พายุ ของ ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก_พ.ศ._2559

พายุเฮอริเคนปาลี

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา7 – 15 มกราคม
ความรุนแรง100 ไมล์/ชม. (155 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
977 mbar (hPa; 28.85 inHg)

ฤดูกาล พ.ศ. 2559 นี้ เริ่มต้นด้วยเศษที่หลงเหลือของพายุดีเปรสชันเขตร้อนเก้าซี ซึ่งถูกทิ้งไว้เป็นบริเวณชื้นขนาดใหญ่เบื้องหลัง ในมหาสมุทรแปซิฟิกบริเวณเส้นศูนย์สูตร การเปลี่ยนเป็นลมตะวันตกอย่างฉับพลันที่มีประสิทธิภาพ เป็นคุณลักษณะทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์เอลนีโญที่รุนแรง ซึ่งกระตุ้นการก่อกำเนิดของพายุหมุนภายในการแปรปรวน ผลที่ได้คือการก่อตัวของหย่อมความกดอากาศต่ำ สาเหตุมาจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่สูงขึ้นอย่างผิดปกติ ที่ประมาณ 29.5°ซ (85.1°ฟ)

  • วันที่ 7 มกราคม ระบบรวมตัวกันก่อตัวเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน นี่แสดงให้เห็นถึงการก่อตัวของพายุลูกแรกที่เร็วที่สุดที่เคยบันทึกได้ในมหาสมุทรแปซิฟิกกลาง ซึ่งเร็วกว่าพายุโซนร้อนวิโนนาในฤดูกาลปี พ.ศ. 2532 เพียง 6 วัน[2] ในไม่ช้า ระบบก็ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ ปาลี กลายเป็นระบบพายุลูกที่ก่อตัวเร็วที่สุดเท่า ที่เคยบันทึกได้ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ[3]
  • วันที่ 11 มกราคม พายุได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1 และกลายเป็นพายุเฮอริเคนลูกที่ก่อตัวเร็วที่สุด เท่าที่เคยบันทึกไว้ในแอ่งแปซิฟิกตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งก่อนหน้านี้ตำแหน่งนี้เป็นของ พายุเฮอริเคนเอเกกา เมื่อ พ.ศ. 2535[4] ปาลีเคลื่อนตัวลงมาต่ำที่สุดที่ละติจูด 2.0°น ทำให้ถูกบันทึกเป็นพายุในซีกโลกตะวันตกที่อยู่ในละติจูดต่ำสุด ต่ำกว่าที่พายุดีเปรสชันเขตร้อนเก้าซีเคยทำไว้ที่ 2.2°น ในช่วงสองสัปดาห์ก่อน[5][6]

พายุดีเปรสชันเขตร้อนหนึ่ง-อี

พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา6 – 8 มิถุนายน
ความรุนแรง35 ไมล์/ชม. (55 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1006 mbar (hPa; 29.71 inHg)
  • วันที่ 4 มิถุนายน ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ เริ่มเฝ้าระวังพื้นที่ที่เป็นไปได้ของการพัฒนา[7] อีกไม่กี่วันถัดมา ความน่าจะเป็นของการก่อตัวของพายุลดลงในระดับต่ำ
  • วันที่ 6 มิถุนายน เหนือความคาดหมาย พายุดีเปรสชันหนึ่ง-อีก่อตัวขึ้น และเริ่มมีการออกการเฝ้าระวัง[8][9] นำให้รัฐบาลของเม็กซิโกได้ออกประกาศการเฝ้าระวังพายุโซนร้อนกับชายฝั่งทะเล[10]
  • วันที่ 7 มิถุนายน พายุอ่อนกำลังลง ดังนั้นทำให้การเฝ้าระวังถูกยกเลิก[11]
  • วันที่ 8 มิถุนายน ในช่วงต้นของวันพายุได้ขึ้นฝั่งเม็กซิโกใกล้กับอ่าวเตฮวนเตเปคและสลายตัวไป[12]

ขณะที่มาตรการป้องกัน มีการเปิดสถานที่อพยพชั่วคราวทั่วรัฐเชียปัส[13] พายุดีเปรสชันเป็นสาเหตุให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยทั่วรัฐวาฮากา โดยแรกเริ่มภายในเทศบาลซาลีนากรูซ ฝนตกหนักทำให้เกิดน้ำท่วมในถนนบางสาย และหลุมยุบทำให้บ้านเรือนเสียหายหนึ่งหลังคาเรือน[14]

พายุโซนร้อนแอทากา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา2 – 5 กรกฎาคม
ความรุนแรง45 ไมล์/ชม. (75 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1003 mbar (hPa; 29.62 inHg)
  • วันที่ 1 กรกฎาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) เริ่มเฝ้าติดตามพื้นที่ที่มีความเป็นไปได้ของการก่อตัว ซึ่งมีการจัดระบบเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว[15]
  • วันที่ 2 กรกฎาคม อีกเจ็ดชั่วโมงต่อมา หย่อมความกดอากาศต่ำทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนสอง-อี ระบบมีการจัดระบบที่รวดเร็วมาก ซึ่งต่อมา NHC ได้เพิ่มความรุนแรงของสอง-อีเป็นพายุโซนร้อน และใช้ชื่อ แอทากา[16]
  • วันที่ 3 กรกฎาคม แอทากามีกำลังแรงสูงสุด[17] ที่ความเร็วลม 45 ไมล์/ชั่วโมง หลังจากนั้นไม่นาน แอทากาก็เริ่มอ่อนกำลังลงเล็กน้อย ขณะที่ยังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก
  • วันที่ 5 กรกฎาคม แอทากากลายเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อน[18]

พายุเฮอริเคนบลัส

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 10 กรกฎาคม
ความรุนแรง140 ไมล์/ชม. (220 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
947 mbar (hPa; 27.96 inHg)
  • วันที่ 27 มิถุนายน ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) ได้จับเฝ้าติดตามคลื่นอากาศในเขตร้อน เหนือทวีปอเมริกากลางสำหรับความเป็นไปได้ในการพัฒนา[19]
  • วันที่ 30 มิถุนายน หย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวขึ้นทางใต้ของเม็กซิโก[20]
  • วันที่ 3 กรกฎาคม พายุมีความได้เปรียบเพียงพอในการจัดระบบ และกลายเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนสาม-อี[21] หกชั่วโมงถัดมา ท่ามกลางภาวะแวดล้อมที่เอื้ออำนวยด้วยอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลที่สูง และลมเฉือนแนวตั้งที่น้อยลง ทำให้มันทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อนและได้รับชื่อ บลัส[22]
  • วันที่ 4 กรกฎาคม พายุยังคงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างคงตัว เป็นผลให้บลัสทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคน[23] ต่อมาการทวีกำลังแรงชะงักลงในส่วนที่เหลือของวัน เนื่องจากอากาศแห้งได้ไหลเข้าสู่การหมุนเวียน[24]
  • วันที่ 5 กรกฎาคม อย่างไรก็ตาม บลัสเริ่มแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และเริ่มเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกแรงของฤดูกาลในช่วงเย็นของวัน[25]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม บลัส มีกำลังแรงสูงสุดในความรุนแรงพายุเฮอริเคนระดับ 4[26] ต่อมาบลัส ได้อ่อนกำลังลงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 3 ก่อนจะเปลี่ยนผ่านไปเป็นพายุหมุนเขตร้อนรูปวงแหวน และมีความรุนแรงต่อไป[27] อย่างไรก็ตาม บลัสได้เคลื่อนผ่านเหนือพื้นที่อุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลลดลง
  • วันที่ 7 กรกฎาคม เป็นผลให้มันมีแนวโน้มอ่อนกำลังลงอย่างช้า ๆ ซึ่งบลัสได้อ่อนกำลังลงจนมีสถานะต่ำกว่าพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ในช่วงสายของวัน[28]
  • วันที่ 8 กรกฎาคม บลัสอ่อนกำลังลงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 1[29]
  • วันที่ 9 กรกฎาคม บลัสอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อน[30] การอ่อนกำลังลงถูกเร่งท่ามกลางมวลอากาศที่เสถียรและการเพิ่มขึ้นของลมเฉือนแนวตะวันตกเฉียงใต้[31]
  • วันที่ 10 กรกฎาคม เหนือทะเลที่มีอุณหภูมิพื้นผิวที่ 24 °ซ (75 °ฟ)[32] บลัส อ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อน และเสื่อมลงเป็นพายุหมุนนอกเขตร้อนหลังจากนั้นอย่างรวดเร็ว[33]

ความชื้นที่เกี่ยวข้องกับเศษที่เหลือของบลัสทำให้เกิดฝนตกในฮาวาย[34]

พายุเฮอริเคนซีเลีย

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา6 – 16 กรกฎาคม
ความรุนแรง100 ไมล์/ชม. (155 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
972 mbar (hPa; 28.7 inHg)
  • วันที่ 2 กรกฎาคม ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติเริ่มเฝ้าระวังพื้นที่ความเป็นไปได้ในการก่อตัว[35]
  • วันที่ 6 กรกฎาคม ทางศูนย์ ฯ บันทึกว่า "พายุดีเปรสชันเขตร้อนดูเหมือนจะก่อตัวภายในอีกสองวัน"[36]
  • วันที่ 7 กรกฎาคม พายุดีเปรสชันเขตร้อนสี่-อีกก่อตัว[37]
  • วันที่ 8 กรกฎาคม มันได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้ชื่อ ซีเลีย
  • วันที่ 10 กรกฎาคม ซีเลียได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคน[38]
  • วันที่ 11 กรกฎาคม ซีเลียทวีกำลังแรงเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2 และยังคงความรุนแรงต่อไปอีกสองวัน[39]
  • วันที่ 14 กรกฎาคม ซีเลียเริ่มอ่อนกำลังลงที่ความรวดเร็ว จนกลายเป็นพายุโซนร้อน
  • วันที่ 15 กรกฎาคม ซีเลียเคลื่อนตัวเข้าสู่แอ่งแปซิฟิกกลางและอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน
  • วันที่ 16 กรกฎาคม ซีเลียสลายตัวลง[40]
  • วันที่ 17 กรกฎาคม ศูนย์เฮอริเคนแปซิฟิกกลาง บันทึกว่า ความกดอากาศต่ำมีโอกาสที่จะฟื้นฟูเป็นพายุหมุนเขตร้อน[41] ซึ่งต่อมา ซีเลียล้มเหลวในการก่อตัวอีกครั้ง และล้มเหลวในการฟื้นฟูเป็นพายุหมุนเขตร้อน

พายุเฮอริเคนดาร์บี

พายุเฮอริเคนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา11 – 26 กรกฎาคม
ความรุนแรง115 ไมล์/ชม. (185 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
962 mbar (hPa; 28.41 inHg)

ในสัปดาห์ที่สองของเดือนกรกฎาคม มีระบบหย่อมความกดอากาศต่ำก่อตัวถึง 5 หย่อมในแปซิฟิกตะวันออก โดยหย่อมที่ 4 จากทั้งหมดถูกบันทึกโดยศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ

  • วันที่ 9 กรกฎาคม หย่อมนั้นตั้งอยู่ในสถานที่ที่มีภาวะแวดล้อมเอื้ออำนวย อาจก่อตัวและกลายเป็นพายุโซนร้อนได้[42]
  • วันที่ 11 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศทวีกำลังแรงเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนห้า-อี[43]
  • วันที่ 12 กรกฎาคม ห้า-อี ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อว่า ดาร์บี
  • วันที่ 13 กรกฎาคม ดาร์บีบรรลุความรุนแรงเป็นพายุเฮอริเคน
  • วันที่ 15 กรกฎาคม ระบบทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2
  • วันที่ 16 กรกฎาคม ถึงอย่างไรก็ตามแม้ระบบเคลื่อนไปเหนือน้ำเย็น ดาร์บียังทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 3 อย่างไรก็ตาม 6 ชั่วโมงหลังจากนั้น ดาร์บีอ่อนกำลังลงกลับไปเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 2[44] อีกสี่วัดถัดไป ดาร์บีอ่อนกำลังลงอีกเหนือน้ำเย็นเป็นพายุโซนร้อนโดยเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก มุ่งสู่รัฐฮาวาย ขณะที่มันเข้าใกล้พื้นที่ มันได้ทวีกำลังอีกครั้ง ทำให้มีการใช้การเฝ้าระวังและเตือนภัยพายุหมุนเขตร้อนโดยทันทีบนหมู่เกาะฮาวาย[45]
  • วันที่ 24 กรกฎาคม เวลา 00:00 UTC มันได้ขึ้นฝั่งเข้าใกล้ปาฮาลาบนเกาะใหญ๋[46] และเคลื่อนผ่านเกาะไปเกาะในระดับพายุโซนร้อนกำลังอ่อน ซึ่งเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่พายุเฮอริเคนอิซเซลในฤดูกาล 2557

พายุโซนร้อนเอสเทลล์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา15 – 22 กรกฎาคม
ความรุนแรง70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
990 mbar (hPa; 29.23 inHg)

ในแนวต่อเนื่องของพายุหมุนเขตร้อนด้วยเส้นทางที่เหมือนกัน หย่อมความกดอากาศต่ำได้กลายเป็นพายุโซนร้อนเอสเทลล์

  • วันที่ 15 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนหก-อี[47]
  • วันที่ 16 กรกฎาคม พายุโซนร้อนลูกที่ห้าแห่งฤดูกาลแปซิฟิกตะวันออกก่อตัวขึ้น และได้ชื่อว่า เอสเทลล์[48]
  • วันที่ 18 กรกฎาคม เอสเทลล์มีความรุนแรงขึ้นโดยมีความเร็วลม 70 ไมล์/ชม. (115 กม./ชม.) โดยมีสถานะล่างกว่าพายุเฮอริเคน อย่างไรก็ตามมันได้อ่อนกำลังลงเล็กน้อย[49]
  • วันที่ 20 กรกฎาคม เอสเทลล์ยังคงความรุนแรงอยู่ อย่างไรก็ตาม การคาดการณ์ไม่ได้บอกว่ามันจะทวีกำลังแรงเป็นพายุเฮอริเคน และเริ่มอ่อนกำลังเหนือน้ำเย็นทางตะวันออกเฉียงเหนือของฮาวาย[50]
  • วันที่ 22 กรกฎาคม เอสเทลล์อ่อนกำลังลงโดยมีความเร็วลมที่ 40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) และสลายตัวไปในที่สุด[51]

พายุเฮอริเคนแฟรงก์

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา21 – 28 กรกฎาคม
ความรุนแรง85 ไมล์/ชม. (140 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
979 mbar (hPa; 28.91 inHg)
  • วันที่ 21 กรกฎาคม หย่อมความกดอากาศต่ำใกล้กับชายฝั่งเม็กซิโกจัดระบบเป็นพายุโซนร้อน[52] โดย NHC เพิ่มความรุนแรงของระบบเป็นพายุโซนร้อนโดยตรงในการเฝ้าระวังฉบับแรก โดยใช้ชื่อ แฟรงก์ โดยข้ามขั้นตอนการเป็นพายุดีเปรสชันเขตร้อนไป[53] หลังจากวันนั้นแฟรงก์ได้เคลื่อนตัวออกห่างจากคาบสมุทรบาฮากาลีฟอร์เนีย ถึงอย่างไรก็ตามการคาดการณ์การทวีกำลังแรงขึ้น แฟรงก์จะเอื้อมไม่ถึงสถานะพายุเฮอริเคน
  • วันที่ 26 กรกฎาคม กระทั่งวันที่ 26 กรกฎาคม ใกล้กับที่พายุจอร์เจตต์อ่อนกำลังลง ถึงอย่างไรก็ตาม แฟรงก์ก็กลายเป็นพายุลูกที่ห้าในการบันทึกซึ่งก่อตัวในเดือนกรกฎาคมของเฮอริเคนแปซิฟิก โดยครั้งก่อนหน้าถูกบันทึกไว้าที่ 4 และถูกตั้งเป็น 5 ในฤดูกาลก่อนหน้า[54]

พายุเฮอริเคนจอร์เจตต์

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา21 – 27 กรกฎาคม
ความรุนแรง130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
952 mbar (hPa; 28.11 inHg)
  • วันที่ 21 กรกฎาคม ระหว่างพายุเอสเทลล์ และ พายุแฟรงก์ มีพายุดีเปรสชันก่อตัวอีกลูกหนึ่ง และอีกสองชั่วโมงถัดมา พายุดีเปรสชันเขตร้อนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุโซนร้อน และได้รับชื่อ จอร์เจตต์ และเป็นพายุโซนร้อนลูกที่เจ็ดที่ก่อตัวในเดือนกรกฎาคม[55][56] และถูกบันทึกร่วมกับฤดู 2528 และ 2558
  • วันที่ 24 กรกฎาคม จอร์เจตต์กลายเป็นพายุเฮอริเคน และกลายเป็นพายุเฮอริเคนระดับ 4 อย่างรวดเร็ว หลังจากนั้นจอร์เจตต์อ่อนกำลังลงอย่างรวดเร็วเพราะน้ำเย็น และอ่อนกำลังลงเป็นพายุโซนร้อนในวันถัดมา

พายุโซนร้อนฮาวเวิร์ด

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา31 กรกฎาคม – 3 สิงหาคม
ความรุนแรง60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)

พายุโซนร้อนอีเวตต์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา2 – 8 สิงหาคม
ความรุนแรง60 ไมล์/ชม. (95 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)

พายุโซนร้อนฆาบิเอร์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา7 – 9 สิงหาคม
ความรุนแรง65 ไมล์/ชม. (100 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
997 mbar (hPa; 29.44 inHg)

พายุโซนร้อนเคย์

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา18 – 23 สิงหาคม
ความรุนแรง50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)

พายุเฮอริเคนเลสเตอร์

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา24 สิงหาคม – 7 กันยายน
ความรุนแรง145 ไมล์/ชม. (230 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
944 mbar (hPa; 27.88 inHg)

พายุเฮอริเคนแมเดลิน

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา26 สิงหาคม – 3 กันยายน
ความรุนแรง130 ไมล์/ชม. (215 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
950 mbar (hPa; 28.05 inHg)

พายุเฮอริเคนนิวตัน

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา4 – 7 กันยายน
ความรุนแรง90 ไมล์/ชม. (150 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
977 mbar (hPa; 28.85 inHg)

พายุเฮอริเคนออร์ลีน

พายุเฮอริเคนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา11 – 17 กันยายน
ความรุนแรง110 ไมล์/ชม. (175 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
967 mbar (hPa; 28.56 inHg)

พายุเฮอริเคนเพน

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา18 – 20 กันยายน
ความรุนแรง90 ไมล์/ชม. (150 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
979 mbar (hPa; 28.91 inHg)

พายุโซนร้อนรอสลิน

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา25 – 29 กันยายน
ความรุนแรง50 ไมล์/ชม. (85 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
999 mbar (hPa; 29.5 inHg)

พายุเฮอริเคนอูลีกา

พายุเฮอริเคนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา26 – 30 กันยายน
ความรุนแรง75 ไมล์/ชม. (120 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
992 mbar (hPa; 29.29 inHg)

พายุเฮอริเคนซีมอร์

พายุเฮอริเคนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา23 – 28 ตุลาคม
ความรุนแรง150 ไมล์/ชม. (240 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
940 mbar (hPa; 27.76 inHg)

พายุโซนร้อนทีนา

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา13 – 14 พฤศจิกายน
ความรุนแรง40 ไมล์/ชม. (65 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

พายุโซนร้อนออตโต

พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา25 (เข้ามาในแอ่ง) – 26 พฤศจิกายน
ความรุนแรง70 ไมล์/ชม. (110 กม./ชม.) (เฉลี่ย 1 นาที)
993 mbar (hPa; 29.32 inHg)

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2543 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุเฮอริเคนแปซิฟิก_พ.ศ._2559 http://www.hawaiinewsnow.com/story/32421028/foreca... http://mauinow.com/2016/07/15/increased-windward-s... http://www.noticiasmvs.com/#!/noticias/depresion-t... http://www.staradvertiser.com/weather-updates/hurr... http://www.unotv.com/noticias/estados/chiapas/deta... http://www.weather.com/storms/hurricane/news/centr... http://www.weather.com/storms/hurricane/news/tropi... http://westhawaiitoday.com/news/local-news/celia-w... http://www.wunderground.com/blog/JeffMasters/comme... http://www.wunderground.com/blog/JeffMasters/comme...