การพิสูจน์ความถูกต้อง ของ ระยะทางเลเวนชเตย์น

เราสามารถแปลงชุดอักขระเริ่มต้น s[1..i] เป็นชุดอักขระเปรียบเทียบ t[1..j] โดยใช้จำนวนครั้งในการกระทำคือ d[i,j] ซึ่งเป็นจำนวนครั้งของการกระทำที่น้อยที่สุด สามารถแสดงการพิสูจน์ความถูกต้องได้ดังนี้

  • เราจะต้องเริ่มจากแถว และ สดมภ์ ที่ 0 เพราะว่าชุดอักขระ s[1..i] สามารถแปลงเป็นชุดอักขระว่างเปล่า t[1..0] ได้ โดยการตัดอักขระของชุดอักขระ s[1..i] ออกทั้งหมด i ตัว และในทำนองเดียวกัน เราก็สามารถแปลงจากชุดอักขระว่างเปล่า s[1..0] เป็นชุดอักขระ t[1..j] ได้ โดยเพิ่มอักขระจำนวน j ตัว
  • ถ้า s[i] = t[j] และเราสามารถแปลงชุดอักขระ s[1..i-1] เป็นชุดอักขระ t[1..j-1] ใน k ครั้งแล้ว เราก็สามารถทำในทำนองเดียวกันกับ s[1..i] ได้ใน k ครั้ง โดยสามารถละเลยอักขระตัวสุดท้ายไปได้
  • มิฉะนั้นแล้ว การแปลงชุดอักขระโดยมีค่าการกระทำน้อยที่สุดสามารถดำเนินการได้ด้วยสามวิธีดังนี้
    • ถ้าเราสามารถแปลงชุดอักขระ s[1..i] เป็นชุดอักขระ t[1..j-1] ใน k ครั้งแล้ว เราก็สามารถเพิ่มอักขระ t[j] ได้ เพื่อที่จะให้ได้ข้อความ t[1..j] โดยใช้การกระทำ k+1 ครั้ง (การแทรก)
    • ถ้าเราสามารถแปลงชุดอักขระ s[1..i-1] เป็นชุดอักขระt[1..j] ใน k ครั้งแล้ว เราก็สามารถลด s[i] ออก แล้วกระทำการแปลงข้อความตามเดิม จำนวนครั้งจะเท่ากับ k+1 ครั้ง (การตัดออก)
    • ถ้าเราสามารถแปลงชุดอักขระ s[1..i-1] เป็นชุดอักขระ t[1..j-1] ใน k ครั้ง เราก็สามารถทำในทำนองเดียวกันกับชุดอักขระ s[1..i] และเปลี่ยนอักขระต้นแบบ s[i] ไปเป็นอักขระ t[j] ได้ จำนวนครั้งจะเท่ากับ k+1 ครั้ง (การแทนที่)
  • จำนวนการกระทำที่ต้องการแปลงจากชุดอักขระ s[1..n] เป็นชุดอักขระ t[1..m] คือจำนวนครั้งที่ใช้ในการแปลงอักขระทั้งหมดใน s ไปเป็นอักขระทั้งหมดใน t ซึ่งจะปรากฏในตำแหน่ง d[n, m]

ใกล้เคียง

ระยะทางแฮมมิง ระยะทาง ระยะทางเลเวนชเตย์น ระยะทางจาโร-วิงเคลอร์ ระยะทางพิสูจน์รัก (ภาพยนตร์) ระยะทางพิสูจน์รัก (นวนิยาย) ระยะทางแบบยุคลิด ระยะทดลองทางคลินิก ระยะทางโคจร ระยะฟัก