รัศมีโคเวเลนต์

รัศมีโคเวเลนต์ (rcov) คือการวัดขนาดของอะตอมซึ่งประกอบกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ โดยที่หน่วยของรัศมีโคเวเลนต์ที่นิยมใช้ ได้แก่ พิโคเมตร (pm) หรือ อังสตรอม (Å) โดยที่ 1 อังสตรอม เท่ากับ 100 พิโคเมตรโดยหลักการแล้ว ผลรวมของรัศมีโคเวเลนต์ระหว่างสองอะตอมควรจะเท่ากับความยาวพันธะโคเวเลนต์ระหว่างสองอะตอม โดยที่ค่าของรัศมีโคเวเลนต์ามารถแบ่งออกเป็นสามแบบ ได้แก่ พันธะเดี่ยว พันธะคู่ และ พันธะสาม ดังแสดงในตารางด้านล่าง อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความสัมพันธ์ที่แน่นอนของค่าทั้งสามนี้ เนื่องจากความแตกต่างของสภาพแวดล้อมทางเคมี ส่งผลให้ขนาดของอะตอมมีค่าไม่คงที่ สำหรับ heteroatomic ความยาวพันธะไอออนิกอาจจะนำมาใช้แทนได้และบ่อยครั้งที่พบว่าความยาวพันธะโคเวเลนต์แบบมีขั้วจะสั้นกว่าผลบวกของรัศมีโควาเลนต์ ค่ารัศมีโคเวเลนต์ที่ระบุดังตารางข้างล่างเป็นทั้งค่าเฉลี่ยหรือค่าในอุดมคติ ส่งผลให้ค่าดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในหลาย ๆ กรณีการวัดความยาวพันธะสามารถทำได้จากศึกษาการเลี้ยวเบนรังสีเอกซ์ (น้อยครั้งที่จะใช้การเลี้ยวเบนนิวตรอนบนผลึกโมเลกุล) นอกจากนั้น โรเทชันแนลสเปกโทรสโกปี (Rotational spectroscopy) ก็เป็นอีกวิธีที่วัดค่าความยาวพันธะ ได้อย่างแม่นยำ สำหรับ homonuclear ไลนัส พอลิงนำค่าความยาวพันธะมาหารด้วยสอง จะเท่ากับรัศมีโคเวเลนต์ เช่น ความยาวพันธะระหว่างอะตอมไฮโดรเจนในก๊าซไฮโดรเจน เท่ากับ 74.14 พิโคเมตร ดังนั้น รัศมีโคเวเลนต์ของอะตอมไฮโดรเจน เท่ากับ 37.07 พิโคเมตร ในทางปฏิบัติรัศมีโคเวเลนต์ของอะตอมควรจะคำนวณจากค่าเฉลี่ยของความยาวพันธะของสารประกอบโคเวเลนต์ชนิดต่าง ๆอย่างไรก็ตามค่าที่ได้จากวิธีนี้ก็แตกต่างจากวิธีดังกล่าวข้างต้นเพียงเล็กน้อย Sanderson ได้ทำการตีพิมพ์ค่าของรัศมีโคเวเลนต์แบบไม่มีขั้วสำหรับธาตุหลัก ๆ [1] แต่เนื่องจากข้อมูลของความยาวพันธะมีปริมาณมาก ส่งผลให้ค่ารัศมีโคเวเลนต์ในหลาย ๆ กรณีไม่ได้รับการปรับปรุง