ดัชนีรัฐล้มเหลว ของ รัฐล้มเหลว

มีการเสนอว่า บทความนี้หรือส่วนนี้ควรแยกเป็นบทความใหม่ชื่อ ดัชนีรัฐบอบบาง (อภิปราย)
ระดับความเสี่ยงต่อการเป็นรัฐที่ล้มเหลวในแต่ละประเทศ ตามข้อมูลที่ได้นำเสนอใน Foreign Policy ระหว่างปี 2005-2007
  ล้มเหลว
  เตือนภัย
  ไม่มีข้อมูล / ดินแดนในภาวะพึงพิง
  ปานกลาง
  บริหารจัดการดี

ตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมาสหรัฐอเมริกา กองทุนเพื่อสันติภาพ และนิตยสาร Foreign Policy ได้ตีพิมพ์รายงานประจำปีที่เรียกว่า “Failed States Index” ซึ่งเป็นการจัดอันดับสถานะของแต่ละประเทศ โดยประเทศที่ได้ถูกนำเสนอในรายงานนั้นจะต้องเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติเท่านั้น [2] สำหรับเขตการปกครองซึ่งไม่ถูกจัด หรือมีสถานภาพเป็นประเทศที่ได้รับการรับรองโดยองค์การสหประชาชาติ จะไม่ถูกเข้ามาพิจารณาในรายงานนี้ เช่น ไต้หวัน ปาเลสไตน์ นอร์ทเทิร์นไซปรัส คอซอวอ และเวสเทิร์นซาฮาร่า เป็นต้น การจัดอันดับจะอาศัยคะแนนรวม ซึ่งมีพื้นฐานมาจาก 12 ตัวชี้วัด แต่ละตัวชี้วัดจะมีคะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 10 คะแนนเป็น 0 หมายถึงมีระดับความรุนแรงต่ำสุด (มีเสถียรภาพที่สุด) และ 10 หมายถึง มีระดับความรุนแรงสูงสุด (ไร้เสถียรภาพที่สุด) มีคะแนนรวมเท่ากับ 120 คะแนน จาก 12 ตัวชี้วัด โดยมีช่วงคะแนนตั้งแต่ 0-120 [2]

ตัวชี้วัดความมีเสถียรภาพของรัฐ

ตัวชี้วัดจะประกอบไปด้วยปัจจัยทางด้านสังคม 4 ตัว ทางด้านเศรษฐกิจ 2 ตัว และทางด้านการเมือง 6 ตัว แล้วนำมาสรุปจัดลำดับว่าประเทศใดเป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการที่ดี (สีเขียว) ปานกลาง (สีเหลือง) มีคำเตือน (สีส้ม) และล้มเหลว (สีแดง)

  1. แรงกดดันทางประชากรศาสตร์
  2. การย้ายถิ่นฐานของประชาชน
  3. กรณีความขัดแย้งของแต่ละกลุ่มชน ซึ่งเป็นผลจากความไม่พอใจในอดีต
  4. ปัญหาการไหลออกของทุนมนุษย์ (สมองไหล)
  5. ความไม่แน่นอนของการพัฒนาการทางเศรษฐกิจ โดยพิจารณาถึงความไม่เสมอภาคของประชากร (ความเหลื่อมล้ำ) ซึ่งสามารถเห็นได้จากโอกาสทางการศึกษา การงาน และสถานะทางเศรษฐกิจ อีกทั้งยังสามารถวัดได้โดยตัวเลขกลุ่มคนยากจน อัตราการเกิดการตาย หรือระดับการศึกษา
  6. ความชัดเจน และ/หรือ ความรุนของการถดถอยของเศรษฐกิจ
  7. การปกครองของรัฐที่ไร้ความเป็นธรรม
  8. ความเสื่อมถอยของการให้บริการสาธารณะ
  9. การละเมิดสิทธิมนุษยชนที่แพร่หลาย
  10. การใช้เครื่องมือที่ใช้รักษาความมั่นคง ที่เรียกว่า ‘State within a state’: เป็นลักษณะการปรากฏตัวของกลุ่มอำนาจสูงสุดของรัฐ โดยอาศัยการดำเนินกิจกรรมทางการเมืองที่คุกคามฝ่ายตรงข้าม หรือพลเรือนที่มีความเห็นไม่ตรงกับรัฐ หรือมีความเห็นที่สนับสนุนกลุ่มตรงข้ามรัฐ เปรียบกับการสร้าง “กลุ่มกองกำลังภายในกองกำลังเดียวกัน” เพื่อรับใช้แสวงหาผลประโยชน์ให้กับกองทัพหรือกลุ่มการเมือง ซึ่งในที่สุดจะก่อให้เกิดกลุ่มต่อต้านทั้งในรูปของทหารพลเรือน กองโจร กองกำลังเอกชนติดอาวุธ หรือการใช้ปฏิบัติการต่างๆ ที่ทำให้ความรุนแรงแผ่ขยายออกไป เพื่อต่อต้านกับกองกำลังของรัฐ
  11. การก่อตัวของกลุ่มผู้มีอิทธิพลทางความคิด
  12. การแทรกแซงกิจการภายในจากรัฐอื่น หรือปัจจัยภายนอก

2011

ระดับความเสี่ยงต่อการเป็นรัฐที่ล้มเหลวในแต่ละประเทศ ตามข้อมูลของ "Failed States Index 2011" ที่ได้นำเสนอใน Foreign Policy
  ล้มเหลว
  เตือนภัย
  ไม่มีข้อมูล / ดินแดนในภาวะพึงพิง
  ปานกลาง
  บริหารจัดการดี

ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่ามีประเทศที่อยู่ที่กลุ่มสีแดง (ล้มเหลว) ประมาณ 35 ประเทศ กลุ่มสีส้ม (เตือนภัย) ประมาณ 88 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง (ปานกลาง) ประมาณ 40 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว (บริหารจัดการดี) ประมาณ 20 ประเทศ

  1.  โซมาเลีย (0)
  2.  ชาด (0)
  3.  ซูดาน (0)
  4.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (+1)
  5.  เฮติ (+6)
  6.  ซิมบับเว (-2)
  7.  อัฟกานิสถาน (-1)
  8.  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (0)
  9.  อิรัก (-2)
  10.  โกตดิวัวร์ (+2)
  11.  กินี (-2)
  12.  ปากีสถาน (-2)
  13.  เยเมน (+2)
  14.  ไนจีเรีย (0)
  15.  ไนเจอร์ (+5)
  16.  เคนยา (-3)
  17.  บุรุนดี (+6)
  18.  กินี-บิสเซา (+4)
  19.  พม่า (-2)
  20.  เอธิโอเปีย (-3)

ประเทศเฝ้าระวัง

  1.  ไทย (-3)

2010

ระดับความเสี่ยงต่อการเป็นรัฐที่ล้มเหลวในแต่ละประเทศ ตามข้อมูลของ "Failed States Index 2010" ที่ได้นำเสนอใน Foreign Policy
  ล้มเหลว
  เตือนภัย
  ไม่มีข้อมูล / ดินแดนในภาวะพึงพิง
  ปานกลาง
  บริหารจัดการดี

ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่ามีประเทศที่อยู่ที่กลุ่มสีแดง (ล้มเหลว) ประมาณ 37 ประเทศ กลุ่มสีส้ม (เตือนภัย) ประมาณ 92 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง (ปานกลาง) ประมาณ 13 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว (บริหารจัดการดี) ประมาณ 20 ประเทศ

  1.  โซมาเลีย (0)
  2.  ชาด (+2)
  3.  ซูดาน (0)
  4.  ซิมบับเว (-2)
  5.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (0)
  6.  อัฟกานิสถาน (+1)
  7.  อิรัก (-1)
  8.  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (0)
  9.  กินี (0)
  10.  ปากีสถาน (0)
  11.  เฮติ (+1)
  12.  โกตดิวัวร์ (-1)
  13.  เคนยา (+1)
  14.  ไนจีเรีย (+1)
  15.  เยเมน (+4)
  16.  พม่า (-3)
  17.  เอธิโอเปีย (-1)
  18.  ติมอร์-เลสเต (+2)
  19.  เกาหลีเหนือ (-2)
  20.  ไนเจอร์ (+4)

2009

ระดับความเสี่ยงต่อการเป็นรัฐที่ล้มเหลวในแต่ละประเทศ ตามข้อมูลของ "Failed States Index 2009" ที่ได้นำเสนอใน Foreign Policy
  ล้มเหลว
  เตือนภัย
  ไม่มีข้อมูล / ดินแดนในภาวะพึงพิง
  ปานกลาง
  บริหารจัดการดี

ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่ามีประเทศที่อยู่ที่กลุ่มสีแดง (ล้มเหลว) ประมาณ 38 ประเทศ กลุ่มสีส้ม (เตือนภัย) ประมาณ 93 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง (ปานกลาง) ประมาณ 33 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว (บริหารจัดการดี) ประมาณ 20 ประเทศ

  1.  โซมาเลีย (0)
  2.  ซิมบับเว (+1)
  3.  ซูดาน (-1)
  4.  ชาด (0)
  5.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (+1)
  6.  อิรัก (-1)
  7.  อัฟกานิสถาน (0)
  8.  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (+2)
  9.  กินี (+2)
  10.  ปากีสถาน (-1)
  11.  โกตดิวัวร์ (-3)
  12.  เฮติ (+2)
  13.  พม่า (0)
  14.  เคนยา (+12)
  15.  ไนจีเรีย (+3)
  16.  เอธิโอเปีย (0)
  17.  เกาหลีเหนือ (-2)
  18.  เยเมน (+3)
  19.  บังกลาเทศ (-7)
  20.  ติมอร์-เลสเต (+5)

2008

ระดับความเสี่ยงต่อการเป็นรัฐที่ล้มเหลวในแต่ละประเทศ ตามข้อมูลของ "Failed States Index 2008" ที่ได้นำเสนอใน Foreign Policy
  ล้มเหลว
  เตือนภัย
  ไม่มีข้อมูล / ดินแดนในภาวะพึงพิง
  ปานกลาง
  บริหารจัดการดี

ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีแดง แย่ที่สุด มี 35 ประเทศ ส่วนใหญ่อยู่ในแอฟริกา กลุ่มสีส้ม หรือสัญญาณเตือนภัย 92 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง ระดับกลางๆ 35 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว ดีที่สุด 15 ประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศยุโรปตะวันตก ซึ่งรวมถึงแคนาดา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ โดย 20 อันดับที่แย่ที่สุดได้นำมาแสดงไว้ในด้างล่างนี้ โดยตัวเลขการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมาก (ปี 2007) ได้แสดงไว้ในวงเล็บ [3]

1.  โซมาเลีย (+2)
2.  ซูดาน (-1)
3.  ซิมบับเว (+1)
4.  ชาด (+1)
5.  อิรัก (-3)
6.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (+1)
7.  อัฟกานิสถาน (+1)
8.  โกตดิวัวร์ (-2)
9.  ปากีสถาน (+3)
10.  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (0)

11.  กินี (-2)
12.  บังกลาเทศ (+4)
13.  พม่า (+2)
14.  เฮติ (-3)
15.  เกาหลีเหนือ (-2)
16.  เอธิโอเปีย (+2)
17.  ยูกันดา (-1)
18.  เลบานอน (+10)
19.  ไนจีเรีย (-1)
20.  ศรีลังกา (+5)

นอร์เวย์ (177) เป็นประเทศที่มีการบริหารจัดการดีที่สุดมาสองปีแล้ว ส่วนประเทศที่ล้มเหลวที่สุด คือ โซมาเลีย สำหรับประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 89 ส่วนประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกันปรากฏว่าที่แย่ที่สุดอยู่ในกลุ่มสีแดง คือ พม่า (12) กลุ่มสีส้มมี ลาว (40) กัมพูชา (48) อินโดนีเซีย (55) ฟิลิปปินส์ (59) เวียดนาม (60) ไทย (89) มาเลเซีย (118) ส่วนสิงคโปร์อยู่ในกลุ่มสีเหลืองโดยอยู่ในลำดับที่ 159 ซึ่งไม่มีประเทศใดในกลุ่มอาเซียนได้สีเขียว

2007

ระดับความเสี่ยงต่อการเป็นรัฐที่ล้มเหลวในแต่ละประเทศ ตามข้อมูลของ "Failed States Index 2007" ที่ได้นำเสนอใน Foreign Policy
  ล้มเหลว
  เตือนภัย
  ไม่มีข้อมูล / ดินแดนในภาวะพึงพิง
  ปานกลาง
  บริหารจัดการดี

ผลการสำรวจจาก 177 ประเทศ พบว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีแดง แย่ที่สุด มี 32 ประเทศ กลุ่มสีส้ม หรือสัญญาณเตือนภัย 97 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง ระดับกลางๆ 33 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว ดีที่สุด 15 ประเทศ โดย 20 อันดับที่แย่ที่สุดได้นำมาแสดงไว้ในด้างล่างนี้ โดยตัวเลขการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมาก (ปี 2006) ได้แสดงไว้ในวงเล็บ

1.  ซูดาน (0)
2.  อิรัก (+2)
3.  โซมาเลีย (+4)
4.  ซิมบับเว (+1)
5.  ชาด (+1)
6.  โกตดิวัวร์ (-3)
7.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (-5)
8.  อัฟกานิสถาน (+2)
9.  กินี (+2)
10.  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (+3)

11.  เฮติ (-3)
12.  ปากีสถาน (-3)
13.  เกาหลีเหนือ (+1)
14.  พม่า (+4)
15.  ยูกันดา (+6)
16.  บังกลาเทศ (+3)
17.  ไนจีเรีย (+5)
18.  เอธิโอเปีย (+8)
19.  บุรุนดี (-4)
20.  ติมอร์-เลสเต (N/A)

2006

ระดับความเสี่ยงต่อการเป็นรัฐที่ล้มเหลวในแต่ละประเทศ ตามข้อมูลของ "Failed States Index 2006" ที่ได้นำเสนอใน Foreign Policy
  ล้มเหลว
  เตือนภัย
  ไม่มีข้อมูล / ดินแดนในภาวะพึงพิง
  ปานกลาง
  บริหารจัดการดี

ผลการสำรวจจาก 146 ประเทศ พบว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีแดง แย่ที่สุด มี 28 ประเทศ กลุ่มสีส้ม หรือสัญญาณเตือนภัย 78 ประเทศ กลุ่มสีเหลือง ระดับกลางๆ 27 ประเทศ และกลุ่มสีเขียว ดีที่สุด 13 ประเทศ โดย 20 อันดับที่แย่ที่สุดได้นำมาแสดงไว้ในด้างล่างนี้ โดยตัวเลขการเปลี่ยนแปลงจากปีที่ผ่านมาก (ปี 2006) ได้แสดงไว้ในวงเล็บ

1.  ซูดาน (+2)
2.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก (0)
3.  โกตดิวัวร์ (-2)
4.  อิรัก (0)
5.  ซิมบับเว (+10)
6.  ชาด (+1)
7.  โซมาเลีย (-2)
8.  เฮติ (+2)
9.  ปากีสถาน (+25)
10.  อัฟกานิสถาน (+1)

11.  กินี (+5)
12.  ไลบีเรีย (-3)
13.  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง (+7)
14.  เกาหลีเหนือ (-1)
15.  บุรุนดี (+3)
16.  เยเมน (-8)
17.  เซียร์ราลีโอน (-11)
18.  พม่า (+5)
19.  บังกลาเทศ (-2)
20.  เนปาล (+15)

2005

ระดับความเสี่ยงต่อการเป็นรัฐที่ล้มเหลวในแต่ละประเทศ ตามข้อมูลของ "Failed States Index 2005" ที่ได้นำเสนอใน Foreign Policy
  ล้มเหลว
  เตือนภัย
  ปานกลาง /บริการจัดการดี / ไม่มีข้อมูล / ดินแดนในภาวะพึงพิง

เป็นปีแรกที่กองทุนเพื่อสันติภาพได้นำเสนอผลการจัดอันดับ ซึ่งผลการสำรวจจาก 76 ประเทศ ที่ได้วิเคราะห์มาแล้ว พบว่าประเทศที่อยู่ในกลุ่มสีแดง แย่ที่สุด มี 33 ประเทศ และกลุ่มสีส้ม หรือสัญญาณเตือนภัย 43 ประเทศ (สำหรับกลุ่มที่ดีกว่ากลุ่มสีส้มยังไม่มีการนำเสนอในปีนี้) โดย 20 อันดับที่แย่ที่สุดได้นำมาแสดงไว้ในด้างล่างนี้

1.  โกตดิวัวร์
2.  สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
3.  ซูดาน
4.  อิรัก
5.  โซมาเลีย
6.  เซียร์ราลีโอน
7.  ชาด
8.  เยเมน
9.  ไลบีเรีย
10.  เฮติ

11.  อัฟกานิสถาน
12.  ปากีสถาน
13.  เกาหลีเหนือ
14.  โคลอมเบีย
15.  ซิมบับเว
16.  กินี
17.  บังกลาเทศ
18.  บุรุนดี
19.  สาธารณรัฐโดมินิกัน
20.  สาธารณรัฐแอฟริกากลาง