รีเฟล็กซ์ในมนุษย์ ของ รีเฟล็กซ์

รีเฟล็กซ์ทั่วไป

รีเฟล็กซ์ทั่วไป (Typical Reflex) คือ รีเฟล็กซ์ที่มีรูปแบบโดยทั่วไป คือ วงจรเซลล์ประสาทที่รับรู้และทำให้เกิดรีเฟล็กซ์ ได้แก่

  • เซลล์ประสาทรับความรู้สึก (sensory neuron)
  • เซลล์ประสาทที่สื่อสารภายในระบบประสาทส่วนกลาง (interneuron)
  • เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron)

รีเฟล็กซ์เอ็นลึก

รีเฟล็กซ์เอ็นลึก (deep tendon reflexes) เป็นปฏิกิริยาของร่างกายที่เกิดจากการทำงานร่วมกันของระบบประสาทส่วนกลางและระบบประสาทส่วนรยางค์ โดยปกติหากร่างกายมนุษย์มีรีเฟล็กซ์ที่ลดลง มักหมายถึงร่างกายมีความผิดปกติในระบบประสาทส่วนรยางค์ แต่หากมีรีเฟล็กซ์มากเกินไป มักหมายความว่าระบบประสาทส่วนกลางอาจมีความผิดปกติได้

รีเฟล็กซ์ที่มักพบเฉพาะในทารก

ดูบทความหลักที่: รีเฟล็กซ์ดั้งเดิม
Grasp reflex

เด็กแรกเกิดจะมีรีเฟล็กซ์บางอย่างที่มักไม่พบในผู้ใหญ่ เรียกว่า รีเฟล็กซ์ดั้งเดิม (primitive reflexes) [3] เช่น

  • อะซิมเมทริเคิล โทนิค เน็ค รีเฟล็กซ์ (Asymmetrical tonic neck reflex ย่อว่า ATNR)
  • แกรสป รีเฟล็กซ์ (Grasp reflex)
  • แฮนด์ทูเมาธ์ รีเฟล็กซ์ (Hand-to-mouth reflex)
  • มอโร รีเฟล็กซ์ หรือสตาเติล รีเฟล็กซ์ (Moro reflex หรือ the startle reflex)
  • การดูด (Sucking)
  • ซิมเมทริเคิล โทนิค เน็ค รีเฟล็กซ์ (Symmetrical tonic neck reflex ย่อว่า STNR)
  • โทนิค แลบีริงธีน รีเฟล็กซ์ (Tonic labyrinthine reflex ย่อว่า TLR)

การวัดระดับรีเฟล็กซ์

มักเป็นระบบที่ให้คะแนนตั้งแต่ 0 ถึง 4:[4]

เกรดความหมาย
0ไม่มี (Absent)
1+ หรือ +น้อยไป (Hypoactive)
2+ หรือ ++ปกติ (Normal)
3+ หรือ +++มากไปแต่ไม่มีโคลนัส (Hyperactive without clonus)
4+ หรือ ++++มากไปและมีโคลนัส (Hyperactive with clonus)
  • ทั้งนี้ โคลนัส คือ อาการหดเกร็งของกล้ามเนื้อนอกเหนืออำนาจจิตใจเมื่อมีการยืดตัวของกล้ามเนื้ออย่างทันที