ประวัติ ของ รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ_สุพรรณหงส์

หลังจากสมาคมผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ไทยลดถอยบทบาทการนำลง บุคลากรในวงการภาพยนตร์ไทยได้รวมตัวกันจัดตั้งองค์กรขึ้นใหม่ ให้เป็นองค์กรหลักที่สมาชิกเป็นตัวแทนขององค์กรย่อยและ ภาคส่วนต่าง ๆ ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ครบถ้วนยิ่งขึ้น โดยใช้ชื่อ สมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ (The Federation of National Film Associations of Thailand) โดย ไพจิตร ศุภวารี เป็นนายกสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติคนแรก ดำรงตำแหน่งระหว่างปี 2534-2537

องค์กรนำของวงการภาพยนตร์ไทยว่างเว้นไม่ได้จัดการประกวดและมอบรางวัลสำหรั

บภาพยนตร์ไทยอยู่ประมาณ 3 ปี จึงได้เริ่มต้นใหม่อีกครั้ง โดยสมาคมสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ ร่วมกับ คณะกรรมการส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย (หน่วยงานในสำนักนายกรัฐมนตรี) และกรมประชาสัมพันธ์ ตามนโยบายรัฐบาลที่ได้ให้การสนับสนุนวงการอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยจัดประกวด รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ ขึ้นทั้งนี้ไม่ถือเป็นรางวัลต่อเนื่อง รางวัลสุพรรณหงส์ทองคำ ของสมาคมผู้อำนวยการสร้างแต่เป็นการเริ่มต้น จัดทำตัวรางวัลเป็นสัญลักษณ์ "ทางช้างเผือกสู่ดวงดาว" ซึ่งหมายถึง บุคคลที่สร้างผลงานภาพยนตร์ไทยยอดเยี่ยมและชนะเลิศในแต่ละประเภทรางวัล จนเป็นดาวดวงเด่นของปี

ในปี พ.ศ. 2556 สมาพันธ์ ได้เปลี่ยนวิธีการตัดสินภาพยนตร์ที่ได้รับรางวัล โดยใช้คณะกรรมการตัดสิน 15 ท่าน ร่วมกับการลงคะแนนจากบุคคลในวงการภาพยนตร์ประมาณ 1,500 คน ในกลุ่มหลังจะแบ่งการลงคะแนนตามองค์ประกอบภาพยนตร์ในด้านต่างๆ โดยสามารถลงคะแนนผ่านทางเว็บไซต์ของสมาพันธ์ฯ หรือทางไปรษณีย์ โดยสัดส่วนคะแนนของทั้งสองกลุ่มจะอยู่ที่ 50:50

ในปี พ.ศ. 2562 ได้มีการเปลี่ยนเกณฑ์คัดเลือกภาพยนตร์ โดยออกเงื่อนไขว่า ภาพยนตร์ที่จะเข้าชิงรางวัลได้นั้น จะต้องเป็นภาพยนตร์ที่เข้าฉายอย่างน้อย 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพ ชลบุรี เชียงใหม่ นครราชสีมา และนครศรีธรรมราช หรือต้องมีคนดูตั้งแต่ 50,000 คนขึ้นไป (คิดเป็นรายได้ประมาณ 5-7 ล้านบาท)[1]

ใกล้เคียง

รางวัลออสการ์ รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ รางวัลโทรทัศน์ทองคำ รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม รางวัลนาฏราช รางวัลโนเบลสาขาเคมี รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 64 รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 65 รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 63