ข้อสรุป ของ รายงานเฮิร์ช

รายงานมีข้อสรุปดังต่อไปนี้

  • จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลกจะเกิดขึ้น และน่าจะเกิดอย่างกระทันหัน
    • การผลิตน้ำมันจากแหล่งสามัญจะถึงจุดสูงสุด แล้วจะลดลงหลังจากนั้น
    • มีบางคนที่พยากรณ์ว่าจะเกิดขึ้นภายในทศวรรษ แต่บางคนว่าจะเกิดภายหลัง
    • จะมีการถึงจุดสูงสุด แต่ว่า กรอบเวลายังไม่แน่นอน
  • เหตุการณ์จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จะมีผลต่อเศรษฐกิจโลก โดยเฉพาะของสหรัฐอเมริกา
    • ในศตวรรษที่ผ่านมา เศรษฐกิจสหรัฐ ดีขึ้นและแย่ลงตามน้ำมันที่มีในราคาถูก
    • การสูญเสียทางเศรษฐกิจของสหรัฐ อาจจะอยู่ในระดับล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
    • ประสิทธิภาพการใช้เชื้อเพลิงที่เฉียบขาด และการผลิตเชื้อเพลิงทางเลือก จะช่วยในการบรรเทาพอสมควร
  • จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จะเป็นเรื่องท้าทายที่ไม่เหมือนปัญหาอื่น
    • ถ้าไม่มีมาตรการบรรเทาที่กว้างขวางใหญ่โต ปัญหาจะเป็นแบบทั่วระบบและจะเป็นปัญหาระยะยาว
    • การเปลี่ยนการใช้พลังงานในสมัยก่อน ๆ (จากไม้ไปสู่ถ่านหิน จากถ่านหินไปสู่น้ำมัน) เป็นเหตุการณ์ค่อยเป็นค่อยไป เป็นไปแบบวิวัฒนาการ
    • จุดผลิตน้ำมันสูงสุด จะเป็นเรื่องฉับพลัน จะเป็นไปแบบปฏิวัติ
  • ปัญหาก็คือเชื้อเพลิงเหลวเพื่อการขนส่ง
    • อายุใช้งานของอุปกรณ์การขนส่ง วัดเป็นเวลาทศวรรษ ๆ
    • การเปลี่ยนอุปกรณ์การขนส่งอย่างรวดเร็วเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้
    • ยานพาหนะยนต์ เครื่องบิน รถไฟ และเรือ ยังไม่พร้อมที่จะใช้พลังงานอย่างอื่นนอกจากเชื้อเพลิงเหลว
  • มาตรการบรรเทาจะต้องใช้เวลาพอสมควร
    • ถ้าไม่เริ่มมาตรการบรรเทาจนกระทั่งถึงจุดผลิตสูงสุด โลกจะขาดแคลนเชื้อเพลิงเหลวเป็นเวลานานถึง 20 ปี
    • การเริ่มโปรแกรมเร่งด่วน 10 ปีก่อนจะถึงจุดสูงสุด จะทำให้ขาดแคลนเชื้อเพลิงเหลวเป็นเวลา 10 ปี
    • การเริ่มโปรแกรมเร่งด่วน 20 ปีก่อนจะถึงจุดสูงสุด อาจจะทำให้ไม่ขาดแคลนเลย
  • มาตรการบรรเทาต้องทำทั้งด้านอุปสงค์ (demand) และอุปทาน (supply)
    • น้ำมันราคาสูงต่อเนื่องกัน จะลดอุปสงค์ (ก่อให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยและการว่างงาน)
    • การผลิตเชื้อเพลิงเหลวทางเลือกเป็นจำนวนสามารถทำได้ และจะต้องทำ
    • การผลิตเชื้อเพลิงเหลวทางเลือก มีเทคโนโลยีที่ทำได้ และเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ
  • เป็นเรื่องการจัดการความเสี่ยง
    • จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลก เป็นปัญหาการจัดการความเสี่ยงแบบคลาสสิก
    • มาตรการบรรเทาที่ทำก่อนที่จะต้องทำ อาจจะเกิดขึ้น ถ้าการถึงจุดสูงสุดล่าช้าออกไป
    • แต่ถ้าการถึงจุดสูงสุดเร็วกว่าที่คาด การไม่มีมาตรการบรรเทาจะทำให้เกิดความเสียหายอย่างยิ่ง
  • การแทรกแซงของรัฐบาลเป็นเรื่องจำเป็น
    • ไม่เช่นนั้นแล้ว ผลทางเศรษฐกิจและสังคมของจุดผลิตน้ำมันสูงสุด อาจจะทำให้เกิดความวุ่นวายมาก
    • ความเร่งด่วนอาจจะต้องอาศัยการเปลี่ยนแปลง ในระบบการบริหารและการควบคุมของรัฐที่มีอยู่
  • ปัญหาทางเศรษฐกิจไม่ใช่หลีกเลี่ยงไม่ได้
    • แต่ถ้าไม่มีมาตรการบรรเทา จุดผลิตน้ำมันสูงสุดของโลกจะก่อให้เศรษฐกิจเสียหายอย่างรุนแรง
    • ถ้ามีเวลาล่วงหน้าพอ ปัญหาสามารถแก้ได้ด้วยเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว
    • เทคโนโลยีใหม่ ๆ จะช่วยได้ แต่ต้องจะเป็นไปในระยะเวลายาวกว่า
  • ต้องหาข้อมูลเพิ่ม
    • การแก้ปัญหาจุดผลิตน้ำมันสูงสุดที่มีประสิทธิผล จะต้องอาศัยความเข้าใจปัญหาที่ดีกว่าที่มีในปัจจุบัน
    • ต้องตรวจสอบความเสี่ยงและประโยชน์ที่อาจจะมี ของมาตรการบรรเทาที่พอจะทำได้

ใกล้เคียง

รายงานพิเศษว่าด้วยภาวะโลกร้อน 1.5 °ซ. รายงานผู้ป่วย รายงานเฮิร์ช รายงานอาหาร โภชนาการ กิจกรรมทางกาย และการป้องกันมะเร็ง: ทัศนมิติโลก รายงานความสุขโลก รายงานประจำปี รายงานกรุงบูดาเปสต์เรื่องการประกันความมั่นคง รายงานค่าใช้จ่าย รายงานการประชุม รายการรหัสไปรษณีย์ไทย

แหล่งที่มา

WikiPedia: รายงานเฮิร์ช http://knowledge.allianz.com/search.cfm?336/signif... http://www.apogeeprime.com/prime/extracts/release.... http://old.globalpublicmedia.com/interviews/615 http://www.nytimes.com/2007/07/22/business/22refin... http://www.resourceinvestor.com/pebble.asp?relid=1... http://vimeo.com/34571708 http://netl.doe.gov/File%20Library/Research/Energy... http://www.netl.doe.gov/publications/others/pdf/Oi... http://www.d-n-i.net/fcs/hirsch_bio.htm http://www.energybulletin.net/node/7524