การก่อตั้ง ของ ราชรัฏฐาภิบาลรวบรวมชาติกัมพูชา

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2513 พระนโรดม สีหนุถูกรัฐประหารโดยกลุ่มฝ่ายขวาในรัฐบาลของพระองค์เองคือลน นลและพระสีสุวัตถิ์ สิริมตะและอิน ตัม พระนโรดม สีหนุในขณะที่อยู่ต่างประเทศได้ออกรายการวิทยุเรียกร้องให้มีการลุกฮือต่อต้านรัฐประหารที่กรุงปักกิ่งเมื่อ 23 มีนาคม พ.ศ. 2513 ในนามรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ

ความเห็นของพระนโรดม สีหนุในการก่อตั้งแนวร่วมมีความแตกต่างไปจากที่ประกาศโดยโฆษก เขากล่าวว่าเขาได้ตัดสินใจโดยกะทันหันเพื่อจัดตั้งรัฐบาลสหภาพแห่งชาติ ในขณะที่แผนของมอสโกและปักกิ่ง เขาได้รับข้อความหลังจากออกอากาศไปแล้ว 3 วัน ซึ่งได้รับผ่านทางผู้นำของเขมรแดง 3 คนที่เคยร่วมมือกับระบอบสังคมของพระองค์

จริงๆแล้ว ในขณะที่พระนโรดม สีหนุไปถึงปักกิ่งยังไม่แน่นอนว่าการเคลื่อนไหวจะเป็นไปในทิศทางใด และหลังจากการประชุมลับในวันที่ 21 มีนาคมกับนายกรัฐมนตรีของเวียดนามเหนือ ฝ่าม วันดงและโจว เอินไหล ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนพระนโรดม สีหนุ การประชุมครั้งนี้เป็นการตกลงใจที่จะเข้าร่วมกับกลุ่มคอมมิวนิสต์ในกัมพูชาที่เขาเคยต่อต้านมาในอดีต จึงดูเหมือนว่าเป้นความต้องการของลน นลและอาจมีการสนับสนุนของสหรัฐในการตัดสินใจก่อรัฐประหาร สีหนุเคยให้สัมภาษณ์ว่าเขาต้องเลือกเพราะลน นลบังคับให้เขาเลือก[1]

การประกาศจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นอย่างเป็นทางการเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2513 และได้รับการรับรองทันทีจากจีนแผ่นดินใหญ่ การจัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นโดยพระนโรดม สีหนุเป็นผู้นำของเขมรแดง ทำให้เขมรแดงเป็นที่รู้จักในระดับนานาชาติ และได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มที่จงรักภักดีต่อพระนโรดม สีหนุและกลุ่มอนุรักษนิยมในการต่อต้านสาธารณรัฐเขมรของลน นล กองกำลังคอมมิวนิสต์เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วในเขตชนบทของกัมพูชา ซึ่งเกิดจากความนิยมสีหนุและความโกรธแค้นจากการทิ้งระเบิดอย่างหนักของสหรัฐอเมริกา การได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายคอมมิวนิสต์ทำให้พระนโรดม สีหนุยังคงมีอำนาจอยู่ และปลอดภัยภายใต้การสนับสนุนของจีนและเวียดนามเหนือ

ใกล้เคียง

ราชรัฐห่าเตียน ราชรัฐเจิ้ง ราชรัฏฐาภิบาลรวบรวมชาติกัมพูชา ราชรัฐแม่น้ำฮัตต์ ราชรัฐแอนติออก ราชรัฐเซอร์เบีย ราชรัฐอันส์บัค ราชรัฐมุขนายกเอาคส์บวร์ค ราชรัฐอันดอร์ราในโอลิมปิกฤดูหนาว 2014 ราชรัฐบัลแกเรีย