ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2561
ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2561

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2561

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก พ.ศ. 2561 คือช่วงของฤดูกาลในอดีต ที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในซีกโลกเหนือของมหาสมุทรแอตแลนติก เป็นฤดูกาลต่อเนื่องฤดูกาลที่สามแล้วที่มีการก่อตัวของพายุหมุนและสร้างความเสียหายมากกว่าค่าปกติ โดยมีพายุทั้งหมด 15 ลูกพัฒนาขึ้นเป็นถึงพายุโซนร้อนและได้รับชื่อ ในจำนวนนั้นมี 8 ลูกที่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคน และในจำนวนนั้นมี 2 ลูกที่ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นถึงพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ ความเสียหายรวมในฤดูกาลนี้อยู่ที่ 3.33 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ (ค่าเงินปี 2018) ฤดูกาลอย่างเป็นทางการนั้นเริ่มนับในวันที่ 1 มิถุนายน 2561 และไปสิ้นสุดในวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 วันเหล่านี้ตามขอบระยะเวลาของแต่ละช่วงฤดูถือเป็นช่วงเวลาที่มีพายุก่อตัวมากที่สุดในแอ่งแอตแลนติก อย่างไรก็ตามการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนสามารถก่อตัวได้ทุกเวลาพายุลูกแรกก่อตัวขึ้นในวันที่ 25 พฤษภาคม มีความรุนแรงสูงสุดเป็นพายุโซนร้อน ชื่อ อัลเบร์โต ทำให้ฤดูกาลของปีนี้เริ่มต้นในวันดังกล่าว ซึ่งทำให้มันกลายเป็นฤดูกาลที่สี่ติดต่อกันแล้ว ที่มีพายุลูกแรกก่อตัวขึ้นก่อนวันเริ่มต้นฤดูกาลอย่างเป็นทางการ (1 มิถุนายน) พายุลูกต่อมาคือ เบริล ซึ่งก่อตัวและพัฒนาขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนลูกแรกของฤดูกาลนี้ ทั้งยังเป็นพายุเฮอริเคนลูกแรกที่ก่อตัวขึ้นในช่วงเดือนกรกฎาคมของแอตแลนติกตะวันออก นับตั้งแต่พายุเฮอริเคนเบอร์ทาในปี 2551 ต่อมาในวันที่ 10 กรกฎาคม คริส ก็ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนเช่นกัน ทำให้มันกลายเป็นพายุเฮอริเคนที่ก่อตัวเร็วเป็นลูกที่สองของฤดูกาล ตั้งแต่ฤดูกาลปี 2548 ถัดมาในช่วงเดือนสิงหาคมไม่มีพายุเฮอริเคนในแอ่งนี้ จนวันที่ 5 กันยายน ฟลอเรนซ์ ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกแรกของฤดูกาล วันที่ 12 กันยายน จอยซ์ ก่อตัวขึ้น ทำให้ฤดูกาล 2561 นี้เป็นฤดูกาลแรกนับตั้งแต่ฤดูกาล 2551 ที่มีพายุก่อตัวขึ้นและได้รับชื่อในเวลาเดียวกันถึง 4 ลูก (อันได้แก่ ฟลอเรนซ์, เฮเลน, ไอแซก และ จอยซ์) วันที่ 9 ตุลาคม ไมเคิล ได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุเฮอริเคนขนาดใหญ่ลูกที่สองของฤดูกาล วันต่อมา มันได้กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนสามอันดับแรกที่ทรงพลังที่สุด ที่พัดขึ้นฝั่งสหรัฐ ในแง่ของความกดอากาศ เป็นรองเหตุการณ์พายุเฮอริเคนวันแรงงาน ค.ศ. 1935 และพายุเฮอริเคนคามิลล์ในฤดูกาล พ.ศ. 2512 ต่อมาจากการก่อตัวของ ออสการ์ เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ทำให้ฤดูกาลนี้กลายเป็นฤดูกาลแรกที่พายุก่อตัวขึ้นและไปถึงจุดที่เป็นพายุหมุนกึ่งเขตร้อนในจุดใดจุดหนึ่งของช่วงชีวิตพายุ โดยมีพายุในลักษณะดังกล่าวถึง 7 ลูก ได้แก่ (อัลเบร์โต, เบริล, เดบบี, เอร์เนสโต, จอยซ์, เลซลี และ ออสการ์)ขณะที่กลุ่มผลการพยากรณ์ส่วนใหญ่จะให้ว่ามีกิจกรรมของพายุหมุนน้อยกว่าค่าปกติ เนื่องจากอุณหภูมิพื้นผิวน้ำทะเลในเขตร้อนของแอตแลนติกที่เย็นกว่าปกติ และการคาดหมายการก่อตัวของเอลนีโญ อย่างไรก็ตาม เมื่อถึงช่วงดังกล่าวแล้วเอลนีโญกลับไม่ก่อตัวขึ้นและยับยั้งกิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนได้ดังคาด ทำให้กิจกรรมของพายุหมุนเขตร้อนนั้นมากกว่าที่พยากรณ์ไว้ไปมาก

ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2561

ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 173 คน
• ความกดอากาศต่ำที่สุด 919 มิลลิบาร์ (hPa; 27.14 inHg)
พายุโซนร้อนทั้งหมด 15 ลูก
• ลมแรงสูงสุด 160 ไมล์/ชม. (260 กม./ชม.)
(เฉลี่ย 1 นาที)
พายุเฮอริเคน 8 ลูก
ชื่อ ไมเคิล
พายุเฮอริเคนขนาดใหญ่(ระดับ 3 ขึ้นไป) 2 ลูก
ความเสียหายทั้งหมด > 5.0205 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2018)
พายุดีเปรสชันทั้งหมด 16 ลูก
ระบบแรกก่อตัว 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561
ระบบสุดท้ายสลายตัว 31 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุเฮอริเคนแอตแลนติก_พ.ศ._2561 http://climate.weather.gc.ca/climate_data/daily_da... http://thoughtleadership.aonbenfield.com/Documents... http://thoughtleadership.aonbenfield.com/Documents... http://thoughtleadership.aonbenfield.com/Documents... http://www.met.fu-berlin.de/de/wetter/maps/Analyse... http://www.met.fu-berlin.de/de/wetter/maps/Analyse... http://www.met.fu-berlin.de/de/wetter/maps/Analyse... http://www.nhc.noaa.gov/data/tcr/AL012018_Alberto.... http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/RA... http://www.wmo.int/pages/prog/www/tcp/documents/RA...