บทบาทในการแพร่เชื้อโรค ของ ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลาย

โรคติดเชื้อบางชนิดสามารถแพร่กระจายผ่านละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายที่ขับออกมาจากปากและจมูก

ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายเป็นรูปแบบการแพร่โรคที่พบบ่อยอย่างหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการไอ จามหรือพูด การส่งผ่านละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายเป็นวิธีติดเชื้อทางเดินหายใจตามปกติ การส่งผ่านสามารถเกิดขึ้นเมื่อละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายไปถึงพื้นผิวเยื่อเมือกที่ไวต่อโรค เช่น ในตา จมูกหรือปาก ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยอ้อมได้หากมือสัมผัสกับพื้นผิวที่ปนเปื้อนแล้วนำมาแตะใบหน้า ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายมีขนาดใหญ่และไม่คงค้างอยู่ในอากาศเป็นเวลานาน และปกติกระจายไปในระยะทางสั้น ๆ เท่านั้น[4]

ไวรัสที่แพร่กระจายโดยการส่งผ่านด้วยละอองฝอยได้แก่ไวรัสไข้หวัดใหญ่ ไวรัสไรโน ไวรัสเรสไปราโตรีซินไซเชียล ไวรัสเอ็นเทอโรและไวรัสโนโร[5] ไวรัสมีเซิลส์มอร์บิลิ[6] และไวรัสโคโรนาอย่างไวรัสโคโรนาซาร์ส (SARS-CoV-1)[5][6] และ SARS-CoV-2 ที่เป็นสาเหตุของโควิด-19[7][8] เชื้อแบคทีเรียและเชื้อราอาจส่งผ่านทางละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายได้เช่นกัน[1] ในทางกลับกัน มีโรคไม่กี่ชนิดที่สามารถกระจายได้ผ่านการแพร่เชื้อจากอากาศหลังละอองฝอยน้ำมูกน้ำลายแห้งแล้ว[6]

อุณหภูมิและความชื้นโดยรอบมีผลต่อการอยู่รอดของละอองลอยชีวภาพ (bioaerosol) เนื่องจากเมื่อละอองระเหยแล้วมีขนาดเล็กลง ละอองจะให้ความคุ้มกันแก่เชื้อโรคที่บรรจุอยู่ภายในได้ลดลง โดยทั่วไป ไวรัสที่มีสิ่งหุ้มลิพิดมีความเสถียรในอากาศแห้งมากกว่า ขณะที่ไวรัสที่ไม่มีสิ่งหุ้มจะมีความเสถียรในอากาศชื้นมากกว่า ไวรัสโดยทั่วไปมีความเสถียรกว่าที่อุณหภูมิอากาศต่ำกว่า

การควบคุมอันตราย

ในสถานบริการสาธารณสุข การป้องกันละอองฝอยได้แก่การจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในห้องแยก การจำกัดการเคลื่อนย้ายออกนอกห้อง และใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล[9][10] ในการตั้งค่าการดูแลสุขภาพข้อควรระวังหยดรวมถึงที่อยู่อาศัยผู้ป่วยในแต่ละห้อง จำกัด การขนส่งของพวกเขาออกไปข้างนอกห้องและการใช้ อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล ที่เหมาะสม การป้องกันละอองลอยเป็นหลักการป้องกันตามวิถีการแพร่เชื้อ (transmission-based precautions) ซึ่งใช้นอกเหนือไปจากการป้องกันมาตรฐานตามชนิดของการติดเชื้อของผู้ป่วย หลักการป้องกันอีกสองหลักการได้แก่การป้องกันการสัมผัสและการป้องกันการแพร่เชื้อทางอากาศ[9] อย่างไรก็ดี วิธีดำเนินการที่ก่อให้เกิดละอองลอย (aerosol-generating procedure) อาจก่อให้เกิดละอองฝอยขนาดเล็กกว่าที่กระจายไปได้ไกลกว่า และการป้องกันละอองฝอยอาจไม่เพียงพอเมื่อปฏิบัติวิธีการดังกล่าว[11]

โดยทั่วไปสามารถใช้อัตราระบบระบายอากาศที่สูงขึ้นเป็นการควบคุมอันตรายเพื่อเจือจางและกำจัดอนุภาคน้ำมูกน้ำลาย อย่างไรก็ดี หากมีการถ่ายอากาศที่ไม่ผ่านการกรองหรือกรองไม่เพียงพอไปยังอีกที่หนึ่ง สามารถทำให้การติดเชื้อแพร่กระจายได้[2]

สามารถใช้หน้ากากอนามัยป้องกันการส่งผ่านละอองฝอยได้ ทั้งสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อ และบุคลากรการแพทย์ มีการตั้งข้อสังเกตว่าระหว่างการระบาดของโรคซาร์สในปี 2002–2004 การใช้หน้ากากอนามัยและหน้ากากเอ็น95 มีแนวโน้มลดการติดเชื้อในบุคลากรสาธารณสุข แม้หน้ากากอนามัยสร้างกำบังกายภาพระหว่างปากและจมุกของผู้สวมกับสิ่งที่อาจปนเปื้อนอย่างละอองฝอยน้ำมูกน้ำลาย แต่มันไม่ได้ออกแบบมาเพื่อกรองหรือสกัดอนุภาคขนาดเล็กมากอย่างอนุภาคที่ส่งผ่านโรคติดต่อทางอากาศ เพราะมีช่องหลวม ๆ ระหว่างหน้ากากใบหน้ากับใบหน้า

แหล่งที่มา

WikiPedia: ละอองฝอยน้ำมูกน้ำลาย //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/14130877 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15761412 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16948710 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21094184 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/23771256 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/32215590 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1897886 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7112663 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC7132691 http://apps.who.int/medicinedocs/documents/s16355e...