ประวัติ ของ รางวัลเมขลา

สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย ได้จัดงานรางวัลเมขลา เพื่อส่งเสริมและเป็นกำลังใจแก่ผู้เกี่ยวข้องในสายงานโทรทัศน์ โดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2523 มี นายนคร วีระประวัติ เป็นนายกสมาคมฯ ส่วนผู้ตั้งชื่อรางวัล "เมขลา" คือ ศ.คุณหญิงจินตนา ยศสุนทร หนึ่งในคณะกรรมการตัดสิน จนถึงครั้งที่ 4 พ.ศ. 2528 กลุ่มคนดังกล่าวได้แยกตัวออกไปตั้งชมรมส่งเสริมโทรทัศน์ เพื่อจัดรางวัลโทรทัศน์ทองคำ[1] สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทยจึงได้มีการเปลี่ยนตัวนายกสมาคมเป็น นายชาญ มีศรี ทำให้การจัดรางวัลเมขลายังคงดำเนินเรื่อยมาจนถึงครั้งที่ 23 พ.ศ. 2547

ในปี พ.ศ. 2554 สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงแห่งประเทศไทย โดยนายชาตรี ศรียาภัย นายกสมาคม ได้รื้อฟื้นการจัดงานรางวัลเมขลาขึ้นอีก โดยเริ่มจัดเป็นครั้งที่ 24 โดยมีการแบ่งรางวัลออกเป็น 3 ประเภท คือ รางวัลเมขลา, รางวัลมณีเมขลา หรือ รางวัลยอดนิยมแห่งปี และ รางวัลดาวเมขลา ที่มอบให้กับเหล่าคนบันเทิง และสื่อมวลชนเป็นผู้ตัดสิน นอกจากนี้ยังมอบ รางวัลเมขลามหานิยมแห่งปี ที่เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปสามารถโหวตให้กับดารานำชาย-หญิง, ผู้กำกับ, พิธีกร และผู้ดำเนินรายการที่ชื่นชอบ [2] เป็นการจัดรางวัลเกียรติยศเป็นรายการแรกของไทย

รางวัลเมขลา ประกอบด้วยรางวัลประเภทต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการโทรทัศน์ ทั้งนี้มิได้เป็นการประกวดรายการโทรทัศน์ แต่เป็นการพิจารณาผลงานทุกรายการในแต่ละปี โดยทำการคัดเลือกเพื่อมอบประกาศเกียรติคุณแก่เจ้าของผลงานทางโทรทัศน์ที่มีคุณภาพ ผ่านการตัดสินรางวัลของคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ นักข่าว นักสื่อสารมวลชน โดยยึดแนวการตัดสินมอบรางวัลจากการจัดงาน Emmy Awards ของสหรัฐอเมริกาเป็นส่วนสำคัญ [3] มีพิธีมอบรางวัลเป็นประจำทุกปีในช่วงเดือนมกราคม

ใกล้เคียง

รางวัลออสการ์ รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ รางวัลโทรทัศน์ทองคำ รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม รางวัลนาฏราช รางวัลโนเบลสาขาเคมี รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 64 รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 65 รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 63