียงมากกว่าพรรคการเมืองอื่น หรือมากกว่าผู้สมัครอิสระ) ผู้สมัครหลักของพรรคการเมืองนั้นจะชนะที่นั่งแรก ในกรณีนี้ คะแนนนี้จะมีส่วนช่วยให้ผู้สมัครรอง (ถ้ามีการส่งด้วย) ของพรรคการเมืองนี้ได้รับเลือกที่นั่งที่สองในเขตนั้นได้
  • หากพรรคการเมืองที่ผู้ลงคะแนนเลือกไม่ชนะที่นั่งแรกในเขตนั้น คะแนนเสียงที่ผู้ลงคะแนนออกเสียงไปจะช่วยให้ผู้สมัครหลักของพรรคการเมืองนี้ได้รับที่นั่งที่สองของเขต
  • คะแนนเสียงที่ออกให้แกพรรคการเมืองใดๆ จะมีส่วนช่วยเพิ่มส่วนแบ่งในคะแนนนิยมพรรคของทั้งภูมิภาค ซึ่งจะถูกนำเอาไปคำนวนจำนวนที่นั่งที่แต่ละพรรคการเมืองพึงได้รับในภูมิภาคนั้นๆ

คะแนนเสียงหนึ่งที่ลงให้แก่ผู้สมัครอิสระจะช่วยให้ผู้สมัครรายนี้ได้ที่นั่งในเขตนั้นๆ โดยผู้สมัครอิสระรายใดที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในเขตนั้น (คะแนนนำ) จะได้รับที่นั่งแรกไปซึ่งเหมือนกันกับกรณีผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมือง แต่แตกต่างกันตรงที่นั่งที่สองซึ่งผู้สมัครอิสระจะสามารถชนะที่นั่งที่สองได้หากผู้สมัครรายนั้นได้คะแนนนำเป็นลำดับที่สองในเขตเลือกตั้ง[1]:32 ในทางตรงกันข้าม ผู้สมัครที่สังกัดพรรคการเมืองที่ได้คะแนนในเขตเป็นอันดับสอง สาม สี่ หรือห้า อาจชนะหรืออาจไม่ชนะที่นั่งสองก็ได้ โดยขึ้นอยู่กับคะแนนเสียงส่วนของผู้สมัครรายนั้น และคะแนนเสียงของพรรคจากคะแนนนิยมจากทั้งภูมิภาค

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนสมาชิกคู่ http://www.cbc.ca/news/canada/british-columbia/pr-... http://www.cbc.ca/news/canada/prince-edward-island... http://www.cbc.ca/news/canada/prince-edward-island... http://www.cbc.ca/news/canada/prince-edward-island... http://www.cbc.ca/news/canada/prince-edward-island... http://www.ctvnews.ca/politics/p-e-i-sets-voting-r... http://www.electionspei.ca/plebisciteresults http://www.theguardian.pe.ca/news/local/electoral-... http://www.theguardian.pe.ca/opinion/editorials/ed... https://elections.bc.ca/news/2018-referendum-on-el...