ประวัติ ของ ระบบเสียงข้างมากแบบเพิ่มที่นั่ง

เบนิโต มุสโสลินี เป็นนักการเมืองคนแรกที่ออกกฎหมายเพื่อเพิ่มที่นั่งอัตโนมัติให้แก่พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้ง และทำให้เขาได้ชัยชนะขาดลอยในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 1924 ต่อมาได้นำระบบที่ปรับปรุงแล้วมาใช้ในการเลือกตั้งปีค.ศ. 1953 ซึ่งทำให้พรรคร่วมรัฐบาลซึ่งได้คะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาดได้รับที่นั่งจำนวนสองในสามของรัฐสภา ซึ่งผลการเลือกตั้งของฝั่งพรรคพันธมิตรซึ่งนำโดยพรรคคริสเตียนประชาธิปไตยได้รับที่นั่งไม่ถึงเกณฑ์คะแนนเสียงข้างมาก และต่อมาระบบเลือกตั้งนี้ได้ถูกยกเลิกก่อนการเลือกตั้งในปีค.ศ. 1958 ระบบเสียงข้างมากแบบเพิ่มที่นั่งได้ถูกนำมาใช้ในการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นของอิตาลีในช่วงปีค.ศ. 1950 และได้นำกลับมาใช้อีกครั้งในปีค.ศ. 1993 และในระดับชาติเมื่อปีค.ศ. 2006 เพื่อทดแทนระบบผสมของสกอร์โปโร ในการเลือกตั้งทั่วไป ค.ศ. 2013 พรรคประชาธิปไตยชนะการเลือกตั้งถึง 292 ที่นั่งในสภาผู้แทนราษฎรโดยได้คะแนนรวม 8,644,523 คะแนนเสียง ซึ่งเฉลี่ยเป็น 29,604 ต่อหนึ่งที่นั่ง ในขณะที่พรรคสำคัญฝ่ายค้าน คือ พรรค PdL ได้เพียง 97 ที่นั่ง โดยได้รับถึง 7,332,972 คะแนนเสียง ซึ่งเฉลี่ยนเป็น 75,597 ต่อหนึ่งที่นั่ง ระบบนี้ใช้ในการเลือกตั้งในอิตาลีตั้งแต่ค.ศ. 2006 จนถึงค.ศ. 2013 ซึ่งใช้การเพิ่มจำนวนที่นั่งแจ็กพอตให้โดยไม่มีเกณฑ์จำนวนคะแนนเสียงที่พรรคใหญ่ที่สุดพึงจะได้รับ ซึ่งถูกวินิจฉัยว่าผิดรัฐธรรมนูญโดยศาลรัฐธรรมนูญ[1][2] จึงมีความพยายามเปลี่ยนแปลงระบบการลงคะแนนรวมถึงระบบรันออฟ (ระหว่างสองพรรคใหญ่) ซึ่งก็ถูกศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเช่นเดิม จนกระทั่งเปลี่ยนมาใช้ระบบการลงคะแนนแบบคู่ขนาน โดยใช้ในการเลือกตั้งปีค.ศ. 2018 เป็นครั้งแรก[3]

ระบบเสียงข้างมากแบบเพิ่มที่นั่งถูกนำมาใช้โดยหลายประเทศในยุโรป ได้แก่ กรีซ ในปีค.ศ.​ 2004 และซานมารีโนในระดับชาติ และฝรั่งเศสในการเลือกตั้งระดับภูมิภาคและระดับเทศบาล

ใกล้เคียง

ระบบเบรกป้องกันล้อล็อกสำหรับรถจักรยานยนต์ ระบบเลขฮินดู–อาหรับ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนสมาชิกคู่ ระบบเศรษฐกิจ ระบบเกมโปเกมอน ระบบเวลาทำงาน 996 ระบบเลข ระบบเตือนภัยแอมเบอร์ ระบบเกษตรกรรมพืชเดี่ยว ระบบเสียง