รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์
รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์

รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์

นี่คือ รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์ ตั้งแต่การสถาปนากรุงคอนสแตนติโนเปิลในปีค.ศ. 330 ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นโดยทั่วไปของจักรวรรดิโรมันตะวันออก หรือ จักรวรรดิไบแซนไทน์ ไปจนถึงการเสียกรุงคอนสแตนติโนเปิลแก่จักรวรรดิออตโตมันในปีค.ศ. 1453 มีเพียงจักรพรรดิเท่านั้นที่ได้รับการยอมรับว่าเป็นผู้ปกครองที่ถูกต้องตามกฎหมายและมีพระราชอำนาจในการใช้อำนาจอธิปไตย รวมทั้งการแยกตำแหน่งจักรพรรดิร่วม (symbasileis:ซิมบาซิเลอิส) ผู้ซึ่งไม่เคยเป็นสถานะของผู้ปกครอง และไม่นับรวมผู้ช่วงชิงราชบัลลังก์หรือกบฏที่ทำการอ้างสิทธิในตำแหน่งจักรพรรดิตามประเพณีโบราณ สายสันตติวงศ์ของจักรพรรดิไบแซนไทน์จะเริ่มร่วมกับจักรพรรดิโรมัน จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช จักรพรรดิคริสตศาสนิกชนพระองค์แรก ผู้ทรงสร้างเมืองบิแซนเทียมขึ้นมาใหม่ในฐานะราชธานี นามว่า คอนสแตนติโนเปิล และเป็นผู้ซึ่งได้รับการยกย่องจากจักรพรรดิไบแซนไทน์ในสมัยหลังในฐานะรูปแบบของผู้ปกครอง ลักษณะเด่นสำคัญของรัฐไบแซนไทน์ได้เกิดขึ้นในรัชสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน คือ ระบบการปกครองได้มีศูนย์กลางอยู่ที่คอนสแตนติโนเปิลและถูกครอบงำทางวัฒนธรรมโดยกรีกตะวันออกกับศาสนาคริสต์ที่เป็นศาสนาประจำชาติจักรพรรดิไบแซนไทน์ทุกพระองค์ขนามนามพระองค์เองว่า "จักรพรรดิโรมัน"[2] คำว่า "ไบแซนไทน์" นั้นได้ถูกประกาศใช้โดยประวัติศาสตร์นิพนธ์ตะวันตกในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ตำแหน่ง "จักรพรรดิโรมัน" ไม่ได้ถูกท้าทายมาก่อนจนกระทั่งสมเด็จพระสันตะปาปาทรงประกอบพระราชพิธีราชาภิเษกสวมมงกุฎให้แก่กษัตริย์ชาวแฟรงก์ คือ พระเจ้าชาร์เลอมาญ ในฐานะ "จักรพรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์" (25 ธันวาคม ค.ศ. 800) เป็นการกระทำเพื่อตอบโต้พระราชพิธีราชาภิเษกไบแซนไทน์ จักรพรรดินีไอรีน ซึ่งเป็นสตรี โดยไม่ได้รับการยอมรับจากสมเด็จพระสันตะปาปาลีโอที่ 3ตำแหน่งของจักรพรรดิทั้งหมดก่อนหน้าจักรพรรดิเฮราคลิอัสมีตำแหน่งอย่างเป็นทางการว่า "ออกัสตัส" (Augustus) ถึงแม้ว่าจะมีตำแหน่งอื่นที่ใช้อย่าง โดมินัส (Dominus) ชื่อตำแหน่งทั้งหลายก่อนหน้ามาจาก อิมเพอเรเตอร์ (Imperator) ซีซาร์ (Caesar) และตามมาด้วย ออกัสตัส ต่อมาในรัชสมัยจักรพรรดิเฮราคลิอัส ชื่อตำแหน่งได้กลายเป็นภาษากรีกคือ บาซิลิอัส (Basileus; ภาษากรีก:Βασιλεύς) ซึ่งมีความหมายแต่เดิมว่า ประมุข แต่ถูกใช้เพื่อแทนที่คำว่า ออกัสตัส ตามมาด้วยการสร้างศัตรูกับจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในยุโรปตะวันตก ตำแหน่ง "ออโตคราเตอ" (Autokrator; ภาษากรีก:Αὐτοκράτωρ) ได้ถูกนำมาใช้มากขึ้น ในหลายศตวรรษต่อมา จักรพรรดิถูกกล่าวถึงโดยชาวคริสต์ตะวันตกว่าเป็น "จักรพรรดิแห่งกรีก" ในช่วงสุดท้ายของจักรวรรดิ จักรพรรดิจะเรียกตนเองว่า "[พระนามจักรพรรดิ]ในพระคริสต์ จักรพรรดิและอัตตาธิปัตย์แห่งชาวโรมัน"ในช่วงยุคกลาง ระบบราชวงศ์ถือเป็นเรื่องปกติแต่หลักการสืบราชสันตติวงศ์ไม่ได้ถูกทำให้เป็นทางการในจักรวรรดิ[3] และการสืบราชสันตติวงศ์มีความเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีมากกว่าหลักการที่กำหนดเป็นกฎหมาย[4]รวมทั้งราชวงศ์พาลาโอโลกอส ได้อ้างสิทธิในจักรพรรดิไบแซนไทน์ขณะลี้ภัย มีจักรพรรดิทั้งหมด 99 พระองค์ในระยะเวลา 1,000 ปีของจักรวรรดิไบแซนไทน์

รายพระนามจักรพรรดิไบแซนไทน์

เริ่มระบอบ 11 พฤษภาคม ค.ศ. 330
สิ้นสุดระบอบ 29 พฤษภาคม ค.ศ. 1453
(1,123 ปี 18 วัน)
องค์สุดท้าย จักรพรรดิคอนสแตนตินที่ 11 พาลาโอโลกอส
สถานพำนัก พระราชวังคอนสแตนติโนเปิล
ผู้แต่งตั้ง ไม่ระบุ, โดยพฤตินัย, สืบราชสันตติวงศ์ทางสายโลหิต[1]
ปฐมกษัตริย์ จักรพรรดิคอนสแตนตินมหาราช

ใกล้เคียง

รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ รายพระนามเจ้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรี รายพระนามจักรพรรดิและพระมหากษัตริย์จีน รายพระนามฟาโรห์ รายพระนามและชื่ออธิบดีกรมตำรวจและผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของไทย รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์เกาหลี รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา