ศัพทมูล ของ ราวณะ

รูปสลักราวณะที่นครวัด ประเทศกัมพูชา คริสต์ศตวรรษที่ 12

คำว่า "ราวณ" ในภาษาสันสกฤต หมายความว่า "กู่ร้อง" เป็นศัพท์ตรงข้ามของ "ไวศรวณ" (वैश्रवण vaiśravaṇa) ที่แปลว่า "เงี่ยหูฟัง"[6]

เอฟ. อี. พาร์กิเทอร์ (F. E. Pargiter) ข้าราชการชาวอังกฤษ เห็นว่า คำ "ราวณ" อาจมาจากการแปลงคำ "อิไรวน" (Iraivan) ในภาษาทมิฬ ที่แปลว่า "เจ้า" หรือ "ราชา" ให้เป็นสันสกฤต[7]

ราวณะยังเป็นที่รู้จักด้วยชื่ออื่น เช่น "ทศกัณฐ์" แปลว่า "สิบคอ", "ทศพักตร์" แปลว่า "สิบหน้า", "ลงเกศวร" แปลว่า "เจ้าลงกา", "ราวเณศวร" แปลว่า "ท้าวราวณะ" ฯลฯ[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ราวณะ http://books.google.com/books?id=XkifYfljHP4C http://www.hindustantimes.com/ http://www.hindustantimes.com/noida/ravana-in-noid... http://ibnlive.in.com/news/on-dussehra-village-cri... http://indianexpress.com/article/cities/delhi/only... http://timesofindia.indiatimes.com/city/noida/Bisr... http://www.tribuneindia.com/2007/20071021/spectrum... https://books.google.com/books?id=lr9pFQPwhXYC https://it.scribd.com/doc/36055988/Early-Tamils-of... https://books.google.co.in/books?id=DH0vmD8ghdMC