การเสนอชื่อเข้าชิง ของ รางวัลที่รักแห่งสยามได้รับ

ด้านการได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัล รักแห่งสยามยังได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอเชียนฟิล์ม ในงานเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติฮ่องกง พ.ศ. 2551 โดยมาริโอ้ เมาเร่อ ได้รับการเสนอชื่อในสาขานักแสดงสมทบชายยอดเยี่ยม และชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงในสาขาผู้ประพันธ์เพลงในภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ร่วมกับวงออกัส วงฟลัวร์ วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล และภาสกร วิรุฬห์ทรัพย์ ซึ่งพิธีประกาศรางวัลดังกล่าวจะมีขึ้นในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2551 ณ แกรนด์ฮอลล์ ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าฮ่องกง เขตหว่านไจ๋ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง[10] แต่พลาดไปทั้งสองรางวัล[11]

รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ รักแห่งสยามได้รับการเสนอชื่อเข้าชิง ในสาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ,ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล), นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล), นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช),สมทบชายยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี), สมทบหญิงยอดเยี่ยม (กัญญา รัตนเพชร์ และ เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์), บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม ,กำกับภาพยอดเยี่ยม, ลำดับภาพยอดเยี่ยม,บันทึกเสียงยอดเยี่ยม,ดนตรีประกอบยอดเยี่ยม และเพลงนำภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (กันและกัน และ คืนเป็นนิรันดร์)[12] ซึ่งภาพยนตร์เรื่องนี้ได้รับรางวัลไป 3 รางว้ลจากเวทีนี้

รักแห่งสยาม ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลคมชัดลึก อวอร์ด ครั้งที่ 5 สูงสุด 8 รางวัล จากสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม, บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม,นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช), นักแสดงประกอบชาย (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี), นักแสดงประกอบหญิง (พิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์ และ กัญญา รัตนเพชร)และ ภาพยนตร์ที่มีนักแสดงกลุ่มยอดเยี่ยม[13] ซึ่งคว้าไปได้ 2 รางวัลคือ ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม และรางวัลนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช)

นอกจากนี้ ในการประกาศผลผู้ได้รับการเสนอเข้าชิงรางวัล "เฉลิมไทย อวอร์ด" ครั้งที่ 5 ซึ่งเป็นรางวัลที่สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอตคอม ได้เสนอชื่อและร่วมลงคะแนนเพื่อเลือกภาพยนตร์แห่งปีในสาขาต่างๆ รักแห่งสยามได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงทั้งหมด 9 รางวัล (13 รายชื่อ) ได้แก่ เพลงจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี (กันและกัน) ดนตรีประกอบภาพยนตร์แห่งปี บทภาพยนตร์ไทยแห่งปี นักแสดงสมทบหญิงในภาพยนตร์ไทยแห่งปี (กัญญา รัตนเพชร และพิมพ์พรรณ บูรณพิมพ์) นักแสดงสมทบชายในภาพยนตร์ไทยแห่งปี(ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี)นักแสดงนำหญิงในภาพยนตร์ไทยแห่งปี (สินจัย เปล่งพานิช)นักแสดงนำชายในภาพยนตร์ไทยแห่งปี (มาริโอ้ เมาเร่อ และวิชญ์วิสิฐ หิรัญวงศ์กุล) งานกำกับภาพยนตร์ไทยแห่งปี และภาพยนตร์ไทยแห่งปี โดยการลงคะแนนจะเริ่มในวันที่ 28 มกราคม 2550 [14]

ในการประกาศผู้เข้าชิงรางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิงครั้งที่ 16 ประจำปี 2550 ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม ได้เข้าชิง 11 รางวัล (13 รายชื่อ) จากสาขา ภาพยนตร์ยอดเยี่ยม , ผู้กำกับภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล),นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม (วิชญ์วิสิฐ หิรัญวงษ์กุล),นักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม (สินจัย เปล่งพานิช), สมทบชายยอดเยี่ยม (ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี),สมทบหญิงยอดเยี่ยม (เฌอมาลย์ บุญยศักดิ์ และ กัญญา รัตนเพชร),บทภาพยนตร์ยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล),กำกับภาพยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล), ลำดับภาพยอดเยี่ยม (ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล, ลี ชาตะเมธีกุล), กำกับศิลป์ยอดเยี่ยม และดนตรีประกอบยอดเยี่ยม (กิตติ เครือมณี)[15] และสำหรับรางวัลสตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส ครั้งที่ 6 หรือ รางวัลผลงานบันเทิงยอดเยี่ยมที่จัดโดยสมาคมนักข่าวบันเทิง ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม ได้เข้าชิงสูงสุด 9 สาขาใน 10 รายชื่อ[16] ซึ่งได้รับรางวัลไป 6 รางวัล

ในงานเทศกาลหนังซีเนมะนิลา ที่จัดขึ้นที่ประเทศฟิลิปปินส์ ภาพยนตร์ รักแห่งสยาม เข้าชิง 3 สาขาในสายภาพยนตร์อาเซียน ซึ่งมาริโอ้ เมาเร่อ ได้รับรางวัลสาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม[17]

รางวัลทางด้านดนตรี เพลง "กันและกัน" และรับรางวัล Song of The Year จากงานแฟตอวอร์ด ครั้งที่ 6[18] และได้รับรางวัลเพลงยอดนิยมสุดซี้ดประจำปี จากงานซีดอวอร์ดส[19]

ใกล้เคียง

รางวัลออสการ์ รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ รางวัลโทรทัศน์ทองคำ รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม รางวัลนาฏราช รางวัลโนเบลสาขาเคมี รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 64 รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 65 รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 63