รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2492

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๔๙๒[1] เป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ 5 ของไทย โดยหากเทียบรัฐธรรมนูญสี่ฉบับก่อนหน้าถือได้ว่าเป็นฉบับที่ดีที่สุด จัดร่างโดยสภาผู้แทนราษฎร และประกาศและบังคับใช้เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2492 และถูกยกเลิกเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 โดยจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ทำรัฐประหารตนเอง รวมอายุการประกาศและบังคับใช้ 2 ปี เศษรัฐธรรมนูญฉบับนี้ อำนาจนิติบัญญัติ ให้มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนวุฒิสภาโดยกำหนดให้มีสมาชิกในสภานี้ทั้งสิ้น 100 คน[2]รัฐธรรมนูญฉบับนี้ มีทั้งหมด 188 มาตรา โดยแยกเป็น 11 หมวด ดังนี้[3] หมวดที่ 1 บททั่วไป หมวดที่ 2 พระมหากษัตริย์ หมวดที่ 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย หมวดที่ 4 หน้าที่ของชนชาวไทย หมวดที่ 5 แนวนโยบายแห่งรัฐ หมวดที่ 6 อำนาจนิติบัญญัติ หมวดที่ 7 อำนาจบริหาร หมวดที่ 8 อำนาจตุลาการ หมวดที่ 9 ตุลาการรัฐธรรมนูญ หมวดที่ 10 การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ และหมวดที่ 11 บทสุดท้าย และบทเฉพาะกาล

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2492

ผู้ยกร่าง สภาผู้แทนราษฎร
วันลงนาม 9 พฤศจิกายน 2490
วันเริ่มใช้ 23 มีนาคม 2492
วันประกาศ 23 มีนาคม 2492
(ราชกิจจานุเบกษา ฉะบับพิเศษ เล่ม ๖๖/ตอนที่ ๑๗/หน้า ๑-๘๐ มีนาคม ๒๔๙๒)
ผู้ลงนาม ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
(รังสิต กรมขุนชัยนาทนเรนทร
อลงกฏ
ธานีนิวัต
พระยามานวราชเสวี
อดุลเดชจรัส​)
ท้องที่ใช้ ราชอาณาจักรไทย
ผู้ลงนามรับรอง ศรีธรรมาธิเบศ
(ประธานวุฒิสภา)
ผู้ตรา สภาผู้แทนราษฎร
วันลงนามรับรอง 25 ธันวาคม 2491
ชื่อร่าง ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ใกล้เคียง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญสหรัฐ รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รัฐธรรมนูญเมจิ