รุ้งหมอก
รุ้งหมอก

รุ้งหมอก

รุ้งหมอก หรือบางครั้งเรียก รุ้งสีขาว[1] เป็นปรากฏการณ์คล้ายรุ้งกินน้ำ แต่เกิดขึ้นกับหมอก[2] รุ้งหมอกมีสีอ่อนมากเมื่อเทียบกับรุ้งกินน้ำ เนื่องจากละอองน้ำที่ก่อตัวเป็นหมอกมีขนาดเล็กมาก (เล็กกว่า 0.05 มิลลิเมตร) รุ้งหมอกมีด้านนอกเป็นสีแดง และด้านในเป็นสีน้ำเงิน[3]รุ้งหมอกปรากฏด้านตรงข้ามกับดวงอาทิตย์เช่นเดียวกับรุ้งกินน้ำ[4] สาเหตุที่รุ้งหมอกมีสีอ่อนกว่ารุ้งกินน้ำมาจากละอองน้ำมีขนาดเล็กมาก ส่งผลให้ไม่สามารถผ่านและหักเหแสงจนได้สีที่เด่นชัด ดังนั้นสีของรุ้งหมอกจึงซ้อนทับและกลืนเป็นสีเดียวกันคือสีขาว[5] ละอองน้ำเหล่านี้ยังมีส่วนทำให้รุ้งหมอกมีความหนาและปรากฏใกล้กับพื้นดินมากกว่ารุ้งกินน้ำ เนื่องจากละอองน้ำขนาดเล็กทำให้ไม่สามารถหักเหแสงได้มาก แต่ส่งผลให้แสงเลี้ยวเบนจนเกิดเป็นวงที่มีสีซ้อนทับเป็นสีขาว[6] ซึ่งบางครั้งปรากฏเป็นวงกลม 360°รุ้งหมอกสามารถเกิดกับเมฆและสังเกตได้จากเครื่องบิน เรียกว่า รุ้งเมฆ (cloud bow) และสามารถปรากฏในตอนกลางคืนจากแสงจันทร์ เรียกว่า รุ้งหมอกจันทรา (lunar fog bow)[7]

แหล่งที่มา

WikiPedia: รุ้งหมอก http://www.atoptics.co.uk/droplets/fogbow.htm http://www.atoptics.co.uk/droplets/fogmoon.htm http://www.metoffice.gov.uk/learning/rainbows/fogb... https://books.google.com/books?id=-skKAAAAYAAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=-skKAAAAYAAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=PJ45AAAAcAAJ&pg=... https://books.google.com/books?id=fFAEAAAAYAAJ&pg=... https://qz.com/850492/what-makes-a-rainbow-white/ https://www.washingtonpost.com/news/capital-weathe... https://earthsky.org/earth/what-is-a-fogbow/