ราโมนส์_(อัลบั้ม)
ราโมนส์_(อัลบั้ม)

ราโมนส์_(อัลบั้ม)

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งราโมนส์ (อังกฤษ: Ramonescode: en is deprecated ) เป็นสตูดิโออัลบั้มเปิดตัวของวงพังก์ร็อกสัญชาติอเมริกา ราโมนส์ เปิดตัวในวันที่ 23 เมษายน ค.ศ. 1976 ผ่านทางค่ายไซร์ จุดเริ่มต้นของอัลบั้มนี้เริ่มขึ้นจาก ลิซา โรบินสัน บรรณาธิการของนิตยสารฮิตพาราเดอร์ ได้ชมการแสดงของราโมนส์ในนิวยอร์ก โรมบินสันจึงได้เขียนบทความเกี่ยวกับพวกเขาและได้ติดต่อกับแดนนี ฟีลด์ส เพื่อให้เขามาเป็นผู้จัดการวง ฟีลด์ส ก็ได้ตอบตกลงและโน้มน้าวเคร็ก ลีออน ให้มาเป็นโปรดิวเซอร์ให้กับวง ราโมนส์ได้เริ่มทำการบันทึกเสียงในรูปแบบของเดโม เพื่อหาค่ายเพลงในอนาคต ลีออน ได้ชักชวนเซย์มัวร์ สไตน์ ประธานค่ายไซร์ มารับชมการแสดงของพวกเขา จนในที่สุดในเวลาต่อมาเขาก็ยินดีเซนต์สัญญาบันทึกเสียงผ่านทางค่าย ราโมนส์ ได้เริ่มบันทึกเสียงในเดือนมกราคม ค.ศ. 1976 โดยมีเวลาให้เพียง 7 วัน กับเงินสดสนับสนุน $6,400 เพื่อใช้ในการบันทึกเสียงครั้งนี้ ราโมนส์ได้ใช้เทคนิคเสียงที่คล้ายคลึงกับเดอะบีเทิลส์ บวกกับเทคนิคขั้นสูงที่คิดค้นโดยลีออนหน้าปกหน้าอัลบั้ม เป็นรูปสมาชิกวงทั้งสี่คนยืนพิงผนังอิฐในนิวยอร์ก ซึ่งถูกถ่ายขึ้นโดย โรเบอร์ทา เบย์ลีย์ จากนิตยสารพังก์ ด้วยงบประมาณที่ค่ายเพลงให้สำหรับทำหน้าปกหน้าเพียง 125 ดอลลาร์เท่านั้น แต่มันกลับกลายเป็นหนึ่งในอัลบั้มที่ถูกนำมาเลียนแบบมากที่สุดตลอดกาล[1] ส่วนปกหลังเป็นหัวเข็มขัดรูปนกอินทรี พร้อมกับรายละเอียดต่างๆ ภายหลังอัลบั้มนี้ได้ถูกจำหน่ายออกไป กลับไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยการไม่ติดอันดับชาร์ตบนๆ จนราโมนส์ได้ใช้การทัวร์คอนเสิร์ต เพื่อกระตุ้นยอดจำหน่าย โดยส่วนมากมักแสดงสดในสหรัฐอเมริกา และก็มีสองครั้งในอังกฤษเนื้อหาหลักของอัลบั้มพูดถึง ความรุงแรง สารเสพติด ปัญหาความสัมพันธ์ ความตลก และลัทธินาซี โดยมีซิงเกิลเปิดอัลบั้ม คือ "Blitzkrieg Bop" ที่ถือว่าเป็นเพลงที่ได้รับการจดจำมากที่สุดของวง ซิงเกิลส่วนใหญ่ในอัลบั้มใช้จังหวะที่เร็ว (uptempo) ด้วยจังหวะของหลายเพลงมีอัตราเฉลี่ยที่ 160 บีตส์ต่อนาที และเพลงส่วนใหญ่มักสั้นๆ คือเพียง 1 นาทีครึ่งจนถึง 2 นาทีเท่านั้น โดยซิงเกิล "I Don't Wanna Go Down to the Basement" เป็นซิงเกิลที่ยาวที่สุดของอัลบั้มนี้ (2.35 นาที) ราโมนส์ยังมีการโคเวอร์เพลงของคริส มอนเทซ ในซิงเกิล "Let's Dance"อัลบั้ม ราโมนส์ ติดอันดับ 111 บนบิลบอร์ด 200 ซึ่งไม่ประสบความสำเร็จทางพาณิชย์เลย แต่ก็ได้รับคำชมมากมายจากนักวิจารณ์ที่มีชื่อเสียง จนในเวลาต่อมาก็ได้ยกย่องเป็นการบันทึกเสียงที่ทรงอิทธิพลอย่างสูง และได้รับยกย่องอันทรงเกียรติมากมาย ทั้ง การติดท็อปในหัวข้อ "50 การบันทึกเสียงพังก์ที่สำคัญที่สุด" ของนิตยสารสปิน ราโมนส์ ได้กลายเป็นแรงบรรดาลใจให้กับวงดนตรีมากมาย เช่น เซ็กซ์พิสทอลส์, บัซซ์คอกส์ และเดอะแคลช รวมไปถึงวงอื่นๆ อีกมากมาย ราโมนส์ ได้จุดประกายคลื่นพังก์ร็อก ทั้งในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ รวมไปถึงมีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวเพลงร็อก ทั้งแนวกรันจ์ และเฮฟวี่เมทัล อัลบั้มได้ติดอันดับ 33 บนหัวข้อ "500 อัลบั้มที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล" โดยนิตยสารโรลลิงสโตนส์ ในปี ค.ศ. 2012[2] และได้รับการยืนยันยอดจำหน่ายจากสมาคมผู้ประกอบกิจการเพลงของสหรัฐอเมริกา ในระดับทองคำ ในปี ค.ศ. 2014[3]

ราโมนส์_(อัลบั้ม)

วางตลาด 23 เมษายน ค.ศ. 1976
ความยาว 29.04
ค่ายเพลง
บันทึกเสียง กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1976
ที่พลาซาซาวด์, เรดิโอซิตีมิวสิกฮอล นิวยอร์กซิตี กรุงนิวยอร์ก, สหรัฐอเมริกา
แนวเพลง พังก์ร็อก
โปรดิวเซอร์ เคร็ก ลีออน, ทอมมี ราโมนส์

ใกล้เคียง

ราโมนส์ ราโมน่า ซาโนลารี่ ราโมนส์ (อัลบั้ม) ราโมน บารังเกที่ 4 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา ราโมน บารังเกที่ 3 เคานต์แห่งบาร์เซโลนา รามมนเทียร รามนาตจุวามิโกยิล ราม นาถ โกวินท์ รามมนเทียร (ภุพเนศวร) ราโมส (พระราชโอรสในอาโมสที่หนึ่ง)