ประวัติเริ่มต้น ของ รังสีวิทยา

ผู้ที่ค้นพบเอ็กซเรย์เป็นคนแรก คือ นักฟิสิกซ์ชาวเยอรมัน ชื่อ วิลเฮม คอนราด เรินท์เก้น (Wilhelm Conrad Roentgen) การพบนี้เกิดขึ้นในตอนเย็น ของวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ.1895 เรินต์เกนพบว่า รังสีเอกซ์นี้สามารถฉายทะลุวัตถุทึบแสง เช่น ร่างกายมนุษย์ได้ เขาจึงลองเอารังสีเอกซ์มาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยฉายรังสีเอกซ์ผ่านมือคน เนื้อ เอ็น และกระดูกในมือคน ก็จะกั้นเอารังสีไว้ บางส่วนปล่อยให้ผ่านไปบางส่วน ส่วนเนื้อและเอ็นกั้นรังสีได้น้อยก็มีรังสีผ่านออกมามาก กระดูกกั้นรังสีได้มาก ก็มีรังสีเหลือผ่านออกมาน้อย รังสีทั้งหมดที่ผ่านมือออกมาจึงมีความเข้มต่อพื้นที่ไม่เท่ากัน ทำให้เกิดเป็นรูปแบบ (pattern) ของความเข้มของรังสีในรูปมือขึ้น เมื่อเอารังสีที่มีรูปแบบแล้วนี้ไปกระทบวัสดุที่ไวต่อแสง เช่น ฟิล์มถ่ายรูปหรือกระดาษอัดรูป (photographic material)แล้วนำไปล้างด้วยน้ำยาล้างรูป ก็จะเกิดภาพของมือที่มีกระดูกซ้อนอยู่ในเนื้อด้วย แพทย์จึงสามารถบอกได้ว่ากระดูกข้างในมือนั้นหักหรือไม่ โดยจำเป็นต้องผ่าเอาเนื้อที่หุ้มกระดูกออกมาดู