พายุ ของ ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ_พ.ศ._2562

พายุไซโคลนปาบึก

พายุไซโคลน (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา4 (เข้ามาในแอ่ง) – 8 มกราคม
ความรุนแรง85 กม./ชม. (50 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
998 mbar (hPa; 29.47 inHg)

พายุโซนร้อนก่อตัวในทะเลจีนใต้เมื่อวันที่ 1 มกราคม และสองวันให้หลัง ปาบึกก็ได้เคลื่อนตัวลงสู่อ่าวไทย จากนั้นไม่เพียงนานหลังจากที่ปาบึกพัดขึ้นฝั่งในภาคใต้ เมื่อวันที่ 4 มกราคม กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ออกคำแนะนำกับระบบพายุ ทำให้มันกลายเป็นพายุไซโคลนลูกแรกสุดในบรรดาพายุทั้งหมดของแอ่งนี้ จากที่ก่อนหน้านี้ตำแหน่งดังกล่าวเป็นของพายุไซโคลนฮีบารูตั้งแต่ปี 2548 รวมถึงยังเป็นพายุไซโคลนลูกแรกที่มีชื่อเป็นชื่อจาก RSMC โตเกียวด้วย[3] พายุปาบึกนับเป็นพายุที่ข้ามแอ่งมาลูกล่าสุดของแอ่งนี้ นับตั้งแต่พายุโซนร้อนฮวาเหม่ย์ เมื่อปี 2544 และพายุดีเปรสชันเขตร้อนวีลมาเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมากฟานี

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา26 เมษายน – 4 พฤษภาคม
ความรุนแรง215 กม./ชม. (130 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
937 mbar (hPa; 27.67 inHg)
  • วันที่ 26 เมษายน พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นทางตะวันตกของเกาะสุมาตรา โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียให้รหัสเรียกว่า BOB 02 โดยระบบมีการจัดระบบขึ้นอย่างช้า ๆ ขณะที่เคลื่อนตัวโค้งไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วันที่ 27 เมษายน เวลา 00:00 UTC (หรือตรงกับ 07.00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ปรับความรุนแรง BOB 02 เป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว ต่อมาขณะที่พายุกำลังเคลื่อนตัวเลี้ยวไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเฉเหนือ พายุดีเปรสชันหมุนเร็วได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลน และได้รับชื่อว่า ฟานี (Fani) ขณะที่กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ การพัฒนาของระบบดำเนินไปอย่างช้ามากเป็นเวลาหลายวัน เนื่องจากอิทธิพลของแรงเฉือนแนวตั้งกำลังปานกลาง
  • วันที่ 29 เมษายน เวลา 12:00 UTC (หรือตรงกับ 19:00 น. ตามเวลาในประเทศไทย) ฟานีทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนกำลังแรง
  • วันที่ 30 เมษายน ฟานีมีการทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว จนทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมากในเวลา 17:00 UTC[4]
  • วันที่ 2 พฤษภาคม เวลา 06:00 UTC ศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมระบุว่าฟานีมีกำลังเทียบเท่ากับพายุหมุนเขตร้อนระดับ 4 ตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน โดยฟานีกลับมาทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็วอีกครั้ง มีความเร็วลมสูงสุดในสามนาทีเพิ่มขึ้นเป็น 215 กม./ชม. และความเร็วลมสูงสุดในหนึ่งนาทีที่ 250 กม./ชม.
  • วันที่ 3 พฤษภาคม เวลา 04:00 UTC (09.30 น. ตามเวลาท้องถิ่น) ฟานีพัดขึ้นฝั่งที่นครปูริ รัฐโอฑิศา[5] จากนั้นจึงอ่อนกำลังลงเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมากไม่นานหลังจากพัดขึ้นฝั่งแล้ว และอ่อนกำลังลงเป็นพายุไซโคลนในเวลาต่อมาตามลำดับ
  • วันที่ 4 พฤษภาคม ฟานีอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชัน จากนั้นสลายตัวลงเป็นหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงในเวลาต่อมา

พายุไซโคลนกำลังแรงมากวายุ

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา10 – 17 มิถุนายน
ความรุนแรง150 กม./ชม. (90 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
978 mbar (hPa; 28.88 inHg)

ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน การเต้นเป็นจังหวะอย่างแรงของความผันผวนแมดเดน–จูเลียน (MJO) เคลื่อนมาทางด้านตะวันออกเข้าสู่เขตร้อนของมหาสมุทรอินเดีย ทำให้บริเวณดังกล่าวมีเมฆปกคลุมและมีปริมาณน้ำฝนเพิ่มขึ้นทั่วทั้งภูมิภาค[6]

  • วันที่ 9 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งอินเดีย (IMD) ได้บันทึกว่ามีการก่อตัวขึ้นของหย่อมความกดอากาศต่ำเหนือด้านตะวันออกเฉียงใต้ของทะเลอาหรับ ทางตอนเหนือของประเทศมัลดีฟส์
  • วันที่ 10 มิถุนายน ช่วงต้นวัน พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นในทะเลอาหรับ โดยอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมัลดีฟส์ โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียให้รหัสเรียกว่า ARB 01 โดยตัวระบบพายุมีการเคลื่อนตัวไปทางเหนือ และค่อย ๆ ทวีกำลังแรงขึ้นจนกลายเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว ก่อนจะมีกำลังเป็นพายุไซโคลนในช่วงท้ายของวัน และได้รับชื่อว่า วายุ (Vayu)
  • วันที่ 11 มิถุนายน กรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ปรับความรุนแรงของวายุเป็นพายุไซโคลนกำลังแรง ซึ่งก่อนหน้านั้นวายุมีกำลังเป็นพายุหมุนเขตร้อนระดับ 1 ตามการจัดของศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วมตามมาตราแซฟเฟอร์–ซิมป์สัน (SSHWS)
  • วันที่ 12 มิถุนายน วายุเริ่มเข้าสู่ช่วงทวีกำลังแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีกำลังเป็นพายุไซโคลนกำลังแรงมากในไม่นานหลังจากนั้น โดยมีความรุนแรงเท่าพายุหมุนเขตร้อนระดับ 2
  • วันที่ 13 มิถุนายน อิทธิพลของแนวสันกึ่งเขตร้อนกำลังแรงที่ปกคลุมอยู่เหนือประเทศซาอุดีอาระเบียทำให้วายุเคลื่อนตัวช้าลง และเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนตัวไปทางตะวันตก โดยพัดปกคลุมอยู่ในแนวชายฝั่งรัฐคุชราตในภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย[7][8] ต่อมาเวลา 12:00 UTC วายุมีกำลังแรงสุดด้วยความรุนแรงเทียบเท่าพายุหมุนเขตร้อนระดับ 3 มีความเร็วลมสูงสุดในหนึ่งนาทีที่ 185 กม./ชม.[9]
  • วันที่ 14 มิถุนายน วายุเริ่มอ่อนกำลังลงขณะเคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันตกอย่างช้า ๆ ห่างออกจากชายฝั่งรัฐคุชราต เนื่องจากอิทธิพลของลมเฉือนกำลังแรง[10]
  • วันที่ 17 มิถุนายน วายุอ่อนกำลังลงเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็ว ขณะเคลื่อนตัวเข้าประชิดชายฝั่งรัฐคุชราตอีกครั้ง

พายุดีเปรสชันหมุนเร็วบีโอบี 03

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
พายุดีเปรสชัน (TMD)
ระยะเวลา6 – 8 สิงหาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
988 mbar (hPa; 29.18 inHg)
  • วันที่ 6 สิงหาคม พายุดีเปรสชันก่อตัวขึ้นเหนือด้านตะวันตกเฉียงเหนือของอ่าวเบงกอล โดยกรมอุตุนิยมวิทยาอินเดียได้ให้รหัสเรียกว่า BOB 03 จากนั้นไม่นานระบบได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันหมุนเร็วขณะอยู่บริเวณใกล้ชายฝั่งทางตอนเหนือของรัฐโอริศา
  • วันที่ 7 สิงหาคม เวลาประมาณ 08:00–09:00 UTC พายุดีเปรสชันหมุนเร็วได้พัดขึ้นฝั่งที่แนวรอยต่อรัฐโอริศาและรัฐเบงกอลตะวันตก ประเทศอินเดีย

พายุไซโคลนกำลังแรงมากฮีกาอา

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 2 (SSHWS)
ระยะเวลา22 – 26 กันยายน
ความรุนแรง140 กม./ชม. (85 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
978 mbar (hPa; 28.88 inHg)

พายุดีเปรสชันบนแผ่นดิน 01

ดีเปรสชัน (IMD)
ระยะเวลา30 กันยายน – 1 ตุลาคม
ความรุนแรง45 กม./ชม. (30 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
ไม่ทราบความกดอากาศ

พายุซูเปอร์ไซโคลนจ้า

พายุซูเปอร์ไซโคลน (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 4 (SSHWS)
ระยะเวลา24 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน
ความรุนแรง250 กม./ชม. (155 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
915 mbar (hPa; 27.02 inHg)

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมากมาฮา

พายุไซโคลนกำลังแรงอย่างมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 3 (SSHWS)
ระยะเวลา30 ตุลาคม – ปัจจุบัน
ความรุนแรง185 กม./ชม. (115 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
956 mbar (hPa; 28.23 inHg)

พายุไซโคลนกำลังแรงมากบุลบูล

พายุไซโคลนกำลังแรงมาก (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุไซโคลนเขตร้อนระดับ 1 (SSHWS)
ระยะเวลา5 – 11 พฤศจิกายน
ความรุนแรง120 กม./ชม. (75 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
986 mbar (hPa; 29.12 inHg)

พายุไซโคลนปาวัน

พายุไซโคลน (IMD)
พายุไซโคลน (TMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา2 ธันวาคม – ปัจจุบัน
ความรุนแรง70 กม./ชม. (45 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
1000 mbar (hPa; 29.53 inHg)

พายุดีเปรสชันหมุนเร็วเออาร์บี 06

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
พายุโซนร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา3 – 5 ธันวาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
1002 mbar (hPa; 29.59 inHg)

พายุดีเปรสชันหมุนเร็วเออาร์บี 08

ดีเปรสชันหมุนเร็ว (IMD)
พายุดีเปรสชันเขตร้อน (SSHWS)
ระยะเวลา8 – 10 ธันวาคม
ความรุนแรง55 กม./ชม. (35 ไมล์/ชม.) (เฉลี่ย 3 นาที)
1004 mbar (hPa; 29.65 inHg)

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2561 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2546 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2545

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไซโคลนมหาสมุทรอินเดียเหนือ_พ.ศ._2562 http://www.bom.gov.au/climate/tropical-note/ http://thoughtleadership.aonbenfield.com//Document... http://www.newindianexpress.com/nation/2019/may/03... http://www.theindependentbd.com/post/223210 http://www.theindependentbd.com/post/223456 http://www.rsmcnewdelhi.imd.gov.in/images/bulletin... http://www.rsmcnewdelhi.imd.gov.in/images/cyclone_... http://www.rsmcnewdelhi.imd.gov.in/images/pdf/clim... http://www.rsmcnewdelhi.imd.gov.in/index.php?lang=... http://www.imd.gov.in/section/nhac/dynamic/RSMC-20...