รัฐพิหาร
รัฐพิหาร

รัฐพิหาร

พิหาร (ละติน: Bihar; /bˈhɑːr/; แม่แบบ:IPA-hi) เป็นรัฐหนึ่งในทางตะวันออกของประเทศอินเดีย มีประชากรมากที่สุดเป็นลำดับที่สาม และมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดเป็นลำดับที่สิบสองของประเทศอินเดีย ด้วยพื้นที่ราว94,163 กม² (36,357 ไมล์²) รัฐพิหารมีอาณาเขตติดต่อกับรัฐอุตตรประเทศในทางตะวันตก, ประเทศเนปาลในทางเหนือ, ส่วนบนของรัฐเบงกอลตะวันตกทางะวันออก, และรัฐฌารขัณฑ์ทางตอนใต้ ที่ราบพิหารมีแม่น้ำคงคาซึ่งไหลจากตะวันตกไปตะวันออกไหลผ่าน[12] ภูมิภาคทางวัฒนธรรมหลัก ๆ สามแห่งที่ประกอบอยู่ในรัฐพิหารได้แก่ มคธ (Magadh), มิถิลา (Mithila) และ โภชปุรี (Bhojpur)[13]เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2000 พิหารตอนใต้ได้จัดตั้งเป็นรัฐใหม่ชื่อว่ารัฐฌารขัณฑ์[14] ประชากรเพียง 11.3% ของพิหารอาศัยในเขตเมือง (urban areas) ถือว่าต่ำที่สดในประเทศอินเดีย ต่อจากรัฐหิมาจัลประเทศ[15] นอกจากนี้ ประชากรพิหารกว่า 58% มีอายุต่ำกว่า 25 ปี ทำให้พิหารเป็นรัฐที่มีอัตราส่วนเยาวชนสูงที่สุดในอินเดีย[16]ในอินเดียโบราณและอินเดียยุคคลาสสิก บริเวณที่เป็นรัฐพิหารในปัจจุบันถือว่าเป็นศูนย์กลางของอำนาจ การศึกษา และวัฒนธรรม[17] นับตั้งแต่มคธได้เรืองอำนาจขึ้นเป็นจักรวรรดิแรกในแผ่นดินอินเดีย, จักรวรรดิเมารยะ ซึ่งเป็นที่รู้จักในฐานะศาสนิกชนของศาสนาพุทธ[18] จักรวรรดิต่าง ๆ ของมนคร ส่วนมากภายใค้การปกครองของเมารยะ และอาณาจักรคุปตะ รวมกันเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญของเอเชียใต้ที่อยู่ภายใต้อำนาจศูนย์กลางเดียว[19] อีกหนึ่งภูมิภาคของพิหารคือมิถิลา (Mithila) ที่ซึ่งเป็นศูนย์กลางยุคแรกของการศึกษาและอาณาจักรวิเทหะ (Videha)[20][21]นับตั้งปลายทศวรรษ 1970s รัฐพิหารได้รั้งท้ายรัฐอื่น ๆ ในประเทศอินเดียในเชิงของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม[22][23][24] นักเศรษฐศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์สังคมหลายคนอ้างว่าเป็นผลโดยตรงจากนโยบายจากรัฐบาลอินเดียส่วนกลาง เช่น นโยบาย freight equalisation policy[25][26], ความไม่เห็นใจที่มีต่อรัฐพิหาร (its apathy towards Bihar)[16][27][28], การขาดความเป็นรัฐนิยมพิหาร (Bihari sub-nationalism),[26][29][30] และการตั้งรกรากถาวร (Permanent Settlement) ในปี 1793 โดยบริทิชอีสต์อินเดีย[26] The state government has, however, made significant strides in developing the state.[31] การพัฒนาการปกครองได้นำไปสู่การฟื้นฟูเศรษฐกิจในรัฐผ่านการเพิ่มการลงทุนในสาธารณูปโภค[32] บริการสุขภาพที่ดีกว่า การให้ความสำคัญกับการศึกษา และการลดจำนวนการก่อคดีและการฉ้อโกง[33][34]

รัฐพิหาร

เว็บไซต์ gov.bih.nic.in/
เมืองใหญ่สุด ปัฏนา
• รองมุกขยมนตรี สุษิล กุมาร โมที (Sushil Kumar Modi)[2]
(จากพรรค BJP)
รหัสไอเอสโอ 3166 IN-BR
• ภาษาราชการเพิ่มเติม ภาษาไมถิลี (Maithili)a,[7] ภาษาอูรดูb [8]
• กลุ่มชาติพันธุ์และภาษาหลัก โภชปุรี (Bhojpuri), ไมถิล (Maithil), มคหี (Magahi)
ทะเบียนพาหนะ BR
• ทั้งหมด 104,099,452
• ต่อประชากร ₹38,860
• ความหนาแน่น 1,102 คน/ตร.กม. (2,850 คน/ตร.ไมล์)
เขตเวลา IST (UTC+05:30)
อันดับพื้นที่ ที่ 12
เมืองหลวง ปัฏนา
เอชดีไอ (2017) 0.566[9] (medium) · 36th
• อันดับ ที่ 3
• นิติบัญญัติ
เขต 38 เขต
UN/LOCODE INBR
ประเทศ ประเทศอินเดีย
• ราชยปาล ผกู เชาวหัน (Phagu Chauhan)
(จากพรรค BJP)[1]
• ศาลสูง ศาลสูงปัฏนา
เดมะนิม พิหารี
อัตราส่วนเพศ (2011) 918 /1000 [11]
• รวม ₹4.88ข้อผิดพลาดนิพจน์: "[" เป็นอักขระที่ไม่รู้จัก
• มุกขยมนตรี นิติษ กุมาร (Nitish Kumar)
(จากพรรค JD(U))
การรู้หนังสือ (2011) 63.82%[10]
ก่อตั้ง
ได้รับสถานะเป็นรัฐ 26 มกราคม 1950
• ภาษาราชการ ภาษาฮินดี[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: รัฐพิหาร http://www.bihartimes.com/articles/shaibal/biharid... http://www.britannica.com/EBchecked/topic/736533/J... http://www.business-standard.com/india/storypage.p... http://economictimes.indiatimes.com/News/PoliticsN... http://timesofindia.indiatimes.com/Review/Bihari_h... http://timesofindia.indiatimes.com/articleshow/msi... http://timesofindia.indiatimes.com/elections/bihar... http://timesofindia.indiatimes.com/india/nitish-ku... http://articles.timesofindia.indiatimes.com/2007-0... http://www.ndtv.com/convergence/ndtv/story.aspx?id...