รัฐสภาไอร์แลนด์
รัฐสภาไอร์แลนด์

รัฐสภาไอร์แลนด์

รัฐสภาแห่งไอร์แลนด์ (ไอริช: Parlaimint na hÉireann) เป็นสภานิติบัญญัติอาณาจักรลอร์ดแห่งไอร์แลนด์ ซึ่งต่อมาคือราชอาณาจักรไอร์แลนด์ ตั้งแต่ปีค.ศ. 1297 จนถึงค.ศ. 1800 โดยมีรูปแบบมาจากรัฐสภาแห่งอังกฤษโดยตั้งแต่ค.ศ. 1537 เป็นต้นมาประกอบด้วยสองสภา ได้แก่ สภาขุนนาง และสภาสามัญชน เหล่าขุนนางนั้นเป็นสมาชิกในระบบบรรดาศักดิ์ (ขุนนางแห่งอาณาจักร) และบิชอป (ขุนนางแห่งจิตวิญญาณ ซึ่งภายหลังการปฏิรูปศาสนาเรียกเป็น บิชอปแห่งศริสตจักรไอร์แลนด์) ส่วนสมาชิกสภาสามัญชนมาจากการเลือกตั้งทางตรงแต่มีข้อจำกัดมากมายในการให้สิทธิออกเสียง รัฐสภาไอร์แลนด์มีที่ทำการหลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ ไลนส์เตอร์ มันสเตอร์ และในช่วงหลังย้ายมาที่ดับลิน ในอาสนวิหารไครสต์เชิร์ช (ศตวรรษที่ 15)[1] ปราสาทดับลิน (จนถึงค.ศ. 1649) ชิเชสเตอร์เฮาส์ (ค.ศ. 1661-1727) โรงเรียนบลูโคท (ค.ศ. 1729-1731) และสุดท้ายได้ก่อสร้างที่ทำการรัฐสภาที่คอลเลจ กรีน[3]พระราชบัญญัติสหภาพ ค.ศ. 1800 ได้รวมเอาราชอาณาจักรไอร์แลนด์กับราชอาณาจักรบริเตนใหญ่เข้าด้วยกันเป็นสหราชอาณาจักรแห่งบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์ รัฐสภาของทั้งสองประเทศจึงได้รวมกันเป็นรัฐสภาสหราชอาณาจักร โดยมีที่ทำการ ณ พระราชวังเวสต์มินสเตอร์ โดยมีการเพิ่มจำนวนขุนนางและสมาชิกสภาสามัญชนของไอร์แลนด์เข้าไป

รัฐสภาไอร์แลนด์

ถัดมา รัฐสภาสหราชอาณาจักร
ประเภท ระบบสองสภา[note 1]
สถาปนา ค.ศ. 1297
ประธานสภาขุนนาง เอิร์ลแห่งแคลร์ (แรก)
องค์ประกอบ สภาขุนนาง
สภาสามัญชน
ระบบการเลือกตั้ง (สภาขุนนาง) ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์จากพระมหากษัตริย์ หรือบรรดาศักดิ์สืบตระกูล
ยุบ 31 ธันวาคม ค.ศ. 1800
ประธานสภาสามัญชน จอห์น ฟอสเตอร์ (สุดท้าย)
ระบบการเลือกตั้ง (สภาสามัญชน) ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด โดยจำกัดจำนวนผู้มีสิทธิออกเสียง