สาเหตุ ของ รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2500

ดูเพิ่มเติมที่: คณะรัฐมนตรีไทย คณะที่ 26

สืบเนื่องจากความแตกแยกกันระหว่างกลุ่มทหาร ที่นำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้บัญชาการทหารบกและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กับ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยในขณะนั้น ที่ค้ำอำนาจของรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ต่อมาท่านได้ทำการชายตัว

ประชาชนไม่ยอมรับผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งที่ปรากฏความไม่สุจริตค่อนข้างชัดเจน นับตั้งแต่มีการใช้เครื่องบินโปรยใบปลิวโจมตีฝ่ายตรงข้าม ข่มขู่ชาวบ้าน ประชาชน ให้เลือกแต่ผู้สมัครของพรรคเสรีมนังคศิลา คือ พรรครัฐบาล หรือการเวียนเทียนมาลงคะแนน การสลับหีบบัตร การแอบหย่อนบัตรคะแนนเถื่อนเข้าไปในหีบ และต้องใช้เวลานับคะแนน 7 วัน ด้วยกัน ผลการเลือกตั้ง พรรคเสรีมนังคศิลาของจอมพล ป. พิบูลสงคราม ได้เสียงข้างมาก ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ได้ 30 ที่นั่ง

วันที่ 2 มีนาคม นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและประชาชนร่วมกันเดินขบวนประท้วงการเลือกตั้ง มีการลดธงเหลือแค่ครึ่งเสาเป็นการไว้อาลัย และเรียกร้องให้ พล.อ.ท.มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ ซึ่งเป็น ส.ส.สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา ลาออกจากตำแหน่งอธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จอมพล ป. นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในวันที่ 2 มีนาคม พ.ศ. 2500[2] และแต่งตั้งให้ จอมพลสฤษดิ์ เป็นผู้ปราบปรามการชุมนุม แต่เมื่อฝูงชนเดินทางมาถึงสะพานมัฆวานรังสรรค์แล้ว จอมพลสฤษดิ์กลับเป็นผู้นำเดินขบวน พาฝูงชนข้ามสะพานมัฆวานรังสรรค์ โดยกล่าวว่า ทหารจะไม่มีวันทำร้ายประชาชน และเมื่อถึงหน้าทำเนียบรัฐบาลได้เป็นผู้เปิดประตูทำเนียบ นำพาประชาชนเข้าพบ จอมพล ป. พิบูลสงคราม จนกระทั่งจอมพล ป. ต้องลงมาเจรจาด้วยตนเองที่บันไดหน้าตึกไทยคู่ฟ้า เมื่อได้เจรจากันแล้ว จึงได้ข้อสรุปว่า จอมพล ป. ยอมรับว่าการเลือกตั้งครั้งนี้ไม่ชอบมาพากลและจะจัดการเลือกตั้งขึ้นใหม่ จึงได้พูดผ่านโทรโข่งขอให้ผู้ชุมนุมสลายตัวไปอย่างสงบ และขอให้อัญเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสาตามปกติ ซึ่งก็ได้เป็นไปตามอย่างที่ จอมพลสฤษดิ์ ร้องขอทุกประการ ซึ่งการเดินขบวนประท้วงครั้งนี้นับเป็นการชุมนุมทางการเมืองครั้งแรกของชาวไทยนับตั้งแต่การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475[3]

ฝ่ายจอมพลสฤษดิ์ ที่ได้มีท่าทีเช่นนี้ ได้สร้างความนิยมขึ้นอย่างมากในหมู่ประชาชน แต่ก็ถือว่าเป็นการกระทำที่ท้าทายอำนาจจอมพล ป. เพราะหลังจากนี้ จอมพลสฤษดิ์ยังได้ประกาศด้วยตนเองผ่านทางวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยเป็นนัยทิ้งท้ายโดยกล่าวถึงผู้ชุมนุมที่ผ่านมาว่า

แล้วพบกันใหม่ เมื่อชาติต้องการ

จึงทำให้มีความแตกแยกและหวาดระแวงกันเองระหว่าง ฝ่ายทหารที่สนับสนุนจอมพลสฤษดิ์ และฝ่ายทหารและตำรวจที่สนับสนุนจอมพล ป.

สภาพโดยทั่วไปแล้วในเวลานั้น บ้านเมืองตกอยู่ในภาวะของความวุ่นวาย นักเลง อันธพาล อาละวาดป่วนเมืองราวกับไม่เกรงกลัวกฎหมาย ทั้งนี้ เป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปว่า ที่เหล่าอันธพาลสามารถก่ออาชญากรรมได้ตามใจเพราะมีตำรวจ โดย พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจ สนับสนุนอยู่[4] และจากนั้นมา ทหารและตำรวจก็เกิดความแตกแยกกัน โดยไฮปาร์คโจมตีกันบนลังสบู่ที่ท้องสนามหลวงสลับกันวันต่อวัน ในบางครั้ง ทหารชั้นประทวนก็ยกพวกล้อมสถานีตำรวจจนเกิดเหตุทำร้ายร่างกายตำรวจบ้าง แต่ก็ไม่เกิดเหตุรุนแรงไปกว่านั้น

13 มีนาคม รัฐบาลประกาศยกเลิกสถานการณ์ฉุกเฉิน[5]

14 กรกฎาคม ซึ่งเป็นวันครบรอบวันเกิด 60 ปี ของจอมพล ป. พิบูลสงคราม จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ เข้าอวยพรวันเกิดและนำลูกสุนัขตัวหนึ่งมอบให้เป็นของขวัญ พร้อมกล่าวว่าจะจงรักภักดีต่อจอมพล ป. เช่นเดียวกับสุนัขตัวนี้ เพื่อเป็นการสยบความขัดแย้ง[6]

ในวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2500 รัฐมนตรีดังต่อไปนี้ได้ขอกราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่ง จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลตรี ศิริ สิริโยธิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์ พลโท ถนอม กิตติขจร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พลโท ประภาส จารุเสถียร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย พลอากาศโท เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ให้ จอมพล แปลก พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสหกรณ์[7]

15 กันยายน จอมพล ป. หลังกลับจากเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชด้วยสีหน้าไม่สู้ดีเมื่อมีสื่อมวลชน โดยนาย ทองใบ ทองเปาด์ ได้ถามว่ามีความขัดแย้งกับพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจริงหรือไม่ เพราะก่อนหน้านั้นในงานฉลองกึ่งพุทธกาล และงานวิสาขบูชา ที่ทางรัฐบาลได้จัดเป็นงานครั้งใหญ่ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มิได้เสด็จมา จึงทำให้มีการวิจารณ์ไปทั่วว่า รัฐบาลมีความขัดแย้งกับทางพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว แต่ทางจอมพล ป. ปฏิเสธ และได้รีบขึ้นรถยนต์จากไป ต่อมา จอมพลสฤษดิ์และคณะนายทหารในบังคับบัญชา มีแถลงการณ์ขอให้จอมพล ป. และ พล.ต.อ.เผ่า ศรียานนท์ ลาออก ซึ่งหลังจากแถลงการณ์อันนี้ออกมาแล้ว มีรายงานที่เชื่อถือได้ว่า สมาชิกพรรคเสรีมนังคศิลาเสนอให้จอมพล ป. จัดการอย่างเด็ดขาดกับ จอมพลสฤษดิ์ และกลุ่มทหารในวันพรุ่งนี้ เท่ากับเป็นการบีบบังคับให้ จอมพลสฤษดิ์ ตัดสินใจชิงรัฐประหารแน่นอน[3] [8]

รูปปั้นนูนต่ำชีวประวัติของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตช์ ณ อนุสาวรีย์จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัตช์ ที่จังหวัดขอนแก่น แสดงภาพเหตุการณ์รัฐประหารใน พ.ศ. 2500

ใกล้เคียง

รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2549 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 รัฐประหารในประเทศไทย รัฐประหาร รัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2490 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2519 รัฐประหารในอิหร่าน พ.ศ. 2496 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2534 รัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2500

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐประหารในประเทศไทย_พ.ศ._2500 http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country... http://www.thairath.co.th/content/322660 http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2500/A/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2501/A/...