การประกาศใช้ ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550

วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการในร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 โดยมีนายนรนิติ เศรษฐบุตร ประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญ (ส.ส.ร.) นายพิทูร พุ่มหิรัญ เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ ส.ส.ร. นางสุวิมล ภูมิสิงหราช เลขาธิการวุฒิสภา ปฏิบัติหน้าที่เลขาธิการ สนช. พร้อมด้วยข้าราชการระดับสูงของรัฐสภาเข้าร่วมในพิธี จากนั้นนายมีชัยพร้อมคณะเดินทางไปยังพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เพื่อเข้าเฝ้าฯ ทูลเกล้าฯ ถวายร่าง รธน. เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชมเชย ส.ส.ร.ว่าอุตสาหะร่าง รธน.จนเสร็จ เพราะยากมาก จากนั้นจึงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เพื่อใช้บังคับเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศต่อไป ซึ่งสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.) ได้เตรียมการไว้[22]

มีรายงานว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ได้จัดทำไว้ทั้งสิ้น 3 เล่ม[22] หลังจากทรงลงพระปรมาภิไธยแล้วจะนำไปเก็บไว้ 3 แห่งด้วยกัน ฉบับที่ทำด้วยทองคำแท้จะเก็บไว้ที่สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ส่วนอีก 2 เล่ม ที่ทำด้วยเงินกะไหล่ทอง เก็บไว้ที่สำนักราชเลขาธิการ และสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี (สลค.)

ขั้นตอนสำคัญที่เกิดภายหลังทรงลงพระปรมาภิไธย คือ การประทับพระราชลัญจกร 4 องค์[22] ประกอบด้วย พระราชลัญจกรมหาโองการ พระราชลัญจกรไอยราพต พระราชลัญจกรหงสพิมาน และพระราชลัญจกรพระครุฑพ่าห์ รัฐธรรมนูญแต่ละฉบับมีจำนวน 592 หน้า 2,368 บรรทัด มีน้ำหนัก 7 กิโลกรัม และปกมีตราพระครุฑพ่าห์ติด พร้อมลงรักปิดทองทั้ง 6 ด้านตามโบราณราชประเพณี

พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ก่อนการเลือกตั้งทั่วไปซึ่งมีขึ้นในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 ทางคณะกรรมาธิการ (กมธ.) วิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ อันประกอบด้วย ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว., ร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง และร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ประชุมนัดแรกเพื่อเลือกประธาน[22] ผลปรากฏว่ามีการเสนอชื่อ น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ สมาชิก สนช. และนายวิษณุ เครืองาม แต่นายวิษณุขอถอนตัว

ต่อมาที่ประชุมมีมติให้นายวิษณุ เป็นรองประธาน กมธ.คนที่ 1 นายสุจิต บุญบงการ เป็นรองประธานคนที่ 2 และเป็นประธานอนุ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วย กกต. นายยุวรัตน์ กมลเวชช เป็นรองประธาน คนที่ 3 และเป็นประธานอนุ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และการได้มาซึ่ง ส.ว. ส่วนนายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ เป็นรองประธาน คนที่ 4 และเป็นประธานอนุ กมธ.พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยพรรคการเมือง โดยนางกาญจนารัตน์ ลีวิโรจน์ เป็นเลขานุการ กมธ. นายเจษฎ์ โทณะวณิก เป็นรองเลขาฯ นายประพันธ์ คูณมี นายคำนูณ สิทธิสมาน และนายธงทอง จันทรางศุ เป็นโฆษก กมธ.

ใกล้เคียง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญสหรัฐ รัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรเบลเยียม รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รัฐธรรมนูญเมจิ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย_พุทธศักราช_2550 http://www.bangkokpost.com/News/28Sep2006_news10.p... http://www.bangkokpost.com/constitution2007/BkpCon... http://www.csmonitor.com/2007/0427/p06s01-woap.htm... http://breakingnews.nationchannel.com/read.php?lan... http://nationmultimedia.com/2006/10/02/politics/po... http://nationmultimedia.com/2006/12/17/headlines/h... http://nationmultimedia.com/2007/01/15/headlines/h... http://nationmultimedia.com/2007/04/27/politics/po... http://nationmultimedia.com/2007/06/21/headlines/h... http://news.sanook.com/politic/politic_144675.php