ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2559
ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2559

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2559

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 เป็นฤดูกาลในอดีตที่เคยมีการก่อตัวของพายุหมุนเขตร้อนในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก ฤดูกาลดังกล่าวจะลากยาวตลอด พ.ศ. 2559 โดยพายุหมุนส่วนใหญ่จะก่อตัวขึ้นระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม โดยมีพายุโซนร้อน 26 ลูก ในจำนวนนี้พัฒนาขึ้นเป็นพายุไต้ฝุ่น 13 ลูก และในจำนวนนี้ 6 ลูกเป็นถึงพายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น พายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูกาลนี้ชื่อ เนพาร์ตัก ก่อตัวขึ้นเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม ส่วนพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกสุดท้ายชื่อ นกเตน สลายตัวเมื่อวันที่ 28 ธันวาคมการก่อตัวขึ้นของพายุเนพาร์ตัก ซึ่งเป็นพายุที่ได้รับชื่อเป็นลูกแรกของฤดูกาล ทำให้ช่วงเวลาที่แอ่งว่างเว้นจากการมีพายุที่ได้รับชื่อ (มีความรุนแรงมากกว่าพายุโซนร้อน) ถึง 199 วัน (17 ธันวาคม 2558 ถึง 3 กรกฎาคม 2559) สิ้นสุดลง ต่อมาพายุโซนร้อนมีรีแนพัฒนาขึ้นจนมีกำลังสูงสุด ขณะพัดขึ้นฝั่งบริเวณดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแดง ทำให้เกิดความเสียหายรายแรงในภาคเหนือของประเทศเวียดนาม ต่อมาในสิ้นเดือนสิงหาคม พายุสามลูกได้พัดเข้าเกาะฮกไกโด ของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมากที่สุดนับตั้งแต่ พ.ศ. 2494 ในเดือนกันยายน พายุไต้ฝุ่นเมอรันตีพัฒนาขึ้นจนถึงจุดที่มีกำลังแรงที่สุด โดยมีความกดอากาศต่ำสุดที่ศูนย์กลาง 890 hPa กลายเป็นหนึ่งในพายุที่มีความรุนแรงที่สุดในบันทึกของฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก ต่อมาพายุไต้ฝุ่นชบากลายเป็นพายุไต้ฝุ่นที่มีกำลังแรงที่สุดที่พัดขึ้นฝั่งประเทศเกาหลีใต้ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2555 ขณะที่พายุโซนร้อนแอรีและพายุดีเปรสชันเขตร้อนได้ทำให้เกิดอุทกภัยครั้งเลวร้ายในประเทศเวียดนาม นับตั้งแต่ พ.ศ. 2554 ส่วนพายุลูกเกือบสุดท้ายของฤดูกาลอย่าง พายุไต้ฝุ่นนกเตน กลายเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่มีกำลังแรงที่สุดทั่วโลก ที่มีกำลังอยู่ในวันคริสมาสต์ (25 ธันวาคม) นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2503 อย่างน้อยเป็นต้นมา ในแง่ของความเร็วลมต่อเนื่องใน 1 นาทีขอบเขตของบทความนี้จำกัดเฉพาะมหาสมุทรแปซิฟิกที่อยู่เหนือเส้นศูนย์สูตร ระหว่างเมอริเดียนที่ 100 และ 180 ตะวันออก ในบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตกเฉียงเหนือ มีสองหน่วยงานที่กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งอาจเป็นผลให้พายุลูกหนึ่งมีสองชื่อ กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่น (JMA) จะตั้งชื่อพายุถ้าพายุลูกนั้นมีความเร็วลมที่รอบศูนย์กลางพายุที่สูงสุด 10 นาที อย่างน้อย 65 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ใดในแอ่ง ขณะที่สำนักงานบริหารบรรยากาศ ธรณีฟิสิกส์ และดาราศาสตร์แห่งฟิลิปปินส์ (PAGASA) กำหนดชื่อพายุหมุนซึ่งเคลื่อนเข้าสู่หรือก่อตัวขึ้นเป็นดีเปรสชันเขตร้อนในพื้นที่รับผิดชอบของสำนักงานฯ ซึ่งตั้งอยู่ระหว่างลองติจูด 135 และ 115 องศาตะวันออก และระหว่างละติจูด 5 ถึง 25 องศาเหนือ แม้พายุนั้นจะมีชื่อที่กรมอุตุนิยมวิทยาญี่ปุ่นตั้งแล้วก็ตาม นอกจากนี้พายุดีเปรสชันเขตร้อนซึ่งถูกเฝ้าติดตามโดยศูนย์เตือนไต้ฝุ่นร่วม (JTWC) ของสหรัฐยังได้รับการกำหนดหมายเลขและเติมตัวอักษร "W" ต่อท้ายเป็นรหัสเรียกด้วย

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2559

ผู้เสียชีวิตทั้งหมด 972 คน
• ความกดอากาศต่ำที่สุด 890 hPa (มิลลิบาร์)
พายุโซนร้อนทั้งหมด 26 ลูก
• ลมแรงสูงสุด 220 กม./ชม. (140 ไมล์/ชม.)
(เฉลี่ย 10 นาที)
พายุไต้ฝุ่น 13 ลูก
ชื่อ เมอรันตี
ความเสียหายทั้งหมด 1.89 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
(ค่าเงิน USD ปี 2016)
พายุดีเปรสชันทั้งหมด 51 ลูก
ระบบแรกก่อตัว 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559
ระบบสุดท้ายสลายตัว 28 ธันวาคม พ.ศ. 2559
พายุซูเปอร์ไต้ฝุ่น 6 ลูก (ไม่เป็นทางการ)

ใกล้เคียง

ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2543 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2566 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2559 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2565 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2556 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2562 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2560 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2544 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2554 ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก พ.ศ. 2563

แหล่งที่มา

WikiPedia: ฤดูพายุไต้ฝุ่นแปซิฟิก_พ.ศ._2559 http://199.9.2.143/tcdat/tc16/WPAC/05W.MIRINAE/tra... http://www.ctvnews.ca/world/death-toll-rises-to-15... http://www.globaltimes.cn/content/1013460.shtml http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://www.mca.gov.cn/article/yw/jzjz/zqkb/zqhz/20... http://tcdata.typhoon.gov.cn/en/ http://tcrr.typhoon.gov.cn/EN/article/downloadArti... http://www.nmc.cn/publish/typhoon/warning.html http://www.australiasevereweather.com/cyclones/200...