ประวัติศาสตร์ ของ ราชอาณาจักรตองงา_(ค.ศ._1900–1970)

เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1900 ราชอาณาจักรตองงากลายเป็นรัฐในอารักขาของสหราชอาณาจักรจากการลงนามในสนธิสัญญามิตรภาพ เพื่อกีดกันการขยายอำนาจของเยอรมนี ประกอบกับมีความพยายามขับไล่พระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 2 ออกจากราชบัลลังก์[1][2][3] การลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าวทำให้การดำเนินนโยบายต่างประเทศของตองงาต้องผ่านทางกงสุลอังกฤษ และสหราชอาณาจักรมีอำนาจยับยั้งนโยบายต่างประเทศและการเงินของราชอาณาจักรตองงา[1]

ตองงาได้รับผลกระทบจากการระบาดทั่วของไข้หวัดใหญ่สเปนเมื่อ ค.ศ. 1918 ทำให้มีผู้เสียชีวิต 1,800 คน คิดเป็นร้อยละ 8 ของผู้อยู่อาศัย[4]

ตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 20 ตองงาสงบ สนใจแต่กิจการภายในของตนและค่อนข้างโดดเดี่ยวจากการพัฒนาในส่วนอื่นของโลก โครงสร้างสังคมที่ซับซ้อนของตองงาโดยพื้นฐานแล้วสามารถแบ่งได้ออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ พระมหากษัตริย์, ชนชั้นสูงและสามัญชน โดยระหว่างชนชั้นสูงและสามัญชนจะมี "มาตาปูเล" ซึ่งมีความข้องเกี่ยวกับพระมหากษัตริย์หรือชนชั้นสูงโดยอาจถือครองที่ดินหรือไม่ก็ได้ ภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของคนแต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน และแม้ว่าชนชั้นสูงจะขอการสนับสนุนจากผู้คนที่อยู่ในที่ดินของตนได้ ในทางกลับกันชนชั้นสูงต้องตอบแทนให้แก่ผู้คนเช่นกัน สถานะและลำดับทางสังคมมีส่วนอย่างมากในความสัมพันธ์ส่วนบุคคล แม้กระทั่งภายในครอบครัว

ในวันที่ 4 มิถุนายน ค.ศ. 1970 สถานะอารักขาสิ้นสุดลง จากการเตรียมการมาตั้งแต่รัชสมัยของสมเด็จพระราชินีนาถซาโลเต ตูโปอูที่ 3 จนกระทั่งพระองค์สวรรคตใน ค.ศ. 1965

  • พระเจ้าจอร์จ ตูโปอูที่ 2เสด็จในการเปิดรัฐสภาตองงาใน ค.ศ. 1900
  • ริชาร์ด เซ็ดดอนและภริยาในคราวเปิดรัฐสภา ค.ศ. 1900
  • ราชบัลลังก์, ค.ศ. 1900.
  • อนุสาวรีย์เกรตวอร์ ค.ศ. 1914–18 ในนูกูอาโลฟา
  • กองกำลังป้องกันตองงาสวนสนามฉลองการยอมจำนนของอิตาลีใน ค.ศ. 1945
  • บิชอปจอห์น โรเจอร์, ปีซีลาและวูลี เซอูลีร่วมชมการเต้นรำ เนื่องในโอกาสการเปิดโบสถ์คาทอลิกในโกโลโฟโออูใน ค.ศ. 1967

ใกล้เคียง

ราชอาณาจักรอิตาลี ราชอาณาจักรยูโกสลาเวีย ราชอาณาจักรกัมพูชา (พ.ศ. 2496–2513) ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ ราชอาณาจักรฮังการี (ค.ศ. 1920–1946) ราชอาณาจักรปรัสเซีย ราชอาณาจักรโรมาเนีย ราชอาณาจักรนาวาร์ ราชอาณาจักรมาเกโดนีอา ราชอาณาจักรเซอร์เบีย