รายพระนามพระมหากษัตริย์แห่งคุช

บทความนี้เป็นบทความที่ยังไม่สมบูรณ์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับรายพระนามผู้ปกครอง หรือที่เรียกว่า กอเร (กษัตริย์) หรือ คันดาเค (ราชินี) แห่งอาณาจักรคุช (นิวเบีย) เวลาการครองราชย์บางพระองค์ก็ยังคงเป็นช้อสันนิษฐานอยู่ และมีน้อยพระองค์เท่านั้นที่มีลำดับและระยะการครองราชย์ที่แน่นอน รวมถึงผู้ปกครองที่ได้ปกครองอาณาจักรอียิปต์โบราณ (ในช่วงสมัยราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า) และผู้ที่ปกครองที่มีชื่อเสียงในการทำสงครามหรือการเดินทางทางการค้า ซึ่งจัดลำดับโดยพริตซ์ ฮินต์เซ่ โดยการคำนวณระยะเวลาครองราชย์ของผู้ปกครองแต่ละพระองค์ว่าปกครองเป็นเวลาสั้นหรือยาวก็ขึ้นอยู่กับการตกแต่ง ความสวยงามและขนาดของหลุมฝังพระศพ เนื่องจากการสันนิษฐานว่าหากผู้ปกครองผู้ที่ปกครองในเวลาที่นานก็จะมีเวลาที่จะเพิ่มเติมส่วนประกอบของหลุมฝังพระศพด้วยการตกแต่ง และสิ่งของเครื่องใช้ แต่ก็มีปัญหาถกเถียงว่าหลุมฝังพระศพนั้นเป็นของผู้ปกครองพระองค์ใดระยะเวลาการปกครองที่ชัดเจนและถูกต้อง ส่วนใหญ่จะเป็นผู้ปกครองที่ได้ยึดอำนาจของอียิปต์ในช่วงราชวงศ์ที่ยี่สิบห้า และเมื่ออียิปต์ได้พ้นจากอำนาจของอาณาจักรคุช ก็จะมีผู้ปกครองดังนี้ที่ทราบถึงการครองราชย์ที่แน่นอนคือ กษัตริย์แอสเพลตา, อราคามานิ, นาสตาเซน และมีพระราชินีดังนี้ พระนางซานัคดาเคเต, อมานิเรนาส, อมานิซาเคโต, อมานิโตเร และ อมานิคาตาซานในช่วงต้นของอาณาจักรคุชก็ยังคงคลุมเครืออยู่ บริเวณหลุมฝังพระศพและปิรามิดในซูดานมีอย่างน้อยสิบสี่แห่ง[1] และมีหลุมฝังพระศพที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดที่สร้างเมื่อประมาณ 1020 ปีก่อนคริสตกาล ก่อนสมัยการปกครองของผู้ปกครองนามว่า ปิเย สองหลุมฝังพระศพในทั้งหมดทราบว่าเป็นของกษัตริย์อลาราและคาซตา นอกจากนี้ยังอาจเป็นไปได้ว่าหลุมฝังพระศพหนึ่งในสิบสี่แห่งอาจจะเป็นของกษัตริย์อาเซอร์คามานิ ซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงเวลา 950 ปีก่อนคริสตกาล และดำเนินการเดินทางในอียิปต์และตามชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในแอฟริกาเหนือ

ใกล้เคียง

รายพระนามพระมหากษัตริย์ไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์อังกฤษ รายพระนามจักรพรรดิและพระมหากษัตริย์จีน รายพระนามเจ้านายพระชันษายืนในราชวงศ์จักรี รายพระนามฟาโรห์ รายพระนามพระสันตะปาปา รายพระนามและชื่อภรรยาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รายพระนามพระมหากษัตริย์กัมพูชา รายพระนามและชื่อผู้บัญชาการทหารบกไทย รายพระนามพระมหากษัตริย์เกาหลี