รายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทยตั้งแต่_พ.ศ._2539

ประเทศไทยใช้การประหารชีวิตด้วยการยิงเป้านี้ตั้งแต่ พ.ศ. 2477 ถึง พ.ศ. 2546 หลังจากการแก้ไขประมวลกฎหมายลักษณะอาญา ร.ศ.127 ว่าด้วยการประหารชึวิตจากการ "ให้เอาไปตัดศีรษะเสีย" เป็น "ให้เอาไปยิงเสียให้ตาย" ในปี พ.ศ. 2477 ปืนกลมือที่ใช้ประหารชีวิตครั้งแรกเป็นเอ็มเพ 18 หรือ เบิร์กมันน์ เอ็มเพ 18 โดยใช้ในการประหารชีวิตสิบเอกสวัสดิ์ มะหะหมัด 12 กันยายน พ.ศ. 2478 ต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้มีการเปลี่ยนปืนกลมือจากเบิร์กมันน์เป็นเฮคแลร์อุนด์คอค เอ็มเพ 5 หรือ ปืนกลมือเอ็มพี 5 เอสดี 3 สำหรับปืนกลมือเบิร์กมันน์นี้ใช้ประหารชีวิตผู้ต้องขังมาแล้วจำนวน 213 คน โดยการประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทยส่วนใหญ่จะประหารชีวิตที่เรือนจำกลางบางขวาง โดยการประหารชีวิตในเรือนจำของจังหวัดที่เกิดเหตุจะเป็นการประหารโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีด้วยอำนาจมาตรา 21 หรือมาตรา 200 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยซึ่งเป็นการประหารชีวิตในช่วงนายกรัฐมนตรีเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ โดยหลังจากการประหารชีวิตพลทหารสายทอง แสงแก้ว เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ที่เรือนจำจังหวัดอุดรธานี ในความผิดฐานร่วมกันข่มขืนกระทำชำเราและฆ่าคนตายโดยเจตนา ซึ่งการประหารของเขาเดิมจะเกิดขึ้นที่เรือนจำกลางอุดรธานีเมื่อวันที่10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522 ที่เรือนจำกลางอุดรธานีพร้อมกับผู้ก่อเหตุคนอื่น 3 คน แต่เมื่อ 04.30 น. เขาได้ก่อเหตุพยายามอัตวินิบาตกรรมโดยการแทงตนเองด้วยขวดน้ำปลาที่ทุบเป็นปากฉลามในห้องควบคุมพิเศษของเรือนจำมณฑลทหารบกที่ 3 แต่รอดชีวิตมาได้ การประหารชีวิตของเขาจึงเลื่อนออกไปเป็นวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ซึ่งหลังจากการประหารชีวิตสายทองการ ประหารชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นที่เรือนจำกลางบางขวาง[1] [2]หลังจากการประหารชีวิตสมโภชน์ ชื่นชม, ไพริน ณ วันดี, คำพัน อรรถศรี และ สุวรรณ คำภูษา เมื่อวันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2530 ในความผิดฐานฆาตกรรม ประเทศไทยได้ไม่มีการประหารชีวิตเป็นเวลาเกือบ 9 ปี ก่อนจะกลับมาประหารชีวิตใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2539 โดยเป็นการประหารชีวิตพรหมมาศ หรือ จุ่น เลื่อมใส อายุ 38 ปี ชาวอำเภอพานทอง จังหวัดชลบุรี โดยถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2539 ในความผิดฐานปล้นทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายจากการฆาตกรรมพลเมืองดีระหว่างการปล้นร้านขายยา ที่อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา และยังได้ก่อเหตุฆาตกรรมลูกเรือที่ร้านอาหารในอำเภอสัตหีบและเจ้าหน้าที่ตำรวจขณะจับกุมวงไพ่ที่อำเภอพานทอง[3] ในช่วงปี พ.ศ. 2528 ถึง พ.ศ. 2530[4][5] ต่อมาหลังจากการประหารชีวิต สุดใจ ชนะในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2545[6] ในปี พ.ศ. 2546 รัฐบาลได้มีการเสนอแก้พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 16) พ.ศ. 2546 โดยแก้ไขมาตรา 19 ว่า " ผู้ใดต้องโทษประหารชีวิต ให้ดำเนินการด้วยวิธีฉีดยาหรือสารพิษให้ตาย"ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาโดยเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 19 กันยายน 2546 โดยเป็นการเปลี่ยนวิธีการประหารชีวิตจากการยิงเป้าเป็นการฉีดสารพิษ[7][8][9]

ใกล้เคียง

รายชื่อตอนในยอดนักสืบจิ๋วโคนัน (แอนิเมชัน) รายชื่อสถานีรถไฟ สายใต้ รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย รายชื่อสัตว์ รายชื่อตอนในวันพีซ (อนิเมะ) รายชื่อเขตของกรุงเทพมหานคร รายชื่อตัวละครในวันพีซ รายชื่อตัวละครในดาบพิฆาตอสูร รายชื่อสมาชิกบีเอ็นเคโฟร์ตีเอต รายชื่อตัวละครในนินจาคาถาโอ้โฮเฮะ

แหล่งที่มา

WikiPedia: รายชื่อบุคคลที่ถูกประหารชีวิตด้วยการยิงเป้าในประเทศไทยตั้งแต่_พ.ศ._2539 http://www.correct.go.th/copbank/page_5.htm https://www.amnesty.org/en/documents/asa39/005/199... https://www.amnesty.org/en/documents/asa39/004/199... https://www.amnesty.org/en/documents/asa39/004/199... https://www.amnesty.org/en/documents/asa39/001/199... https://www.amnesty.org/en/documents/asa39/001/199... https://www.amnesty.org/es/wp-content/uploads/2021... https://www.amnesty.org/es/wp-content/uploads/2021... https://www.amnesty.org/en/wp-content/uploads/2021... https://www.amnesty.org/en/documents/asa39/003/200...