การตีพิมพ์ในวารสารเพื่อยืนยันพันธุ์พืชชนิดใหม่ที่พบ ของ ราชรัตน์

ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Phytotaxa ฉบับที่ 289(2) ในเดือนธันวาคม 2559 [7] การตีพิมพ์ในวารสารเพื่อยืนยัน พืชพันธุ์ใหม่ของโลก เพื่อนำไปใช้ใน การอ้างอิงในด้านอนุกรมวิธานพืช ข้อมูลที่ศึกษาและตัวอย่างอ้างอิงได้นำไปเก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช เพื่อการศึกษาด้านอนุกรมวิธานต่อไป ข้อมูลที่ศึกษาสามารถเกิดประโยชน์ต่อหน่วยงานอื่นในประเทศและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยโดยมีส่วนร่วมในการจัดทำข้อมูลพรรณพฤกษชาติแห่งประเทศไทยของพืช วงศ์ชมพู่ (Myrtaceae)[8] ปัจจุบันองค์การสวนพฤกษศาสตร์ กำลังเร่งดำเนินการศึกษาวิธีการเพาะขยายพันธุ์พืชหายากถิ่นเดียวชนิดนี้ไว้ เพื่อการอนุรักษ์ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ดำรงไว้ซึ่งความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศสืบไป