รางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง
รางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง

รางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่ง


รางวัลเวียนนาครั้งที่หนึ่งเป็นการลงนามสนธิสัญญา เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน ค.ศ. 1938 อันเป็นผลสรุปของการตัดสินเวียนนาครั้งที่หนึ่ง การตัดสินเกิดขึ้นที่พระรางวัง Belvedere ในกรุงเวียนา การตัดสินและรางวัลเป็นผลลัพธ์โดยตรงจากความตกลงมิวนิก เมื่อเดือนก่อนและได้ตัดสินให้มีการแบ่งแยกดินแดนของเชโกสโลวาเกียนาซีเยอรมนีและฟาสซิสต์อิตาลีได้หาทางที่จะไม่ใช้ความรุนแรงเพื่อบีบบังคับเรียกร้องดินแดนของราชอาณาจักรฮังการี และแก้ไขสนธิสัญญาไทรอานอน เมื่อปี ค.ศ. 1920 นาซีเยอรมนีได้ใช้จุดนี้ในการแก้ไขสนธิสัญญาแวร์ซาย ด้วยการยึดครองไรน์ลันท์กลับคืน (7 มีนาคม ค.ศ. 1936) และอันชลุสส์คือการผนวกรวมกับออสเตรีย (12 มีนาคม ค.ศ. 1938)รางวัลเวียนครั้งที่หนึ่งครั้งนี้ได้แบ่งแยกดินแดนที่มีประชากรเชื้อชาติม็อดยอร์เป็นส่วนใหญ่ในภาคใต้ของสโลวาเกียและทางใต้ของ Carpathian Rus จากเชโกสโลวาเกียและมอบรางวัลให้กับฮังการี ฮังการีได้พลิกฟื้นดินแดนบางส่วนในยุคปัจจุบันที่สโลวาเกียและยูเครนได้หายไปในสนธิสัญญาไทรอานอน ในการล่มสลายของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งในกลางเดือนมีนาคม ค.ศ. 1939 อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ได้ให้ฮังการียินยอมเข้าครอบครองส่วนที่เหลือของ Carpatho-Ukraine นำดินแดนขยายขึ้นเหนือไปยังชายแดนโปแลนด์ ดังนั้นการก่อตั้งชายแดนฮังการี-โปแลนด์ เหมือนครั้งก่อนช่วงศตวรรษที่ 18 การแบ่งแยกดินแดนของเครือจักรภพโปแลนด์–ลิทัวเนีย ก่อนการยุติลงของสงครามโลกครั้งหนึ่งและสนธิสัญญาไทรอานอนและแซ็ง-แฌร์แม็ง ภูมิภาค Carpathian เป้นของอดีตราชอาณาจักรฮังการี(Transleithania) ในจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ได้มีชายแดนติดกับทางเหนือของจังหวัดกาลิเซีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของซิสไลท์ทาเนีย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของระบอบการปกครองโดยสองราชวงศ์​(Dual Monarchy) หกเดือน หลังจากฮังการีได้เข้ายึดครองส่วนที่เหลือของ Carpatho-Ukraine ในเดือนกันยายน ค.ศ. 1939 รัฐบาลโปแลนด์และส่วนหนึ่งของทหารได้หลบหนีมายังฮังการีและโรมาเนียและจากนั้นได้ไปยังประเทศฝรั่งเศสและซีเรียภายใต้อารักขาของฝรั่งเศสเพื่อดำเนินทำสงครามต่อต้านฮิตเลอร์ของเยอรมนีหลังสงครามโลกครั้งที่สอง สนธิสัญญาปารีสได้ประกาศว่ารางวัลเวียนนาได้ตกเป็นโมฆะ

ใกล้เคียง

รางวัลออสการ์ รางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ยอดเยี่ยม รางวัลภาพยนตร์แห่งชาติ สุพรรณหงส์ รางวัลโทรทัศน์ทองคำ รางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม รางวัลนาฏราช รางวัลโนเบลสาขาเคมี รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 64 รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 65 รางวัลแกรมมี ครั้งที่ 63